เทคนิคการเขียนตัวชี้วัดด้วยสูตร 2Q2T1P และ QQCT


ขั้นตอนการเขียนตัวชี้วัดตัวชี้วัดความสำเร็จระดับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และผลผลิต

 

            ขั้นตอนที่ 1. การกำหนดประเด็นของตัวชี้วัด
• ระดับยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งชาติ
ให้กำหนดประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการกีฬาแห่งประเทศไทยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของศักยภาพของสังคมในทางกีฬา เช่น “สังคมให้ความสนใจกีฬาฟันดาบมากขึ้นจากการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติฯ และการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติฯ ” ฯลฯ
• ระดับยุทธศาสตร์สมาคมฯ ให้กำหนดประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่มีต่อผลประโยชน์ของชาติ และกลุ่มสมาชิก ที่เป็นเป้าหมาย เช่น “ สามารถเข้าอันดับหนี่งในห้าของอาเซียน” “สามารถเข้าอันดับหนี่งในสิบของโลก” “กรรมการไทยเข้าร่วมตัดสินกับFIEครบสามดาบ ” “กรรมการไทยที่เข้าร่วมตัดสินกับFIEได้รับการยอมรับจากทุกชาติ” “สมาคมฯสร้างนักกีฬาระดับโอลิมปิกได้เพิ่มขึ้นครั้งละสามคน”และ “ดึงรายการworld cup มาจัดในไทยได้ สามดาบ” ฯลฯ
• ระดับกลยุทธ์ของสโมสรหรือชมรม ให้กำหนดประเด็นตัวชี้วัดความสำเร็จของนักกีฬา และลักษณะผลประโยชน์เฉพาะ เช่น “เยาวชนไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจกีฬาฟันดาบมากขึ้น”และ “มาตรฐานการฝึกสอนกีฬาฟันดาบสากลของชมรมสูงขึ้น” ฯลฯ
• ระดับกิจกรรมสร้างผลผลิตของคณะอนุกรรมการฯ ให้กำหนดตัวชี้วัดความสาเร็จจากการจัดทำกิจกรรม ด้วยการใช้คำกริยารูปธรรม “จัดการแข่งขันตามมาตรฐานFIE อย่างสมบูรณ์” “จัดการเรียนการสอนให้กลุ่มนักกีฬาของภูมิภาคได้ครบทุกภาค” และ “ควบคุมการทำหน้าที่ของกรรมการให้มีการเบี่ยงเบนน้อยที่สุด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานกลาง” ฯลฯ

           ขั้นตอนที่ 2. หลักการกำหนดตัวชี้วัดด้วยสูตร 2Q2T1P และ QQCT
• การเขียนตัวชี้วัดในระดับยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งชาติ ระดับยุทธศาสตร์สมาคมฯ และระดับกลยุทธ์ของสโมสรหรือชมรม ควรมีองค์ประกอบ 2Q+2T+1P คือ ปริมาณ (Quantity) คุณลักษณะ(Quality) เวลา (Time) กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) และสถานที่ (Place)

• การเขียนตัวชี้วัดในระดับผลผลิต ควรมีองค์ประกอบ QQCT คือ ปริมาณ (Quantity) คุณลักษณะ (Quality) ต้นทุน (Cost) และเวลา (Time)
          

          ขั้นตอนที่ 3. การกำหนดค่าของตัวชี้วัด
ค่าของตัวชี้วัดแสดงเป็นตัวเลขใน 6 ลักษณะ ได้แก่
• จำนวน (Number)
• ร้อยละ (Percentage)
• สัดส่วน (Proportion)
• อัตราส่วน (Ratio)

 อัตรา (Rate)
• ค่าเฉลี่ย (Average or Mean)

          ขั้นตอนที่ 4. เทคนิคการเขียนตัวชี้วัดด้วยสูตร 2Q2T1P และ QQCT
• การเขียนตัวชี้วัดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ตามสูตรข้างต้น มีความแตกต่างกันในการกำหนดเป้าหมาย ดังนี้
     - ระดับยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งชาติฯ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ สังคมในภาพรวม หรืองานในภาพรวม หรือสมาคมกีฬาฯในภาพรวม เช่น ประชาชน ทรัพยากรการกีฬาฯ ประเทศ สมาคมกีฬาฯ
     - ระดับยุทธศาสตร์สมาคมฯ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มสมาชิกที่ สมาคมฯ รับผิดชอบ หรืองานเฉพาะที่สมาคมฯรับผิดชอบ หรือคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เช่น กลุ่มสมาชิกฯ กลุ่มนักกีฬา กลุ่มกรรมการ
     - ระดับกลยุทธ์ของชมรมฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการที่ชมรมฯรับผิดชอบ หรืองานเฉพาะที่ชมรมฯรับผิดชอบ เช่น กลุ่มเยาวชนที่สนใจมาร่วมเป็นนักกีฬาฟันดาบฯ รายรับของชมรมฯ

• ในระดับยุทธศาสตร์และระดับกลยุทธ์ การวัดเชิงปริมาณ (Quantity)และเชิงคุณลักษณะ (Quality)ของผลประโยชน์มีความแตกต่างกัน โดยขึ้นกับมาตรวัด (Scale)
     - การวัดเชิงปริมาณ (Quantity) ใช้ตัวเลขที่เป็น อัตราส่วนมาตรา (Ratio Scale) ช่วงมาตรา (Interval Scale) และลำดับมาตรา (Ordinal Scale) เช่น “อัตราส่วนของเยาวชนที่เป็นนักกีฬาฟันดาบต่อเยาวชนทั้งหมดของประเทศ” และ “ผลงานนักกีฬาที่ได้ในระดับอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับที่ ... จากลำดับที่..... ” “สัดส่วนของนักกีฬาที่สามารถเข้าอันดับโลกได้จากนักกีฬาทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 10 เป็น 1 ใน 5 ” “ สมาคมฯสามารถส่งตัวแทนกรรมการเข้าร่วมการตัดสินของ FIE ได้จำนวน.......คน”เป็นต้น
     - การวัดเชิงคุณลักษณะ(Quality) ใช้ตัวเลขที่เป็น นามมาตรา (Nominal Scale) เช่น “ระเบียบหรือข้อกำหนดของสมาคมที่ล้าสมัยที่ขัดต่อการพัฒนาได้รับการยกเลิกและแก้ไขปรับปรุง” “สมาคมฯได้รับการอุดหนุนและการสนับสนุนทางการเงินได้เพียงพอกับการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์สมาคมฯ”
“สามคมฯได้รับรางวัลองค์กรยอดเยี่ยมในด้าน........จากองค์การระหว่างประเทศ FIE”
• ในระดับยุทธศาสตร์และระดับกลยุทธ์ การวัดด้านเวลา/การกำหนดTime) กำหนดได้ 2 ลักษณะ
- กรณีที่ต้องการวัดเมื่อสิ้นสุดเวลาของแผนระยะยาวหรือสิ้นสุดโครงการ เช่น “ภายในสิ้นแผนบริหารงานสมาคมฯ ปี .... ” หรือ “เมื่อสิ้นสุดปี.... ” กรณีนี้มักจะใช้กับการวัดความสำเร็จของยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ในแผนนั้นๆ ซึ่งต้องใช้กระบวนการก่อตัวของแผน-การเตรียมงาน-การปฏิบัติงาน-การแสดงผลจากการปฏิบัติงาน-การสิ้นสุดหรือการคงสภาพการปฏิบัติงาน โดยที่ผลการปฏิบัติงานมักจะไม่สามารถแสดงได้ในปีที่ 1 แต่จะเริ่มมีผลขึ้นบ้างในปีที่ 2 และมีผลเพิ่มขึ้นในปีที่ 3 และมีผลเกิดขึ้นเต็มที่ปีที่ 4 ดังนั้น จึงต้องกำหนดว่าปีใดจะได้ผลเท่าใด
     - กรณีที่ต้องการวัดเมื่อสิ้นสุดแต่ละรอบเวลาภายในเวลาของแผนระยะยาว เช่น “เพิ่มขึ้นร้อยละ ... ต่อปี” หรือ “ลดลงร้อยละ ... ต่อปี” กรณีนี้มักจะใช้กับการวัดความสำเร็จของยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่ดำเนินการต่อเนื่องจากแผนที่แล้ว ซึ่งผลการปฏิบัติงานจะต่อเนื่องจากปีที่แล้วและมักจะมีผลงานเพิ่มขึ้นในปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ในอัตราเพิ่มขึ้น
     - สถานที่ (Place) ต้องระบุในกรณีที่ดำเนินการในพื้นที่เฉพาะ เช่น “ในจังหวัด ……” “ในภาค ……” “ในเขตโครงการ ……” ส่วนกรณี “ทั่วประเทศ” ไม่จำเป็นต้องเขียนหากเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
• การเขียนตัวชี้วัดในระดับผลผลิต
     - ปริมาณ (Quantity) ให้ระบุจำนวนชิ้นของวัตถุที่ถูกกระทำ เช่น “อาคารถาวรสำหรับการฝึกกีฬาฟันดาบของสมาคมฯก่อสร้างแล้วเสร็จ” “สมาคมฯจัดทำระบบและอุปกรณ์เครื่องช่วยตัดสิน การดูภาพย้อนกลับจำนวน.......ชุด” “ผู้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตร........จำนวน........คน”
     - คุณลักษณะ (Quality) ให้ระบุมาตรฐานของวัตถุที่ถูกกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงของวัตถุที่ถูกกระทำ เช่น “นักกีฬาฟันดาบฯมีความสามารถและมีมาตรฐานระดับโลก” “ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์การทดสอบ”
     - ต้นทุน (Cost) ให้ระบุต้นทุนของผลิตภัณฑ์ผลผลิตหรือบริการ เช่น “ราคาต่อหน่วยที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้น" ” หรือ “ราคาต่อหน่วยภายในวงเงินที่กำหนด”
    - เวลา(Time)ให้ระบุความรวดเร็วในการส่งมอบผลผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น “สร้างนักกีฬาฟันดาบฯระดับอาเซียนภายในเวลา สองปี” “สร้างนักกีฬาฟันดาบฯระดับโอลิมปิกภายในเวลา สี่ปี” หรือ “ภายในระยะเวลาที่กำหนด”
ข้อผิดพลาดในการเขียนตัวชี้วัด
• การเขียนตัวชี้วัดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
     - กลุ่มเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์สมาคมฯกำหนดไว้กว้างเกินไป จะต้องพิจารณาว่า มีภารกิจให้บริการกลุ่มใดเป็นกลุ่มหลัก หรือกลุ่มสังคมใดบ้าง เช่น สมาคมฯไม่ได้มีภารกิจให้บริการโดยตรงต่อกลุ่มผู้ที่ค้าขายอุปกรณ์ฟันดาบฯ สมาคมฯมีภารกิจให้บริการโดยตรงต่อกลุ่มที่เป็นสมาชิกฯ และ สมาคมฯสร้างยุทธศาตร์ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น
      - กลุ่มเป้าหมายระดับกลยุทธ์ของชมรมฯและคณะอนุกรรมการฯกำหนดไว้กว้างเกินไป ชมรมฯและหรือคณะอนุกรรมกการไม่ได้ให้บริการในอาณาเขตเต็มพื้นที่ แต่กำหนดกลุ่มเป้าหมายในอาณาเขตเต็มพื้นที่ ดั้งนั้น การสุ่มตัวอย่างจะครอบคลุมประชากรที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการให้บริการโดยตรงจากชมรมฯและหรือคณะอนุกรรมการฯ อาจทำให้ผลจากการประเมินผลสรุป ได้ว่าชมรมฯและหรือคณะอนุกรรมการฯไม่ประสบความสำเร็จในภารกิจนั้น
     - กรณีที่ต้องการวัดเมื่อสิ้นสุดแต่ละรอบเวลาภายในเวลาของแผนระยะยาว เช่น “เพิ่มขึ้นร้อยละ ... ต่อปี” หรือ “ลดลงร้อยละ ... ต่อปี” กรณีนี้มักจะใช้กับการวัดความสำเร็จของยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่ดำเนินการต่อเนื่องจากแผนที่แล้ว ซึ่งผลการปฏิบัติงานจะต่อเนื่องจากปีที่แล้ว และมีผลงานเพิ่มขึ้นในปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ในอัตรา..เดียวกัน..
• การเขียนตัวชี้วัดผลผลิต
     - การเขียนตัวชี้วัดในระดับผลผลิต ที่มักเข้าใจว่าการวัด “Quality” เป็นการวัดคุณภาพในลักษณะที่แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้
     - คุณลักษณะ (Quality) ให้ระบุมาตรฐานของวัตถุที่ถูกกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงของวัตถุที่ถูกกระทำ เช่น “อาคารถาวรสำหรับการฝึกกีฬาฟันดาบของสมาคมฯก่อสร้างแล้วเสร็จ” “ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์การทดสอบ”
• การเขียนตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จในการดำเนินงาน” จะต้องระมัดระวังเรื่อง ที่มาของการวัด
     - ถ้าคะแนนของความสำเร็จเกิดมาจากการวัดความคืบหน้าของกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานนั้นเป็น Process Indicator ไม่ใช่ Output Indicator หรือไม่ใช่ Outcome Indicator
     - ถ้าคะแนนของความสำเร็จเกิดมาจากการวัดความคืบหน้าของปริมาณของผลผลิตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการสุดท้ายของการผลิตหรือปริมาณ ผู้รับบริการจากกระบวนการสุดท้ายของการให้บริการ ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานนั้นเป็น Output Indicator
     - ถ้าคะแนนของความสำเร็จเกิดมาจากการวัดความคืบหน้าของปริมาณกลุ่มเป้าหมาย ผู้ได้รับผลประโยชน์จากการใช้ผลผลิตตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานนั้นเป็น Outcome Indicator

 

http://starfencing.blogspot.com/2009/07/2q2t1p-qqct.html

หมายเลขบันทึก: 455492เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท