บทวิจารณ์ พรบ.การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551


พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551, ปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ

บทวิจารณ์ พรบ.การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551

โดย นายวรุณ พนธารา

20 มีนาคม 2554 รุ่น 2 ป.โท นิติราม อุทัย

สำหรับพรบ.ฉบับนี้ได้มีการประกาศและเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยแสดงออกซึ่งท่าทีในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ซึ่งในขณะนั้นนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

จนมาถึงปัจจุบันนี้ในปี ๒๕๕๔ เป็นระยะเวลาเกือบ ๓ ปีแล้วที่ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแต่ผลที่ออกมานั้นกลับไม่ได้ผลเท่าที่ควร อันจะเห็นได้จากรายงานล่าสุดพบว่าสถานการณ์การค้ามนุษย์นั้นนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที ซึ่งมีการจับกุมได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง

สาเหตุในการที่ทำให้พรบ.ฉบับนี้ไม่สัมฤทธิ์ผลส่วนหนึ่ง ก็เนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐของไทยบางหน่วยงานยังคงนิ่งเฉยไม่แก้ไขปัญหา ซึ่งอาจเป็นเพราะผลประโยชน์ หรืออคติบางประการ ซึ่งเมื่อมีกฎหมายแต่ไม่มีผู้บังคับใช้อย่างจริงจังก็ย่อมไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์อันแท้จริงของกฎหมาย

นอกจากนี้สาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้พรบ.ฉบับนี้ไม่อาจใช้บังคับได้ตามเจตนารมณ์ก็เนื่องมาจากปัญหาของตัวพรบ.เองซึ่งอาจแยกพิจารณาได้หลายประการดังนี้ คือ

๑. เนื่องจากพรบ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายใหม่ที่ร่างขึ้นโดย ซึ่งได้สร้างฐานความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ขึ้นมาใหม่ จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับความรู้ของผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น เมื่อเกิดความผิดฐานค้ามนุษย์ขึ้นผู้มีอำนาจสอบสวนที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการค้ามนุษย์มากนักก็ไม่สามารถปรับได้ว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นเข้าองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพรบ.ฉบับนี้หรือไม่ ซึ่งหลายครั้งผู้มีอำนาจสอบสวนได้ปรับเรื่องการค้ามนุษย์นี้เข้าไปกับความผิดทางอาญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับการหน่วงเหนี่ยว กักขัง ซึ่งผู้มีอำนาจสอบสวนมีความรู้ความเข้าใจมากกว่า โดยการปรับบทเช่นนี้เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายในคดีนี้ได้[1]

๒. ขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามพรบ.ในบางประการมีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น

- กรณีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์นั้นเกิดขึ้นกับเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ป.วิ.อ. ของไทยได้กำหนดให้การสอบสวนต้องทำในสถานที่ที่เหมาะสมและมีสหวิชาชีพร่วมในการสอบสวนด้วยซึ่งในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับพนักงานสอบสวน จึงมีการนัดการสอบสวนออกไปเป็นเวลาที่ค่อนข้างนานทำให้ผู้เสียหายบางคนที่ไม่สะดวกในการดำเนินคดีเลิกดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดไป

- กรณีที่ความผิดเกิดขึ้นในหลายเขตอำนาจเพราะการค้ามนุษย์นี้มักจะทำกันเป็นเครือข่ายใหญ่เชื่อมโยงกันทำให้ความผิดเกิดในเขตหลายท้องที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของไทยก็มักจะทำการสอบสวนความผิดเฉพาะในเขตของตนเอง ไม่อยากทำงานข้ามเขตเพราะจะเกิดความยุ่งยากคดีอีกส่วนหนึ่งจึงหยุดลงในส่วนนี้

- กรณีความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร เช่น การค้ามนุษย์ที่ใช้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง หรือใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่ ๓ เหล่านี้อำนาจการสอบสวนจะเป็นของอัยการสูงสุดซึ่งการส่งเรื่องไปที่อัยการสูงสุด และกว่าจะได้ตัวผู้ได้รับมอบหมายก็กินเวลานาน ทำให้ผู้เสียหายหลายรายเลิกติดตามคดีในส่วนนี้ เป็นต้น

- เหตุที่ผู้เสียหายไม่อาจทำการดำเนินคดีต่อไปอาจมีหลายสาเหตุ เช่น หากผู้เสียหายเป็นชาวต่างชาติต้องถูกส่งตัวกลับประเทศตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ หรือบางคนอยากกลับภูมิลำเนาของตนโดยไม่อยากเอาเรื่องกับใคร เป็นต้น [2]

๓. ปัญหาเรื่องการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ แม้ว่าในพรบ.นี้จะได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายไว้ในมาตรา ๒๙ ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วยังไม่มีสถานที่รองรับเพียงพอต่อจำนวนผู้เสียหาย ซึ่งคดีประเภทนี้มักจะมีผู้เสียหายจำนวนมากในการดำเนินคดีแต่ละครั้ง ทำให้ผู้เสียหายหลายคนต้องกลับไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของตน ซึ่งจะมีหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดเป็นผู้ดูแลทำให้การติดตามคดีขาดความเป็นเอกภาพและความสม่ำเสมอ ทำให้การดำเนินคดีต้องหยุดชะงักตามไปด้วย

จากปัญหาทั้งสามประการข้างต้น อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่ากฎหมายดังกล่าวที่ได้ร่างออกมานั้นมีข้อบกพร่องในเรื่องของการไม่อาจใช้บังคับได้จริง ซึ่งก็เป็นผลพวงมาจากการที่รัฐมุ่งเน้นแต่การออกกฎหมายมาเพื่อควบคุมการกระทำของคนในสังคม โดยอ้างเรื่องการปกป้องสิทธิ และเสรีภาพของมนุษย์ จนลืมมองไปว่ากลไกของรัฐนั้นไม่อาจทำการบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งการออกกฎหมายมาโดยที่รัฐนั้นขาดความพร้อมก็ย่อมทำให้กฎหมายที่ออกมานั้นไร้ความหมาย ขาดความศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กฎหมายอาญาเฟ้อ" (overcriminalization)[3] และนอกจากนี้แล้ว การออกกฎหมายมาโดยไม่คำนึงถึงความพร้อมในการบังคับใช้ ย่อมทำให้เกิดช่องว่างสำหรับการที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว จะทำการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากกฎหมายนั้น อีกทั้งหากกฎหมายไม่ได้มีการบังคับใช้เป็นเวลานาน อย่างเช่นกฎหมายฉบับนี้ออกมาตั้งแต่ปี ๕๑ แต่ยังไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างจริงจังกับคดีที่เกิดขึ้น ต่อมาหากมีการบังคับใช้กฎหมายนี้ขึ้นมาอย่างจริงจังแล้วย่อมเกิดปฏิกิริยาว่าการบังคับใช้กฎหมายนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับใช้กฎหมายและสังคมเสื่อมลงไป

จากปัญหาการออกกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงกลไกของรัฐที่ไม่อาจบังคับได้ ดังกล่าวข้างต้น อาจมีการแก้ไขได้หลายทาง เช่น

๑. รัฐควรมีการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย จากการที่ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมการกระทำหลายสิ่งหลายอย่าง จนเกิดกฎหมายที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่อาจทำความเข้าใจกฎหมายเหล่านั้นได้ทั้งหมด เมื่อมีกฎหมายที่มีความจำเป็นในการบังคับใช้จริง ๆ ออกมาก็ทำให้ไม่อาจบังคับใช้กฎหมายที่มีความจำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะกฎหมายที่ออกมาเหล่านี้จะไปปะปนอยู่กับกฎหมายที่ออกมาเกินกว่าความจำเป็น เพราะฉะนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมจำนวนกฎหมายที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้มีการตราออกมาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น[4]

๒. การให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ ๆ เนื่องจากในปัจจุบันระบบราชการในประเทศไทย ยังคงใช้ระบบการสอบบรรจุเข้าทำงาน แต่เมื่อหลังจากสอบเข้าทำงานได้แล้วกลับไม่ค่อยมีการส่งเสริมการเรียนรู้หรือ การเผยแพร่กฎหมายใหม่ ๆ เท่าใดนัก เพราะฉะนั้นจึงทำให้กฎหมายที่ออกมาใหม่อยู่เป็นประจำไม่ได้ทราบถึงผู้ที่ปฏิบัติการในขั้นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมักจะปรับเรื่องกฎหมายการค้ามนุษย์นี้ ไปเข้ากับประมวลกฎหมายอาญาเสียมากกว่า เพราะเป็นเรื่องที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ ดังนั้นการเสริมความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่มีการออกมาใช้บังคับใหม่และต้องใช้ในการทำงานจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญ เทียบเท่ากับการศึกษาประมวลกฎหมายหลักทั้ง ๔ ฉบับ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) ที่ศึกษากันอยู่อย่างจริงจังทุกวันนี้

๓. การหาหนทางอื่นในการแก้ปัญหานอกจากการใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญา หากพิเคราะห์แล้วการออกกฎหมายที่มีโทษทางอาญานั้น ก่อให้เกิดภาระแก่รัฐบาลเป็นอย่างมากเนื่องจากเมื่อออกเป็นกฎหมายอาญาแล้วหากเกิดการกระทำความผิดขึ้นภาครัฐต้องเข้ามาดูแลและช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุน (ในขณะนี้รัฐบาลไทยส่งเงินเข้ากองตามกฎหมายนี้ปีละ ๑๐ ล้านบาท) หรือจะเป็นเรื่องการดำเนินวิธีพิจารณาความทางอาญา ตั้งแต่การเป็นภาระให้พนักงานสอบสวนให้ต้องทำการสอบสวนรวบรวมหลักฐานและยื่นเสนอเรื่องที่เกิดขึ้นต่อพนักงานอัยการ และยังเป็นการการเพิ่มงานให้พนักงานอัยการ และศาล ที่ทุกวันนี้ก็มีคดีความมากมายจนล้นศาล หรือมีตัวจำเลยจนล้นเรือนจำ ซึ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจแก่รัฐเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้ด้วยวิธีทางอื่น เช่น การให้การศึกษา การเตือนให้ระวังมิให้ถูกหลอกลวงจากองค์กรการค้ามนุษย์เพื่อให้ประชาชนรู้จักป้องกันตนเองเหล่านี้ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาการที่กฎหมายที่ออกมาไม่อาจบังคับใช้ได้ทางหนึ่งด้วย

[1]สกู๊ปแนวหน้า, เปิดโปงช่องโหว่ขบวนการค้ามนุษย์ นักการเมือง-ข้าราชการ บางกลุ่มสมคบหนุนหลัง, ๑๑/๖/๒๕๕๓,

available URL: http://www.naewna.com/news.asp?ID=214667, ๒๐/๓/๒๕๕๔

[2] Mediathai, อาชญากรรม, ชำแหละ พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ บทเรียน ๑ ปี ที่ยังมีช่องโหว่...!, ๓/๖/๒๕๕๒

Available URL: http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=47307, ๒๐/๓/๒๕๕๔

[3] เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, “คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค ๑”, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, น.๗, (ประเทศไทย, พลสยาม พริ้นติ้ง, ๒๕๕๑)

[4] จิตรพรต พัฒนสิน, “คำอธิบาย การตรวจสอบถึงความจำเป็นในการตรากฎหมายและบทตรวจสอบ ๑๐ ประการ”, สถาบันกฎหมายพัฒนาเศรษฐกิจ, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ๒๕๔๖.

++++++++++++++++++++

สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย, "รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทย (กลุ่มที่ 2)", http://thai.bangkok.usembassy.gov/tipthaireport09-t.html

หมายเลขบันทึก: 456714เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2011 01:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

รวมบรรณานุกรมสิทธิมนุษยชน-การค้ามนุษย์

“3 จำเลยรับผิดล่อลวงแรงงานไทย 600 ชีวิต คดีค้ามนุษย์ใหญ่สุดในสหรัฐฯ.” ASTVผู้จัดการออนไลน์, 16 มิถุนายน 2554. [Online]., Available URL :

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000073581

ขวัญมนัต รัตนติกุล. “การค้ามนุษย์.” 11 พฤษภาคม 2553. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/someone26/367295

คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ. “สิทธิตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551.” [Online]., Available URL : http://www.statelessperson.com/www/?q=node/6727

“ค้ามนุษย์:ธุรกิจอันดับสองของโลก.” กรุงเทพธุรกิจ, 13 กรกฎาคม 2546.

“คำแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 23 สิงหาคม 2554.”

[Online]., Available URL : http://most.go.th/main/files/230811.pdf

จรัญ โฆษณานันท์. “นิติปรัชญาแนววิพากษ์: Critical Legal Philosophies.” ตุลาคม 2550. [Online]., Available URL : http://www.se-ed.com/eShop/%28A%28gCXgTr8YywEkAAAAMTgwZWQzODEtYTI2ZS00MzgxLWI2ZGQtMTE2MTM0NGM1YzFjfhGT4929TVtjojgbpy5EUAzoqjc1%29%29/Products/Detail.aspx?No=9789742034375

"จังโหลน"ตลาดชายแดนที่สงขลา แหล่งค้ามนุษย์ในทำเนียบ"UN".” ASTVผู้จัดการรายวัน, 11 สิงหาคม 2554. [Online]., Available URL :

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000100606

เฉลิมขวัญ ผลประเสริฐ. “กฎหมายน่ารู้--พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551.” 18 เมษายน 2551. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/hr-mean/152592?class=yuimenuitemlabel

ดวงเด่น นาคสีหราช. “แนวคิดทางปรัชญาเรื่องสัญญาประชาคมต่อพัฒนาการสิทธิมนุษยชน.” 5 พฤษภาคม 2550. [Online]., Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/juscogens/94596

ธัญจิรา ปันยารชุน. “การค้ามนุษย์กับสิทธิมนุษยชน.” 20 เมษายน 2554. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/tanjira/465583

ธัญวลี อุณหเสรี. “ค้ามนุษย์.” 24 เมษายน 2554. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/thunvalee/465699

นนท์เพ็ชร์(นามแฝง).“ค้ามนุษย์.” โลกวันนี้วันสุข, ปีที่ 4 ฉบับที่ 208 วันที่ 23-29 พฤษภาคม 2552 หน้า 24 คอลัมน์ แสงธรรม. [Online]., Available URL :

http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=3028

“ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.” 5 ตุลาคม 2550. [Online]., Available URL : http://www.statelessperson.com/www/?q=node/1365

ประภาส ปิ่นตบแต่ง และกฤษฎา บุญชัย. “จากสิทธิมนุษยชนสู่สิทธิชุมชน : วิวาทะเสรีนิยมกับชุมชนนิยมในสังคมไทย.” [Online]., Available URL : http://www4.msu.ac.th/politics/chrn/bot/b_1.htm

ประเสริฐ ตัณศิริ และ จรัญ โฆษณานันท์. “เอกสารประกอบคำบรรยาย LA 701 นิติปรัชญา Legal Philosophey.” หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2554.

พงศภัค ใจธัญ. “การจัดการประชากรกับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์.” 1 กรกฎาคม 2552.

[Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/pongsapak/275570

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวต่อสู้ อันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของโลก : บทสรุปย่อ.” ข่าวสารสิทธิมนุษยชน ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. [Online]., Available URL : http://www4.msu.ac.th/politics/chrn/bot/b_5.htm

รงค์รบ น้อยสกุล. “เครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ พบนายก พร้อมข้อเสนอ 3 ข้อ.” มหาวิทยาลัยบูรพา, 17 ธันวาคม 2553. [Online]., Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/beever/414491

วรณัฐ วรชาติเดชา,พันตำรวจเอกหญิง. "การค้ามนุษย์ โดยการแสวงหาประโยชน์ทางเพศต่อเด็กและสตรี." ภาควิชากฎหมาย กลุ่มงานวิชาการสถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ.

วรุณ พนธารา.“บทวิจารณ์ พรบ.การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551.” 20 มีนาคม 2554. [Online]., Available URL : www.nitiramuthai.com/picture/news/SG1602.doc

ศราวุฒิ ประทุมราช. “กลไกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ศึกษาเฉพาะการใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 28 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.” งานวิจัยหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง วิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม. [Online]., Available URL : http://elib.coj.go.th/Article/12.pdf

ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดลพบุรี. “ความหมายของการค้ามนุษย์.” [Online]., Available URL : http://www.lopburi.m-society.go.th/human/human_1.htm

สิทธิกร ศักดิ์แสง. “สิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 : การต่อสู้เพื่อคำนิยามปรัชญากฎหมายเชิงอุดมคติ.” คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี, Songklanakarin J. of Social Science & Humanities, Vol. 13 No. 2, Apr. - Jun. 2007. [Online]., Available URL : http://kaekae.oas.psu.ac.th/psuhsej/printarticle.php?id=429&layout=ps

สุภัตรา ภูมิประภาส. “ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย : 26 คำถาม"ยูเอ็น" ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย.” กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน.

[Online]., Available URL : http://61.47.2.69/~midnight/midnight2545/document9588.html

“สหรัฐฯถอดฟิลิปปินส์-สิงคโปร์จากบัญชีจับตาค้ามนุษย์ ส่วนไทยยังติดโผเหมือนเดิม.” ASTVผู้จัดการออนไลน์, 28 มิถุนายน 2554. [Online]., Available URL :

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000078699

“หานเฟยจื่อ Han Feizi.”[Online]., Available URL : http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=288:2010-11-14-02-15-13&catid=48:personal&Itemid=133 , [Online]., Available URL : http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter17/chapter170201.htm

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข. “โหมโรงการค้ามนุษย์ กับ แนวนโยบายรัฐที่ไม่ชัดเจน.”

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงา. [Online]., Available URL : http://www.notforsale.in.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=88&auto_id=7&TopicPk=

BOUNMY LADSAMYXAY(บุญมี ราชมีไช). “การค้ามนุษย์ : อาชญากรรมข้ามชาติ.” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว, 1 กรกฎาคม 2549. [Online]., Available URL : http://www.gotoknow.org/blog/bounmy/36396

BOUNMY LADSAMYXAY(บุญมี ราชมีไช). “การค้ามนุษย์(1)ใน สปป.ลาว.” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว, 5 มกราคม 2551. [Online]., Available URL : http://www.learners.in.th/blog/bounmy-trafficking/120835

"Slavery and Forced Labor." [Online]., Available URL : http://www.hrea.org/index.php?doc_id=430

United Nations. “คำถาม-คำตอบเรื่องสิทธิมนุษยชน.” (HUMAN RIGHTS At your fingertips) , FIFTIETH ANNIVERSARY OF THE UNIVERSAL DECLARATION OF HUMAN RIGHTS

, Department of Public Information, June 1998. [Online]., Available URL : http://web.ruammid.com/go.php?url=http://www.unescap.org/unis/pub/human_rights/hr_q_a.pdf

'เสรีอาเซียน-เสรีค้ามนุษย์'?

http://www.komchadluek.net/detail/20111226/118710/เสรีอาเซียนเสรีค้ามนุษย์.html

ขึ้นบัญชีไทย'เสรีอาเซียน-เสรีค้ามนุษย์' : โต๊ะรายงานพิเศษ

คมชัดลึก 26 ธ.ค. 2011 

              หลังจากยักษ์ใหญ่อเมริกาเปิดรายงานประจำปีว่าด้วยการค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report) ฉบับล่าสุดปี 2554 เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าสหรัฐจะหั่นความช่วยเหลือประเทศไหนดี ผลปรากฏว่าประเทศไทยได้คะแนนเท่าเดิมเหมือนปี 2553 คือ “ระดับ 2 บัญชีต้องจับตามอง” หมายความว่า ยังมีการค้ามนุษย์อยู่มากและรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสนใจแก้ปัญหามากเท่าที่ ควร เรียกว่าเกือบบ๊วย เพราะระดับ 3 คือระดับสุดท้าย หากประเทศไหนอยู่ระดับ 3 คือไม่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมีการค้าแรงงาน ค้าเด็ก ค้าผู้หญิง ฯลฯ จะถูกตัดความช่วยเหลือบางประการ โดยตัวเลขเหยื่อแก๊งการค้ามนุษย์ทั่วโลกขณะนี้มีสูงกว่า 12 ล้านคน

               รายงานค้ามนุษย์ข้างต้นจัดทำมาต่อเนื่องกว่า 10 ปี กระทรวงการต่างประเทศของอเมริกาแบ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกออกเป็น 4 ระดับ (Tier) ดังนี้ “ระดับ 1” (Tier 1) ประเทศที่รัฐบาลทำได้ดีในการป้องกันและการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา ฯลฯ “ระดับ 2” (Tier 2) ประเทศที่ยังทำไม่ได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ แต่กำลังใช้ความพยายาม เช่น มาเลเซีย ต่อไปคือ “ระดับ 2 ขึ้นบัญชีจับตามอง” (Tier 2 Watch list) ถือเป็นประเทศในระดับ 2 ที่มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น จำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์มีสูงมากหรือกำลังเพิ่มสูง เช่น เวียดนาม ลาว บรูไน อัฟกานิสสถาน จีน อินเดีย ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 58 ประเทศ สุดท้ายคือ “ระดับ 3” (Tier 3) หมายถึงประเทศที่ไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันช่วยเหลือเหยื่อหรือจับกุมผู้ ค้ามนุษย์ ปีนี้มี 13 ประเทศ เช่น พม่า ปาปัวนิวกินี อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย ฯลฯ

.........

"‘น่าชื่นชม’คนใส่ใจ ‘ปกป้องเด็ก’ เฉื่อยชา‘น่าผิดหวัง’." วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2555 เวลา 00:00 น. [Online]. Available  URL :
http://www.dailynews.co.th/article/223/18608

...

ทั้งนี้ กรณีทารุณเด็กบังคับขอทานนั้น ผิดกฎหมายแน่ ๆ อยู่แล้ว ดังที่ “เดลินิวส์” ได้นำเสนอไปแล้ว และว่ากันในมุม “สิทธิเด็ก” ดูกันตาม “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” ซึ่งประเทศไทยก็ได้ให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานี้มาตั้งแต่ปี 2535 หรือราว 20 ปีแล้ว กรณีนี้ก็ถือว่า ’ละเมิดสิทธิเด็ก“ ซึ่งรัฐภาคีต้องใส่ใจดูแล

ตาม “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” นั้น การลักพาเด็ก หรือการขายเด็ก หรือการลักลอบค้าเด็ก ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใด หรือในรูปแบบใด เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ตามข้อที่ 35 ของอนุสัญญาฯ ซึ่งรัฐภาคีจะต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ทั้งในระดับประเทศ ระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อป้องกัน

การแสวงหาประโยชน์ทุกรูปแบบที่เป็นผลร้ายต่อสวัสดิภาพของเด็ก ไม่ว่าในด้านใด นี่เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ตามข้อที่ 36 ของอนุสัญญาฯ ซึ่งรัฐภาคีก็จะต้องคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิด ขณะที่ การถูกทรมาน หรือถูกปฏิบัติ หรือถูกลงโทษ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า นี่เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ตามข้อที่ 37 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งรัฐภาคีก็ต้องประกันว่าจะไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิเด็ก

...

 

...

นอกจากระดับบุคคล ที่จะต้องไม่ละเมิดสิทธิเด็กในกรณีนี้แล้ว ในระดับรัฐ ประเทศไทยก็ควรต้องใส่ใจจริงจัง ซึ่งตามข้อ 19 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า...“รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร สังคม และการศึกษา ในอันที่จะคุ้มครองเด็กจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิต การทำร้ายหรือการกระทำอันมิชอบ การทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาท การปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงประโยชน์ รวมถึงการกระทำอันมิชอบทางเพศ” ข้อนี้เกี่ยวข้องทั้งกรณี ขอทานเด็ก, ละเมิดเพศเด็ก ขณะที่ในข้อ 34 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุไว้ว่า... “รัฐภาคีรับที่จะคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และการกระทำทางเพศที่มิชอบทุกรูปแบบ”

...

 

หวั่นไทยถูกลดลำดับ ชาติค้ามนุษย์กลุ่ม 'เลวสุด'

Thairath วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2555. [Online]. Available  URL :

http://www.thairath.co.th/content/oversea/245776

หลังปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในช่วงปีนี้ หวั่นถูกลดลำดับในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2012 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ลงเป็นลำดับ 3 หรือ ลำดับต่ำสุด จากเดิมลำดับที่ 2 เมื่อปี 2011...

พม.ประกาศ 6 มาตรการต้านค้ามนุษย์

http://www.thairath.co.th/content/edu/265976

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ทีมข่าวการศึกษา

5 มิถุนายน 2555, 17:27 น.

รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดงาน "วันต่อต้านค้ามนุษย์" ประจำปี 2555 พร้อมประกาศ 6 มาตรการต้านค้ามนุษย์ หวังเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในไทย...

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2555 ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานพิธีประกาศความมุ่งมั่นในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และเปิดงาน "วันต่อต้านค้ามนุษย์" ประจำปี 2555 ว่า ประเทศไทยยังถูกจับตามองเป็นพิเศษ ถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์จากประเทศต่างๆ และในเวทีระหว่างประเทศ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และการส่งออกของประเทศ รัฐบาลจึงได้ประกาศความมุ่งมั่นในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ 6 มาตรการ ดังนี้

1. รวมพลังป้องกันประชาชนและกลุ่มเสี่ยงมิให้ตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์

2. เร่งรัดแก้ไขปัญหาแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ และจัดการกับนายหน้าที่ผิดกฎหมาย

3. จับกุมและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดและอาชญากรอย่างรวดเร็วเด็ดขาด

4. เพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยก และให้การคุ้มครองผู้เสียหายอย่างรวดเร็วทันท่วงที

5. จัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และ

6. ประสานความร่วมมือกับประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางในทุกรูปแบบ

รมว.พม. กล่าวด้วยว่า ตามรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2554 มีคดีค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 จำนวน 83 คดี มีรูปแบบจากการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีสูงสุด 67 คดี รองลงมาเป็นการบังคับใช้แรงงาน หรือบริการ 13 คดี และการนำคนมาขอทาน 3 คดี แม้ว่าคดีค้ามนุษย์มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับคดีอาญาประเภทอื่น แต่ปัญหาการค้ามนุษย์มีความรุนแรง ซับซ้อน เป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ทำกันเป็นเครือข่าย รูปแบบการค้ามนุษย์และวิธีการหลอกลวงปรับเปลี่ยนตลอดเวลา มีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสาธารณชน ได้ตระหนักถึงภัยการค้ามนุษย์ รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์.

 

 

มะกันเผยรายงานค้ามนุษย์ 27 ล้านคนทำงานเยี่ยงทาส
http://www.thairath.co.th/content/oversea/269929
ไทยรัฐออนไลน์ โดย ทีมข่าวต่างประเทศ
21 มิถุนายน 2555, 03:00 น.

รายงานสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ประจำปี ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พบ 27 ล้านคนทั่วโลก ตกเป็นเหยื่อถูกทารุณและใช้งานเยี่ยงทาส...

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเผยรายงานด้านสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ปี 2555 เมื่อ 19 มิ.ย. 2555 พบว่าประชากรราว 27 ล้านคน จาก 185 ประเทศทั่วโลก ตกเป็นเหยื่อการใช้งานเยี่ยงทาส รวมถึงถูกทำร้ายร่างกาย กักขังหน่วงเหนี่ยวและถูกบังคับให้ทำงานหนักอย่างต่อเนื่องโดยไม่จ่ายค่าแรง โดยประเทศที่ปฏิบัติต่อแรงงานเยี่ยงทาสติดอันดับต้นๆ ของโลก ได้แก่ แอลจีเรีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ลิเบีย เกาหลีเหนือ ซาอุดีอาระเบีย และซีเรีย

ด้านนางฮิลลารี คลินตัน รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ประเทศที่มีพัฒนาการในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชนในปีที่ผ่านมามี 2 ชาติ ได้แก่ พม่าและเวเนซุเอลา ขณะที่สถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดในข้อหาค้ามนุษย์ มีจำนวนทั้งหมด 42,291 รายทั่วโลก หรือเพิ่มขึ้น 28 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสถิติที่สำรวจได้เมื่อปี 2553 แต่มีผู้ต้องหา 3,969 รายเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท