การเล่าเรื่องเป็นเทคนิคการตลาดในงานส่งเสริม


การเล่าเรื่อง บรรจุภัณฑ์

  ได้มีโอกาสไปฟังผู้เชี่ยวชาญไต้หวันบรรยายเรื่องข้าวของโลก แต่ที่น่าสนใจกลับเป็นเรื่องการทำการตลาดของสินค้าข้าวของไต้หวันที่เน้นจุดขายไปที่การเล่าเรื่องที่มาของเมล็ดข้าวสารในถุง เขาเล่าเรื่องเริ่มตั้งแต่ความสวยงามของภูมิประเทศ ความร่วมแรงร่วมใจของชุมชนที่ช่วยกันทำนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการและคุณค่าทางจิตใจอ่านแล้วทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะซื้อ  แนวทางการตลาดแบบนี้ญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับในสินค้าOTOP ซึ่งไม่ได้เน้นแต่ตัวสินค้าแต่เน้นการนำเสนอคุณค่าแห่งตัวตน/ชุมชน วัฒนธรรม ผ่านการเล่าเรื่อง  เพราะเขาเชื่อว่าคนทุกคน ชุมชนทุกชุมชน มีเรื่องราวที่ทรงคุณค่าของตนเองที่คนอื่นอยากรู้ทั้งนั้น

  

หมายเลขบันทึก: 45785เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นายสำราญ สาราบรรณ์
         ผมเคยได้ยินและมีประสบการณ์ตอนไปฝึกอบรมที่ญี่ปุ่น  การสร้าง brand (ความน่าเชื่อถือ ว่าทำไมเวลาที่เราเห็นสินค้ายี้ห้อนี้เราจึงซื้อ ในขณะที่สินค้าชนิดเดียวกันยี่ห้ออื่นเราไม่ซื้อ)โดยชุมชนเองเป็นสิ่งที่น่าสนใจ  ที่ญี่ปุ่นสินค้าจะมีการบรรจุหีบห่อที่สวยงามน่าสนใจ  แต่ที่ผมสนใจกว่าคือบนกล่องหรือภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้าเกษตรจะมีรูปเกษตรกรผู้ผลิตและเขียนข้อความเล่าคล้ายๆที่พี่แจ๋วบอกนี้แหละ  ว่าผมมีความตั้งใจกับการผลิตสินค้าชนิดนี้อย่างไรบ้าง
เรื่องการตลาด มีปัจจัยมาที่ต้องคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิค ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการค้าการตลาด รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภค และกลยุทธทางการตลาดที่เรียกไม่เป็นทางการว่า "Trick of Trade" หรือ "วิชามารทางการค้า" เคยเชิญทางกรมส่งเสริมการส่งออกมาพูดให้ฟังแล้วครั้งหนึ่ง ลองดูใน Web กสก.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท