การออกกำลังกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง


โดยsommai maithong
​การป้องกันและการจัดการกับอาการปวดไหล่ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก อาการปวดไหล่ ​อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพช้าลง เนื่องจากการปวดข้อส่งผลให้มีการทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวที่ดีได้ช้า  พบว่า 72%ของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกมีอาการปวดไหล่อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงที่ทำการฟื้นฟูสภาพโดยที่ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเหล่านี้จะไม่เกิดซ้ำ นอกจากนั้นอาการปวดไหล่จะทำให้ความสามารถในการไปถึงจุดสูงสุดในการทำกิจกรรมมีข้อจำกัด และมีการศึกษาที่พบว่า อาการปวดไหล่สัมพันธ์กับความสามารถในการเคลื่อนไหวของไหล่ ​การป้องกัน ​มี 4 การศึกษาป้องกันอาการปวดไหล่ ดังนี้ การจัดท่าไหล่ การรัดไหล่ การห้อยแขน การออกกำลังกาย ​กรณีศึกษา ผู้ป่วย Diagnosis :Acute stroke มีอาการแขนขาซ้ายอ่อนแรง  ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้  สามารถนำการป้องกันการปวดไหล่มาใช้เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อและป้องกันการปวดไหล่ได้ ในที่นี้ขอนำเสนอการจัดไหล่ ​การจัดไหล่ การจัดท่าไหล่ร่วมกับการกระทำบางอย่าง เช่น การจัดท่าอย่างระมัดระวัง การพยุงอย่างเพียงพอและการจับอย่างถูกต้องอาจมีผลต่ออาการปวดและการเคลื่อนไหวจากการจัดท่าไหล่ข้างที่มีอาการทุกวัน นาน5 วัน /สัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยใน Protocol ประกอบด้วยการจัดท่าไหล่ข้างที่อ่อนแรงในท่าที่แตกต่าง 3 ท่า แต่ละท่านาน 20 นาที  โดยจัดวางข้อไหล่ glenohummeral บนกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีความยาว ของกล้ามเนื้อที่ต่างกันโดยวางข้อไว้ด้านบนหรือทำมุมมากกว่า 90 องศาในท่างอเข่า ( flexion) และ/หรือกางออก( abduction) แม้ว่าการรักษาชนิดนี้ไม่ทำให้การเจ็บปวดลดลงหรือเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็พบว่าการปวดลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 6     อ้างอิงจาก เว็ปไซต์ http://www.nurse.cmu.ac.th/jbicmu/images/stories/vol7-4-2003.pdf
หมายเลขบันทึก: 455392เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2011 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท