เทคนิคการเป็นวิทยากร


เทคนิคการเป็นวิทยากร

เทคนิคการเป็นวิทยากร

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วิทยากร เหมือนครู แต่วิทยากรต้องสามารถนำเสนอเรื่องยาวๆหรือยาก หรือเรื่องที่คนสอนมาเป็นปีให้สรุปเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงได้ การเป็นวิทยากรไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆก็เป็นได้ การเป็นวิทยากรลำบากที่ครั้งแรก เพราะตื่นเต้น ไม่กล้าพูด กลัวคนฟังจะว่า เราพูดไม่เก่ง กลัวพูดผิด เสียงจะไม่ดี กลัวจะรู้น้อยกว่าผู้ฟัง กลัวไปหมดทุกอย่าง

ปฐมบทแรก คือ ความตื่นเต้น วิทยากรมือใหม่ต้องหัดคลายความตื่นเต้น หากเราหาเหตุผลได้ว่า ทำไมเราถึงตื่นเต้น เราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร เช่น เรากลัวว่า เราจะรู้น้อยกว่าคนฟัง พูดผิด ไม่ถูกใจคนฟัง ก่อนขึ้นเวที คิดอยู่อย่างเดียว ถ้าเราไม่แน่จริง เราไม่เก่ง เขาคงไม่เชิญเราขึ้นเวที เราต้องมองว่า เราต้องพร้อม รู้ในเรื่องที่เราพูด รู้ในบางมุมที่แตกต่างระหว่างวิทยากรกับผู้ฟัง และต้องมีความรู้

ประเด็นที่สอง  เราต้องมีแม่แบบวิทยากร แล้วจดจำสิ่งที่แม่แบบหรือ Roll Model หรือคนตัวอย่างมาเป็นแม่แบบยึดถือ สังเกตดูว่า เขาพูดอย่างไร เขาแต่งตัวอย่างไร เขามีวิธีการอย่างไร

ประเด็นที่สาม ต้องมีเรื่องเล่า งดเว้นการพูดเรื่องส่วนตัว อย่านำเสนอเรื่องส่วนตัวของตนเอง หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น องค์ประกอบเรื่องตลก ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มีมากเกินไปก็ไม่ดี มีน้อยเกินไปคนก็เบื่อ ต้องพยายามสอดแทรกทั้งวิชาการและเรื่องสนุกสนาน

ประเด็นที่สี่ ต้องรู้จิตวิทยาคนฟัง คนฟังต้องการอะไร คนฟังคิดเห็นอย่างไร “นักพูดที่ดีต้องไม่มี     พาวเวอร์พ้อยท์” หากมีพาวเวอร์พ้อยท์ คนฟังจะไม่ฟังเรา แต่บางที คิดกลับกัน วิทยากรกลัวว่าคนฟังจะคิดว่าวิทยากรไม่ได้เตรียมอะไรมา อีกประการหนึ่งคือ การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าร่วมการอบรม ควรสังเกตอารมณ์ของผู้ฟัง ถือเป็นจิตวิทยาหนึ่งที่ดีของวิทยากร

วิทยากรต้องรู้กลุ่มเป้าหมายของผู้ฟัง รู้สถานะของผู้ฟัง รู้จักผู้ฟัง เรื่องเดียวกันแต่พูดคนละมิติ

การลำดับเรื่องของวิทยากร ต้องมี Speech Mapping สามารถกำหนดไว้ในใจ เราจะไม่ลืม ไม่จำเป็นต้องมี Power point เช่น การพูดเรื่องมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อาจเรียงลำดับการกำเนิด ปัจจุบันเป็นอย่างไร มีอะไร เป็นต้น หากแต่ระยะเริ่มแรก มือใหม่ อาจจะทำผ่าน Power point ก่อน เพื่อไม่หลง ให้ลืมประเด็นที่สำคัญ

วิทยากรที่ดีต้องพูดชัดๆ อย่าพูดเร็ว พูดช้าเกินไป คนฟังก็เบื่อ อยากให้เค้าจดอย่าพูดเร็ว ไม่พูดวกวน พูดน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งหลงเหลง พูดอย่างเป็นระบบ สายวิทยาศาสตร์จะพูดได้ดี สายสังคมศาสตร์อาจจะมีเหตุผลยกประกอบเป็นจำนวนมาก

พิธีกรกับวิทยากร แตกต่างกัน พิธีกร ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย วิทยากร คือ ให้ความรู้ พิธีกรแต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่าง ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร เราต้องค้นหาสิ่งที่เป็นตัวตนของเราให้ได้

สรุปคือ มั่นใจในตนเอง มีข้อมูลเยอะๆ มีบุคลิกภาพความมั่นใจของตนเอง ค้นหาตนเองให้เจอ

หมายเลขบันทึก: 456920เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2011 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาเยี่ยมยาม เรียนเทคนิค ครับ


ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลและเทคนิคมีประโยชน์มากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท