แต่งงาน+ทำลูกช้า เหตุมีลูกยาก


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Semen quality drops after 35 in Chinese men' = "คุณภาพอสุจิ (สเปร์ม) ลดลงหลัง 35 (ปี)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ปัญหาประชากรเด็กลดลงเป็นภัยพิบัติสำคัญของประเทศที่ลูกไม่ดกในโลก... การศึกษาใหม่จากจีนพบว่า คุณภาพของอสุจิ (sperm) ในผู้ชายลดลงหลัง 30 ปี และลดลงเร็วหลังอายุ 35 ปี
.
การศึกษานี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า การแต่งงานช้าหรือทำลูกช้ามีส่วนทำให้มีลูกยาก หรือเป็นหมันเพิ่มขึ้น
.
อ.ดร.เซียน-ซี ซู และคณะ จากสถาบันวางแผนความเป็นผู้ใหญ่เซี่ยงไฮ้ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ชายที่บริจาคอสุจิ อายุ 20-60 ปี 1,000 คน
.
น้ำอสุจิที่มีคุณภาพ คือ มีปริมาณตัวอสุจิ (sperm) และน้ำอสุจิมากพอ, ตัวอสุจิมีรูปร่างปกติ (เช่น หัวไม่ขาด หางไม่แหว่ง ฯลฯ), ว่ายไปข้างหน้าได้ดี (ไม่ขี้เกียจอยู่นิ่งๆ หรือว่ายผิดทิศผิดทาง เช่น ว่ายเป็นวงกลมหรือวงรี ไปไม่ถึงไหน ฯลฯ)
.
ผลการศึกษาพบว่า อสุจิหรือสเปิร์มของคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไปมีจำนวนน้อยลง ความสามารถในการว่ายหรือดำน้ำไปข้างหน้า (mobility) ลดลง โดยลดลงประมาณ 1%/ปี หลังอายุ 30 ปี
.
อสุจิหรือสเปริ์มที่มีชีวิต (alive) ลดลงตามอายุ โดยพบสเปิร์มมีชีวิต 73% ในตัวอย่างอายุ 20-29 ปี, ลดลงเป็น 65% ในช่วงอายุ 50-60 ปี
.
อสุจิหรือสเปิร์มที่มีรูปร่างปกติลดลง 16% ในช่วงอายุ 50s = 50-59 ปี เมื่อเทียบกับช่วงอายุ 20s = 20-29 ปี
.
การศึกษานี้พบว่า ปริมาณจำนวนอสุจิหรือสเปิร์มรวมไม่ค่อยลดลงตามอายุ
.
ปัจจัยสำคัญกว่า อยู่ที่ความสามารถในการว่ายน้ำ หรือดำน้ำไปข้างหน้า และอสุจิที่มีรูปร่างสมบูรณ์ (หัวครบ-หางครบ คล้ายลูกอ๊อดหางยาว) ลดลงตามอายุ
.
ภาพรวมของการศึกษานี้ คือ การแต่งงานช้า หรือทำลูกช้ามีส่วนทำให้ได้ลูกสมใจยากขึ้น
.
ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่นและยุโรป มีปัญหาเด็กเกิดใหม่ลดน้อยลง ทำให้สังคมมีแต่คนสูงอายุ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลงไปมาก
.
มีความเป็นไปได้ว่า หลายประเทศอาจนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการทำลูกมาใช้ เช่น ให้เงินหรือสวัสดิการสนับสนุนคนมีลูก ให้วันลาเลี้ยงลูกนานขึ้น ฯลฯ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
 

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/o4lZ62 Ferility and Sterility, online July 22, 2011.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 13 สิงหาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 456565เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2011 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท