ทฤษฏีผู้บริหาร


ผู้บริหารแบบไหนถูกใจเป็นที่สุด

ผู้บริหารแบบไหนถูกใจเป็นที่สุด  ทฤษฎี ผู้บริหาร มี ๔ แบบ

ผู้บริหารแบบพนักงานรถไฟ

ผู้บริหารแบบนายแพทย์

ผู้บริหารแบบชาวนา

ผู้บริหารแบบชาวประมง

ผู้บริหารแบบพนักงานรถไฟ  ไหลไปตามระบบ ไปตาทราง จากสถานีต้นทางถึงปลายทาง ไม่คิดอะไรใหม่ ไม่ท้าทาย ไม่ปรับปรุง ไม่แสวงหาบริการเสริม ไม่ขายบริการ ขับไปเรื่อยๆ ปล่อยให้ระบบไหลไปตามกลไกของมันเองโดยที่ตนเองแทบไม่ต้องแตะส่วนใดๆ องค์กรนี้จะขาดคนเก่ง เพราะมัวแต่ขับรถไฟไปตามรางแบบเรียบๆเฉื่อยๆ ชิวๆไม่มีการวางแผน ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจไม่ต้อง ทุกอย่างเป็นไปตามปกติว่ากันไปตามขั้นตอน 

ผู้บริหารแบบนายแพทย์  แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นนักแก้ปัญหา  เวลาเกิดปัญหาขึ้นมา จะหาสมมุติฐาน หาสาเหตุ หาวิธีการ แล้วลงมือผ่าตัด เยียวยา รักษา ผู้บรหารแบบนายแพทย์ก็เป็นผู้บริหารนักทำงาน เมื่อมีผู้ป่วยถึงจะลงมือทำงาน พอมีปัญหาก็ลุกขึ้นมาแก้ไข เป็นนักแก้ปัญหาที่ดี ทำงานเฉพาะสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีปัญหาก็ไม่ถอยพร้อมจะลุกขึ้นมา กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้ารับผิดชอบ แต่ยังจำกัดพื้นที่ อยู่ในเฉพาะองค์กรเท่านั้น นั่นคือถ้าไมมีปัญหาก็จะไม่มีการลุกขึ้นมาทำงาน

ผู้บริหารแบบชาวนา รอฟ้ารอฝน มุ่งผลผลิตพอเพียง เป็นผู้บริหารที่เอาธรรมชาติเข้าว่า สบายๆ คือไม่ต้องคิดอะไรใหม่ ชาวนาแม้จะมุ่งผลผลิตก็จริง แต่จะต้องอยู่ในพื้นที่ของตนเองเท่านั้น  ไม่ค่อยคิดงานใหม่ ปล่อยให้สถานการณ์พาไป ไม่ค่อยคิดโครงการล่วงหน้า ปฏิทินงานไม่ค่อยมีอะไรหวือหวา ไม่ซับซ้อน องค์กรไม่มีงานพิเศษเข้ามา ไม่มีความท้าทาย ไม่มีความตื่นเต้น งานอีเว้นท์ก็ไม่ทำ หน้าตักมีแค่ไหนทำแค่นั้น แล้วก็ไม่เสี่ยงด้วย แต่ยังดีคือมุ่งผลผลิต ถึงแม้จะไม่หวือหวาแต่มักจะมีผลผลิตที่ดีเสมอ ถึงแม้ไม่มีงานใหม่เพิ่มแต่ยังดูแลงานหน้าตักเก่าให้ดีสม่ำเสมอและได้ผลงานงอกเงยเป็นอย่างดี

ผู้บริหารแบบชาวประมง กล้า เสี่ยง ท้าทาย กล้าออกไปไม่จำกัดพื้นที่ เสี่ยงเพราะไม่รู้ชตากรรมที่ต้องไปเผชิญ ออกเดินทางไปไม่รู้จะเจอคลื่นลมเมื่อไหร่ จะมีปลามากน้อยขนาดไหน  ชาวประมงเป็นนักเสี่ยง เป็นนักท้าทาย เป็นนักแสวงโชค เชื่อมั่นในตัวเองสูง กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้ารับผิดชอบและกล้าเสี่ยง ข้อดีคือเป็นผู้มีทักษะในการทำงานสูง แต่ก็ชอบทำอะไรที่เสี่ยงๆเสมอๆ และพร้อมที่จะเริ่มต้นจากศูนย์ทุกครั้งที่เสี่ยง คืออาจหมดตัวได้ 

ดังนั้นผู้บริหารสี่แบบนี้ ลองคิดดูว่าเราเป็นแบบไหนถ้าเป็นแบบพนักงานรถไฟกลับไปดูองค์กรตัวเอง เออเรานี้มันบริหารแบบไม่เสี่ยง ว่ากันไปตามวงรอบ กลไกการทำงาน ไม่ท้าทาย ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นี่แบบรถไฟ หรือมีปัญหาจึงลุกขึ้นมาแก้ไขก็บริหารแบบนายแพทย์  ก็อย่าไปคิดอะไรมาก เอาเท่าที่มีนี้ก็พอละ นี่แบบชาวนา แต่ถ้าลุกมาวางกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ กล้าเสี่ยง กล้าท้าทายก็บริหารแบบชาวประมง  

ในผู้บริหารทั้งหมดนี้มีข้อดีมีข้อเสียอยู่ปะปนกัน เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น  

ต้องเอาความระแวดระวังแบบพนักงานรถไฟ มาบวกกับความกล้าเสี่ยง ก็จะได้ผู้บริหารแบบรอบคอบ

เอานักแก้ปัญหาแบบนายแพทย์มาบวกกับความกล้าเสี่ยง ก็จะเป็นคนที่กล้าเสี่ยงตัดสนใจแก้ปัญหาองค์กรได้ด้วย

เอาผู้บริหารแบบชาวนา คือทำในงานการผลิตที่ตนเองเชี่ยวที่สุดมาบวกกับความกล้าเสี่ยงแบบชาวประมงก็จะได้วิเคราะห์การลงทุนที่มีอยู่ ขยายตลาด ผลที่คาดว่าจะได้รับก็น่าจะดีขึ้นกว่าการจำกัดพื้นที่ 

ฉะนั้นเราสามารถบูรณาการให้เหลือแบบเดียวแต่สี่ทักษะก็ได้ ถ้าทำได้นั่นคือผู้บริหารที่พึงประสงค์ นั่นคือ ระมัดระวังแบบพนักงานรถไฟกล้าผ่าตัดแก้ไขแบบนายแพทย์ ทำในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญแบบชาวนาและกล้าท้าทายโอกาส กล้าตัดสินใจ กล้าลงทุนแบบชาวประมง แต่ถ้าเป็นเฉพาะแบบนั้น อันตรายมากคือเสี่ยงอย่างเดียวไม่ระมัดระวังก็ตาย ระมัดระวังอย่างเดียวไม่เสี่ยงเลยก็ไม่ไปไหนอยู่ที่เก่า มัวแต่รอแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแต่ไม่ลุกมาสร้าสรรค์มันก็ไม่ไปถึงไหนเหมือนกัน  มัวแต่ทำเฉพาะที่ตัวเองถนัดอยู่ก็จะวนอยู่แต่ในอ่าง มองไม่เห็นการพัฒนาที่ดีกว่าเดิมเพราะไม่กล้าออกนอกตำรา ไม่กล้าไปเผชิญสิ่งที่ไม่คุ้นเคย  ไม่กล้าที่จะคิดเปลี่ยนแปลงอะไร

นที่ว่าทั้งหมดมานี้หากพาดพิงวิชาชีพใดขออภัยทุกท่าน มา ณ ที่นี้นะคะเอามาจากทฤษฎีผู้บริหารที่ผู้รู้เขาพูดต่อๆกันมาในเมืองนอกนะคะ

       คิดเห็นอย่างไรแลกเปลี่ยนได้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 456840เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2011 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นบทความที่น่าสนใจคะ เห็นด้วยว่า

เราสามารถบูรณาการให้เหลือแบบเดียวแต่สี่ทักษะก็ได้

เลือกดึงแต่ละทักษะมาใช้ในแต่ละสถานการณ์ บางครั้งก็ต้องปล่อยให้ไหลไปตามราง บางครั้งก็ต้องกล้าออกทะเล..

อยากเสริม ผู้บริหารอีกแบบ ที่น่าจะดีคือ

ผู้บริหารแบบคุณพยาบาล...ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ลูกทีมคะ :-)

 

 

ขอบคุณนะคะที่แวะไปให้กำลังใจ บทความนี้ชวนคิดดีจังเลยค่ะ ชอบผู้บริหารแบบ ชาวประมงค่ะ..เพราะชอบ สายชล (ณเดช) คิกคิก...

ชอบผู้บริหารที่มีทั้งรถไฟ ได้นำพาเราไปในที่แปลกใหม่

มีหัวใจนายแพทย์ ดูแลด้วยหัวใจจากใจจริง

ทั้งเป็นคนติดดินแบบชาวนา กล้าต่อสู้ แบบชาวประมง

ปล. เอ หวังมากไปไหมคะเนี่ย ขอบคุณค่ะพี่

Ico64

 

 

เรียนท่าน....มนต์ทิพย์ - ตัณฑุลาวัฒน์

 

- มาชื่นชม "ผลงานที่เยี่ยม...สุดยอดคะ"

 

 - Good article. ...   ม๊ากๆๆๆ คะ


ÄÄÄÄ....อ่านแล้ว..เข้าใจเลย..อ้ะ..ทำไมรูป..พระวิษณุ..เทพผู้สร้างสรรค์..จึงมี..สี่กร..(ยายธี)..ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ

ผู้บริหารทั้ง 4 แบบดีหมดขึ้นอยู่บริทบในขณะนั้นในการบริหาร

ไม่มีทฤษฎีผู้บริหารไหนดีสุด หากแต่เราใช้ให้กับเหตุการณ์นั้นไป

บางที งาน ก็เป็นตัวกำหนดนะครับ ว่าจะบริหารแบบไหน  ในสี่แบบ

   ระหว่าง งานประจำ  งานพัฒนา  งานนโยบาย   งานผักชี

มีงานผักชี ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

งานผักชีนี่เรื่องใหญ่เลยนะครับ  วันไหนมีใครมาเยี่ยม มาประเมิน  ผักชีแทบขาดตลาดเลยละครับ

งานผักชีนี่เรื่องใหญ่เลยนะครับ  วันไหนมีใครมาเยี่ยม มาประเมิน  ผักชีแทบขาดตลาดเลยละครับ

ขอบคุณนะคะ ชอบงานผักชี บ้างแต่ช่วงหลังๆมักจะมีมาบ่อยๆเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท