ตลาดหุ้น+เศรษฐกิจคลื่นลูกที่สาม


สำนักข่าว MoneyMorning ตีพิมพ์บทความของอาจารย์ชาฮ์ กิลานี (ท่านอาจมีเชื้อสายเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา ฯลฯ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่นักคิด วิศวกร นักวิชาการสูงแห่งหนึ่งในโลก) เรื่อง 'The new abnormal: Permanently engineered market volatiliy' 
.
แปลว่า "ความผิดปกติ (ไม่ธรรมดา) ใหม่: ตลาดถูกทำ (ทางวิศวกรรม ทางโครงสร้าง) ให้ไม่เสถียร (ขึ้นๆ ลงๆ - ไม่มั่นคง) อย่างถาวร" = "ตลาดหุ้นจะวูบๆ วาบๆ (ขึ้นๆ ลงๆ) ตลอดไป", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ volatile ] > [ โว้ว - ลา - เถิ่ว ] แบบอเมริกัน หรือ [ โว้ว - ลา - ถ่าย ] แบบอังกฤษ > http://www.thefreedictionary.com/volatile > adjective = (ซึ่ง) เปลี่ยนแปลงง่าย ระเหยง่าย ระเบิดง่าย ปะทุง่าย ไม่มั่นคง ไม่เสถียร ไม่อยู่ตัว

อาจารย์กิลานีสรุปไว้สั้นๆ ให้จับหลักตลาดยุคใหม่ไว้ว่า ธรรมชาติของตลาดสมัยใหม่คือ จะไม่เสถียร หรือมีขาขึ้นขาลงไปเรื่อยๆ แบบเมื่อก่อน

ทว่า... จะขึ้นๆ ลงๆ หรือวูบๆ วาบๆ ไปอีกนาน, ใครทำใจได้ เล่นหุ้นให้สั้นหน่อย ซื้อเร็ว-ขายเร็ว ไม่โลภมากเกิน ทำตัวคล้ายการเล่นกระดานโต้คลื่น (windsurf) จึงจะอยู่รอดได้ในตลาดหุ้นยุคใหม่
.
 
ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญได้พยากรณ์ว่า ตลาดหุ้นจะมีสภาพแบบระลอกคลื่น คล้ายระลอกคลื่น (ripple) หรือมีลักษณะคล้ายคลื่นโค้งรูปตัว S (sigmoid, S-liked), คล้ายรูปขนมครก หรือกระทะ คว่ำบ้าง-หงายบ้าง
  • [ ripple ] > [ ริพ - เผิ่ว ] > http://www.thefreedictionary.com/ripple > noun = คลื่นลูกเล็ก ระลอกคลื่น; verb = ทำให้กระเพื่อม ทำให้เกิดคลื่น
ต่อมาได้สรุปใหม่ว่า ตอนนี้ไม่ใช่คลื่นรูปขนมครกหรือกระทะคว่ำ-หงาย หรือไม่ใช่กราฟรูปโค้งแล้ว แต่ขึ้นเร็ว-ลงเร็ว คล้ายฟันปลาฉลาม หรือเป็นรูปซี่เลื่อย (seesaw) ต่างหาก
  • [ seesaw ] > [ ซี้ - ส่อ ] > http://www.thefreedictionary.com/seesaw > noun, verb = กระดานหก, (การ)เคลื่อนที่ขึ้นลงคล้ายฟันเลื่อย ผลัดกันรุก-รับ เดินหน้า-ถอยหลัง กลับไปกลับมา

ไนซ์บิทท์ได้พยากรณ์ว่า โลกจะมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายลูกคลื่น 3 ลูก (The Third Wave) ได้แก่

(1). สังคมเกษตร > ใช้แรงคน-สัตว์, รบกันด้วยมือเท้า-ของมีคม
.
(2). สังคมอุตสาหกรรม > ใช้พลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน ฯลฯ, รบกันด้วยปืน-ดินระเบิด
.
(3). สังคมข้อมูลข่าวสาร (IT) > ใช้พลังงานหลากหลายขึ้น, รบกันด้วยเงิน กฎหมาย ข้อมูลข่าวสาร คอมพิวเตอร์ ไอที งานบริการ เช่น ธนาคาร ประกัน ท่องเที่ยว ฯลฯ
.
โลกตะวันตกกำลังจะเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร หรือ IT มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสังคมยุคนี้จะมีการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์-เครื่องจักรมาแทนคนมากขึ้น, จ้างงานคนทำงานน้อยลง เพิ่มโอกาสวิกฤติจากการตกงาน
.
รัฐบาลที่รู้ทันควรส่งเสริมภาษาอังกฤษ ผลิตแรงงานฝีมือ และภาคบริการมืออาชีพ เช่น หมอฟัน พยาบาล ช่างอาชีวะ นักบิน นักกฎหมายที่รู้ภาษาอังกฤษ-กฎหมายระหว่างประเทศ ฯลฯ
.
เนื่องจากอาชีพเหล่านี้มีความต้องการเพิ่มขึ้น ตรงกันข้ามกับแรงงานภาคอื่นๆ ที่จะมีความต้องการลดลง
.
 
 
กลไกที่พอจะอธิบายปรากฏการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวของสหรัฐฯ และยุโรปมีดังต่อไปนี้
.
(1). คนวัยทำงานยุคหลังเบบี้ บูมเมอร์ (baby boomer = ยุคลูกดก เด็กเกิดใหม่มากในช่วง 1646-1964 = 2489-2507) เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ = 47-65 ปี (ในปี 2554) จับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนน้อยลง
.
การมีสัดส่วนคนในวัยเด็ก ช่วงต่ำกว่า 35 ปี (เป็นช่วงที่ใช้เงินมาก ประหยัดน้อย) น้อยลง, วัยทำงานน้อยลง, คนสูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัวสูงขึ้น
.
ข้อนี้พบในยุโรปมากกว่าสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ มีนโยบายรับผู้อพยพจากเม็กซิโก อเมริกากลาง-ใต้ และบุคลากรสาขาขาดแคลน (เช่น พยาบาล ฯลฯ) ทำให้มีสัดส่วนคนอายุน้อย เด็กเกิดใหม่มากกว่า
.
(2). รัฐบาลใช้เงินอนาคต คือ ออกพันธบัตรเงินกู้มากกว่ารายได้ติดต่อกันมานานเกิน 10 ปี ทำให้มีหนี้สะสม-ดอกเบี้ยสะสมเพิ่มขึ้นเกินอัตราการเพิ่มของรายได้
.
ตอนนี้คนในรัฐสภาอเมริกัน 2 พรรคมีความเห็นสุดขั้วกัน ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมลดสวัสดิการ (ไม่ยอมลดรายจ่าย), อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมเพิ่มภาษี (ไม่ยอมเพิ่มรายรับ) ทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางการเงินการคลัง หาทางออกได้ยาก
.
(3). การเป็นรัฐสวัสดิการ คือ รัฐใช้เงินในเรื่องสวัสดิการสังคม เช่น ค่าชดเชยคนตกงาน ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ มากทำให้ยอดรายจ่ายสะสมสูง
.
สหรัฐฯ มีความพิเศษหลายอย่างในเรื่องสิ้นเปลือง เช่น จนลงแต่ส่งเงินบริจาคให้อิสราเอลปีละมากมาย ฯลฯ
.
(4). ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นลดลง โดยเฉพาะกับจีน-เอเชีย ซึ่งมีแรงงาน-ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า-บริการต่ำกว่า โดยเฉพาะประเทศที่มีวัฒนธรรมขงจื่อ (จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ฯลฯ) ซึ่งเน้นขยัน-ซื่อสัตย์-ประหยัด-กตัญญู
.
(5). เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตมากในภาค IT, คอมพิวเตอร์ หรือบริการยุคใหม่ เช่น แอปเปิ้ล อเมซอน ฯลฯ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ใช้ข้อมูลข่าวสารยุคใหม่ บริหารผ่านการออกแบบ-โปรแกรมยุคใหม่ ทำให้หาเงินได้มาก แต่มีการจ้างงานในประเทศน้อยมาก
.
(6). ค่าแรงในสหรัฐฯ สูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่ารักษาพยาบาลแพง และกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่าย นายจ้างจึงต้องหาทางประหยัดด้วยการจ้างผลิตนอกประเทศ เช่น แอปเปิ้ลจ้างผลิตสินค้าในจีน-เม็กซิโก-ญี่ปุ่น ฯลฯ
.
(7). สหรัฐฯ มี R&D (การวิจัย-พัฒนา) สูงกว่าชาติอื่นๆ น่าจะมีเศรษฐกิจดี แต่กลับใช้เงินเกินตัว เช่น ชอบบ้านหลังใหญ่ รถคันใหญ่ หน้าร้อนติดแอร์-หน้าหนาวติดฮีตเตอร์ (เครื่องทำความร้อน) ฯลฯ
.
ถ้าคนสหรัฐฯ สร้างบ้านหลังเล็กลงสัก 1/2-2/3 น่าจะช่วยลดปรากฏการณ์โลกร้อนได้อย่างมากมาย
.
(8). สงครามเรื้อรัง โดยเฉพาะในเวียดนาม-อิรัก-อัฟกานิสถาน (ก่อนหน้านี้สงครามเวียดนาม-อัฟกานิสถานทำให้อดีตสหภาพโซเวียตล้มละลายไปรอบหนึ่งแล้ว)
.
(9). ซึนามิ-แผ่นดินไหว-นิวเคลียร์รั่ว-ภาวะขาดไฟฟ้าในญี่ปุ่น มีส่วนทำให้เศรษฐกิจโลกชะงักงัน เนื่องจากญี่ปุ่นผลิตวัตถุดิบที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น แร่ธาตุหายาก (rare earth) มาจากจีน 90%, แปรรูปโดยโรงงานญี่ปุ่น 50% ฯลฯ
.
การขาดชิ้นส่วนอีเล็คโทรนิคส์จากญี่ปุ่นทำให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ และฮ่องกงชะงักงันก่อน, เมื่อร่วมกับการผลิตรถยนต์ที่ชะลอตัวไปทั่วโลก อาจทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนช้าลง
.
มีความเป็นไปได้ว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว และลูกไม่ดก เช่น ญี่ปุ่น รัสเซีย ฯลฯ อาจต้องใช้วิธีกระตุ้นการทำลูก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ลดภาษี ให้เรียนฟรี ฯลฯ ให้แรงจูงใจกับคนที่ทำลูกสำเร็จ หรือคัดเลือกคนที่มีการศึกษาสูงเข้าประเทศ เช่น ที่ออสเตรเลียทำทุกปี ฯลฯ 
.
สิงคโปร์ให้ค่าตอบแทนการบริจาคเลือดในสายสะดือประมาณ 6 แสนบาทเศษ (อ้างว่าวิจัย จริงๆ อาจจะจงใจจ้างทำลูกก็เป็นไปได้) ฯลฯ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 21 สิงหาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 456194เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท