โจทย์วิจัยผลของการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล


โอกาสทำหน้าที่ชี้นำสังคม ของนักวิจัย และหน่วยงานอุดมศึกษา/วัจัย ทั้งหลาย ที่จะหยิบประเด็นจากการดำเนินการตามนโยบายระยะสั้น/ระยะยาว ของรัฐบาล เอามาออกแบบเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์สังเคราะห์ผล บอกสังคมว่าผลกระทบจริงๆ ต่อสังคมภาพรวมเป็นอย่างไร บอกให้ครบถ้วน ทั้งด้านบวกและด้านลบ และด้วยท่าทีเป็นกลาง แก่สังคม ไม่ใช้ท่าทีเชิงกดดันหรือเรียกร้อง (advocacy)

โจทย์วิจัยผลของการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล

เราจะเห็นว่า ยิ่งนับวันวิธีการบริหารราชการแผ่นดินไทย ก็ยิ่งเป็นไปเพื่อเป้าหมายคะแนนนิยมทางการเมือง และผลประโยชน์ระยะสั้นของผู้คน   น่าเป็นห่วงว่าจะก่อความอ่อนแอระยะยาวให้แก่บ้านเมือง

แต่การโต้แย้งต่างๆ ที่เป็นอยู่ในสังคม ต่างก็มักใช้โวหารเป็นหลัก น้อยนักที่จะมีข้อมูลหลักฐานจริงๆ มายืนยัน   ทำให้ผมเห็นโอกาสทำหน้าที่ชี้นำสังคม ของนักวิจัย และหน่วยงานอุดมศึกษา/วัจัย ทั้งหลาย   ที่จะหยิบประเด็นจากการดำเนินการตามนโยบายระยะสั้น/ระยะยาว ของรัฐบาล   เอามาออกแบบเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ และวิเคราะห์สังเคราะห์ผล บอกสังคมว่าผลกระทบจริงๆ ต่อสังคมภาพรวมเป็นอย่างไร   บอกให้ครบถ้วน ทั้งด้านบวกและด้านลบ และด้วยท่าทีเป็นกลาง แก่สังคม   ไม่ใช้ท่าทีเชิงกดดันหรือเรียกร้อง (advocacy)

สังคมไทยกำลังต้องการสติ และปัญญาที่มองเห็นภาพรวม ภาพใหญ่ ที่จะช่วยกู้ประเทศในระยะยาว

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ส.ค. ๕๔

หมายเลขบันทึก: 457392เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2011 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Australia>recently:

Governement is trying hard to implement a 'carbon price based policy; (aka 'carbon tax') to change the direction in future development.

===Australian people, and the opposition do not like it. Polls say government will lose the next election on this policy.

--- Technology-based policy can be hard for 'most' people to swallow even when the 'long-term' benefits are clear and great.

Government is trying to implement 'Malaysia solution' to stem back tides of asylum seekers coming by boats to Australia. The solution is challenged in court. The High Court ruled that 'this solution is invalid' (not supported by international conventions and laws for human rights and any Australia's law).

=== Australian people say 'asylum seekers' have created social problems and drained taxpayers fund for health and education. The opposition say previous solutions exist with existing facilities to carry it out; government dismantled the previous solution and created problems and situations that is encouraging more asylum seekers and more spending to deter asylum seekers.

--- moral, human rights, legal and international obligations can be tested in courts. The government power to execute policies can only be conducted within the 'legal', moral, ...' constraints.

Thailand>recently:

Government is replacing key management structures in many infrastructural organizations: police, defence forces, ministries, judges in courts, and key technology and energy bodies. There are public discussions, objections and supports but usually no 'technological' and 'legal' bases for these actions.

=== Thai people say "whatever" just as long as I can feed my family, send my children to schools and one day own a house and a car. The pollies can do what they like even corrupt, illegal, immoral, stupid, ... policies.

--- Continueity of Thailand development mechanisms remains a big problem. Good strategic mechanisms are often dismantled and replaced without proper evaluations (or reviews and assessment by independent bodies). Wastage of resources investment is high and ignored. National development expertees remain underdeveloped becuase of this lack of continuity.

Your say?

ที่สำคัญ ผู้ที่ตะโกนก้องร้องหาประชาธิปไตย

กลับทำการข่มขู่นักข่าว

ขู่คนอื่น ทราบข่าวว่า มี sky kicks ผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของตนด้วย

พัฒนาลงนะครับ

ทำอย่างไรดีครับ

There is an news editorial in thaipost.net:

"...

แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ใช้อำนาจได้แต่ต้องมีความชอบธรรม

thaipost.net บทบรรณาธิการ 2 กันยายน 2554 - 00:00

ยังต้องจับตาดูกันต่อไปสำหรับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่คงเริ่มขยับกันอย่างจริงจังตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป และคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคม เพื่อให้ทันกับการที่จะมีการเกษียณอายุราชการของข้าราชการทั่วประเทศในวันที่ 30 กันยายนนี้

แม้หลายคนจะดูผิดหวังไม่น้อยที่เห็นพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถอยเสียแล้วโดยยอมลุกออกจากเก้าอี้ ผบ.ตร.แต่โดยดี บนข่าวที่ออกมาจากปากของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ว่าพล.ต.อ.วิเชียร ได้ทำหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ว่าพร้อมจะยอมลุกจากเก้าอี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยรัฐบาลจะเสนอให้ไปรับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แทนนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสมช.คนปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลเพื่อไทยได้หมายหัวเอาไว้ตั้งแต่หลังเลือกตั้งแล้วว่าคงต้องเด้งออกจากเก้าอี้เพื่อเอาคนของรัฐบาลมากุม สมช. ที่เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการข่าวความมั่นคงเป็นหลัก

เหตุที่หลายคนค่อนข้างผิดหวังกับตัวพล.ต.อ.วิเชียร เพราะก่อนหน้านี้ดูเหมือน ผบ.ตร.จะแสดงท่าทีพร้อมจะชนกับฝ่ายการเมืองมาตลอด ไม่ยอมลุกออกจากตำแหน่งแต่โดยดี เพื่อให้รัฐบาลสามารถสรรหาและคัดเลือกตัวบุคคลมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ได้สะดวกตาม พ.ร.บ.ตำรวจ

แต่สุดท้าย ท่าทีของพล.ต.อ.วิเชียร ก็เริ่มเปลี่ยนไปหลังแกนนำรัฐบาลอย่างร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ยืนกรานจะทำการปลดพล.ต.อ.วิเชียร ให้ได้ เพื่อเปิดเก้าอี้ให้พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร หนึ่งในผู้จัดการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้มาเป็น ผบ.ตร.ในปีสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ

ซึ่งในที่สุด พล.ต.อ.วิเชียร ก็ยอมเปิดทางให้แต่โดยดี เท่ากับความต้องการของฝ่ายการเมืองที่จะกระชับอำนาจใน สตช. สามารถทำได้ง่ายแต่โดยดี เพราะตัวพล.ต.อ.วิเชียร ไม่ได้แข็งขืนแล้ว จึงทำให้คนที่เคยเชียร์พล.ต.อ.วิเชียร ก่อนหน้านี้ ให้สู้กับฝ่ายการเมืองจนถึงที่สุดค่อนข้างผิดหวังเล็กน้อย เพราะหวังจะเห็นเรื่องนี้เป็นหนังเรื่องยาวจะได้เป็นบรรทัดฐานการโยกย้ายข้าราชการต่อไป

อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอีกหลายตำแหน่งนับจากนี้ เชื่อกันว่าจะมีการย้ายผู้บริหารระดับสูงในอีกหลายหน่วยราชการ ที่ถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับรัฐบาลชุดที่แล้ว รวมถึงการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปรับตำแหน่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจอีกหลายสิบแห่งที่ล้วนมีผลประโยชน์มหาศาล

ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, การบินไทย, การท่าอากาศยานไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการรถไฟแห่งประเทศไทย

ที่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่ออำนาจการเมืองเปลี่ยนก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานราชการและบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ คือเอาคนของฝ่ายตรงข้ามหรือคนที่ไม่ไว้ใจ เพราะได้รับตำแหน่งจากฝ่ายตรงข้าม ให้พ้นจากตำแหน่งแล้วก็ตั้งคนของตัวเองไปทำหน้าที่แทน

การแต่งตั้งโยกย้ายปรับเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในแวดวงราชการ หลายคนจึงเชื่อว่าการปลด ผบ.ตร.และการเด้งเลขาธิการ สมช. มันแค่หัวเชื้อเริ่มต้นของการจัดทัพอำนาจใหม่ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้น ยังมีอีกหลายแห่งให้มีการปรับเปลี่ยน หรืออาจถึงขั้นล้างบางกัน แบบใครไม่ใช่พวกตัวเองก็ย้ายยกแผง จับเด้งเข้ากรุไปนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ยาว หรือเอาไปไว้ในตำแหน่งลอยๆ ไม่ให้มีบทบาทหน้าที่ใดในหน่วยงานต้นสังกัด

..."

We can see that Thailand has this mass migration/machinery service time in "October" every year

when all 'public service organizations' (mechanisms) are overhauled and old parts replaced --

whether those old parts are better than new parts or not.

Using birthday to replace parts would be more logical and less disruptive 'locally'.

On top of annual replacements, we also political replacements.

No wonder, Thailand is run like a provincial school terms -- by rains, by cultural events, by officials from central districts, by whims of outsiders and by the thin line the school principal has to walk on.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท