สวนเกษตรหลังบ้าน


เศรษฐกิจพอเพียง
สวนหลังบ้าน ยามว่างเว้นจากภาระกิจการงานประจำ เดินสำรวจงานอดิเรกตามประสาคนว่างงาน ยามเย็นและเว้นวันว่างหลังเรียน สำรวจพื้นที่หลังบ้านดูผลงานที่เราได้สร้างสรรจากองค์ความรู้ที่มีอยู่อันน้อยนิด และได้ค้นคว้าด้วยความอยากรู้ อยาทดลอง และเก็บข้อมูล ในศัพท์ที่สวยรู้คืองานวิจัยฟาร์ม แท้จริงแล้วก็เป็นงานทดลองที่อยากค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงได้ใช้พื้นที่ว่างๆ หลังบ้านทำงานทดสอบ เริ่มต้นจากสำรวจพื้นที่หลังบ้านซึ่งมีที่ว่างอยู่ประมาณ 3 ไร่. เริ่มวางระบบน้ำหยดตามลักษณะความต้องการของพืชแต่ละชนิด เช่น พืชหลัก มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 กระท้อนพันธ์ุอีหล้า พืชรองปลูก มะนาวพันธ์ุตาฮิติมะนาวไร้เมล็ด วางแผนทำมะนาวนอกฤดู มีทั้งปลูกในท่อและสภาพธรรมชาติ ปลูกฝรั่งไร่เมล็ด น้อยหน่าไร้เมล็ดพันธ์ุเพชรปากช่อง แก้วมังกร หมากเม่า เมนระบบนำ้พืชอายุสั้น ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล หลากหลาย เช่น ต้นหอม ผักคะน้า ผักบุ้ง. ฝักทอง โหรพา กระเพรา แมงลัก ข้าวโพด มีต้นมะละกอพันธุ์ฮอนแลนด์เป็นหลัก พืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน ขิงข่า ตะไคร้ มะกรูด พืชผักพื้นบ้าน. ริมรั้วลวดหนามปลูกหวายป้องกันขโมยแล้วยังทานได้ เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน แย้เอาไว้ควบควบแมลง ผึ้งชันโรงเอาไว้ผสมเกสรพืชพันธุ์. เลี้ยงมดแดงเพื่อเป็นตัวชี้วัดเกษตรอินทรีย์ปรอดสารเคมี มีบ่อเลี้ยงปลาดุกขนาด 4 ตารางเมตร ปากบ่อเลี้ยงกบในขวดพลาสติก เศษอาหารจากกบที่เหลือให้ปลาดุกในบ่อ ใช้ EM หมักเองจาก พด. สูตรทำเอง เพื่อบำบัดกลิ่น มีบ่อปลาหางนกยูงเพื่อความสวยงามโดยใช้ท่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร มีอยู่ 10 บ่อ เลี้ยงผำ 3 บ่อ ทดลองสูตรใช้มูลวัว+EM และมูลไก่+EM เพื่อเป็นอาหารเสริมปลาหางนกยูง แล้วใช้ปลาหางนกยูงเลี้ยงแมงดานาในโรงเรือนปิดขนาด 4*5 เมตร ในโรงเรือนปิดผสมผสานโดยการเลี้ยงกบ และเพาะพันธุ์เลี้ยงสัปรดสี และกล้วยไม้สกุลหวายและแคทาลียาใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ ยังมีพื้นที่ว่างสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ในกรงตรับขนาด 5*8 เมตร มีไก่ไข่ 96 ตัว และทดลองเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติอีกประมาณ 60 ตัว เป็นการเลี้ยงแบบอินทรีย์ มีเพลงคลาสิกเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศ แบ่งพื้นที่ด้านข้างประมาณ 2 งาน ทดสอบเลี้ยงไก่ดำภูพาน1 ขนดำ เล็บดำ กระดูกดำ เนื้อสีเท่าดำ เอกลักษณ์หงอนไก่เป็นหงอนกุหลาบ เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกและปลายข้าว ปล่อยเลี้ยงแบบบุพเฟ่หากินเอง เลี้ยงในสวนกล้วยน้ำหว้าอนาคตวางแผนเลี้ยงไก่ดำภูพาน2 ลักษณะมีขนสีขาว หงอนไก่เป็นหงอนจักร ส่วนหน้าบ้านซึ่งหันหน้าสู่ทิศตะวันตก ปลูกไม้ใหญ่เพื่อลดความร้อนในช่วงยามเย็น เช่นกระท้อน ลำไย มะยงชิด มีมะยมตามหลักฮวงจุ้ย ทิศตะวันออกปลูกไผ่ เพื่อสลายพลังงานจากลมในช่วงฤดูฝน ทิศใต้ปลูกมะม่วงพันธุ์งามเมืองย่าลูกละกิโลกว่าๆ ต้นธัมมังเป็นพืชสมุนไพรให้กลิ่นแมงดาเมื่อนำมาประกอบอาหาร ปลูกต้นพุทธรักษาไว้บูชาพระ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือปลูกมะนาวพันธุ์พื้นเมือง และมะนาวพันธุ์บุญบันดาลผลเท่าลูกส้มโอ ทิศเหนือปลูกฝรั่งไร้เมล็ด. แก้วมังกร ทิศตะวันออกเฉียงใต้ปลูกต้นยอ. ตามแนวรั้วปลูกสาวรสผลสีม่วง. หน้าบ้านจัดสวนหย่อมด้วยสัปรดสีและพันไม้นานาชนิด ต้นสนอินโด หมากแดง ต้นมิราเคิล ต้นชวนชม บัวหลวง และบัวสาย บัวฝรั่ง งานอดิเรก. หน้าบ้านสวย. หลังบ้านสวน. ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
หมายเลขบันทึก: 455539เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2011 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อธิบายเรื่องผำหน่อยครับ

ยังไม่เห็นว่าเป็นฉันใดครับผม

“ผำ” หรือเรียกว่า ไข่แหน (Fresh water Alga, Swamp Algae) รู้กันกันในชื่อ ไข่น้ำ, ไข่ขำ และ ผำ มีชื่อพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า ผำ ทางภาคกลางเรียกว่า ไข่น้ำ ส่วนทางภาคอีสานเรียกว่า ไข่ผำ

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

“ผำ” เป็นพืชน้ำคล้ายแหนต้นเล็กๆบางครั้งเรียก "ไข่แหน" เป็นเม็ดกลมสีเขียว ลอยเป็นแพอยู่ผิวน้ำ พบตามธรรมชาติที่น้ำใสนิ่ง เช่น บึง หนองน้ำ ผำจะพบมากในฤดูฝน ทางภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลาง จะพบวางขายกัน นำไปทำอาหารได้หลายอย่าง ผำ เป็นพืชดอกที่มีต้นเล็กที่สุด หรือเป็นผักที่ต้นเล็กที่สุด

หมากเม่าต้นมีลักษณะยังไงค่ะ

ไม่เคยเห็น

ขอรูปก็ได้ค่ะ

แต่แย้....นี่เลี้ยงด้วยหรือค่ะ

(ยืมรูปมาจากเน็ตครับ)  

                 หมากเม่า เป็นไม้ผลท้องถิ่นยืนต้นไม่ผัดใบ (evergreen tree) สูง12-15 เมตร ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมันวาวเรียงตัวแบบสลับ ดอกออกเป็นช่อช่อแบบ spike ดอกแบบแยกเพศต่างต้น ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลสุกในเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวเมื่อเข้าสู่ระยะสุกผลเปลี่ยนแปลงเป็นสีแดง และสีดำเมื่อสุกจัด ผลมีลักษณะฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ผลดิบมีสีเขียวผลสุกมีสีแดง และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุกจัดให้ผลผลิตปีละครั้งช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของปี พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีความทนแล้งได้ดี

              ส่วนแย้ผมเลี้ยงแบบบุพเฟ่ปล่อยหากินเอง โดยล้อมรั้วขอบเขตไว้ในสวนโดยมีตาข่ายลวดความถี่ประมาณ 3/4 นิ้ว สูง 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันสุนัขศัตรูตัวร้าย เข้าไปขุดรูและกิน แล้วยังป้องกันสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาในสวน เช่น งู

  • หายไปนานมากๆ
  • มาเขียนเรื่องใหม่นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท