JJ2011V08_17 เคล็ดวิชาสร้างมาตรฐานและคุณภาพ


มาตรฐานและคุณภาพสร้างได้

       เอกสารประกอบการบรรยายพฤหัสหน้าที่ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มช

       การสร้างมาตรฐาน และ ข้อกำหนดมาตรฐานการบริการในโรงพยาบาล เป็นประเด็นที่ต้องอาศัย ความเป็นวิชาชีพ มืออาชีพ และการทำงานอย่างสหสาขาวิชาชีพ โดยเริ่มตั้งแต่ ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานที่คนทั่วไปในโลกยอมรับ ปรับมาเป็นมาตรฐานที่สอดรับกับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ท้องถิ่น และ วิชาชีพนั้นๆ

       เริ่มต้นของการสร้างมาตรฐาน ต้องย้อนกลับที่เริ่มต้นของคำจำกัดความว่า แปลว่า อะไร

       มาตรฐาน หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และ ได้รับ ความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ซึ่งเอกสารดังกล่าววางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติ หรือ ลักษณะเฉพาะแห่งกิจกรรม หรือ ผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนดที่วางไว้

       หากจะกล่าวเบื้องต้น คงต้องเริ่มตั้งแต่ มาตรฐานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับในชีวิตประจำวัน นับตั้งแต่ มาตรฐานในการจัดการกับตนเองตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน การตื่นนอน ดูแลร่างกาย ออกกำลังกายวันละสามสิบนาที การหาอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ การชำระล้าง ขับถ่าย การแต่งกายที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การทำงาน ตลอดจนการพักรับประมานอาหาร และ สุดท้ายการกลับยังที่พักอาศัย หลังเลิกการปฏิบัติงาน

       มาตรฐานของการทำงานวิชาชีพรังสีวิทยา ต้องเริ่มตั้งแต่ การทบทวนดูเป้าหมายแต่ละเรื่อง ว่ามาตรฐานที่กำหนดขึ้นมีเป้าหมายอะไร มาตรฐานนี้จะทำให้งานและระบบงานของเราดีขี้นอย่างไร  อะไรที่เราทำได้ดีที่เป็น Good Practice สมควรถอดบทเรียน นำไปเผยแพร่หาปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือ Key Success Factor คือ อะไร สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาในช่วงที่ได้รับการสั่งสอนมาจากโรงเรียนหรือสถาบันที่เราร่ำเรียนมาอย่างไร

       อะไรที่เป็นจุดอ่อนที่ทำให้งานไม่สำเร็จ และ เกิดอุบัติการณ์ หรือ ความเสี่ยง หรือไม่  หากมีเราได้ทบทวน หาสาเหตุแห่งปัญหา หรือ Route Cause Analysis แล้วเติมเต็มสมรรถนะที่ขาดไปอย่างไร การใช้ปัญญาไปแก้ไขปัญหา หรือ ลดช่องว่างที่เรียกว่า หา Gap Analysis สามารถพัฒนาสมรรถนะของเราให้ดีขึ้น นั่นหมายถึง มาตรฐานนั้นเป็นไปตามที่กำหนด

       ประเด็นทีสำคัญการทำงานได้มาตรฐานของวิชาชีพ อาจจะไม่ได้คุณภาพก็ได้ เพราะ คำว่าคุณภาพนั้น ต้องรวมถึงความพึงพอใจ ของทั้งผู้ให้ และ ผู้รับบริการ รวมทั้งความสอดคล้องกับองค์กรที่เราทำงานอยู่

       เคล็ดวิชาของการ บูรณาการให้มาตรฐาน เข้ากับคุณภาพ คือ กำหนดแล้วให้ “งานได้ผล ฅ ฅนมีสุข สนุกสร้างสรรค์ สร้างฝันให้เป็นจริง ตั้งใจแน่วแน่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

       กิจกรรม SHA ของสถาบันพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หรือ สรพ นำมาใช้เป็นการบูรณาการให้การทำงาน มีทั้งมาตรฐานและคุณภาพ โดย S นั้นหมายถึง Standard ที่หมายถึง คุณภาพในการทำงานประจำที่ขยายไปถึง เครื่องมือของการสร้ององค์กรเรียนรู้ ตั้งแต่การเตรียมตัวเข้า BAR คือ Before Action Review วันนี้เราจะทำอะไร มีคนไข้ หรือ ภารกิจอะไรที่ต้องปฏิบัติ สำรวจจนเองว่า KUSA ไหม คือ K ความรู้มีพอไหม U เข้าใจสิ่งที่จะกระทำไหม S ทักษะเรามีเพียงพอหรือไม่ A ทัศนคติต่อสิ่งที่รับผิดชอบเป็นอย่างไร

       ระหว่างการทำงานต้องใช้ S ที่สองมากำกับทุกขณะจิต คือ S Safety มีความปลอดภัยเพียงใด เคยนำอุบัติการณ์มาทบทวนหรือไม่ ยังมีความเสี่ยงหลงเหลืออีกหรือไม่ กิจกรรม DAR หรือ During Action Review จะช่วยกำกับให้เราได้ทบทวนการทำงานตลอดเวลา เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม หรือ สิ้นสุดหมดภารกิจประจำวันก็ใช้เครื่องมือ AAR และ ALR ประการแรก AAR คือ After Action Review คือ การเทียบกับเป้าหมายของกิจกรรม ว่าได้มาตรฐาน หรือไม่ หากได้ลองถอดบทเรียนดูปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือ Key Success Factor คือ อะไร เราจะประกันคุณภาพ หรือ ใช้อะไรมาประกันคุภาพไม่ให้ถดถอย หรือ เรียกว่ามี QA คือ Quality Assurance ไม่ให้คุณภาพถดถอย และที่สำคัญกว่านั้น คือ ทำอย่างไร มาตรฐาน และ คุณภาพในสิ่งที่เราทำดีขึ้น ที่เรียกว่า CQI หรือ Continuous Quality Improvement ซึ่งเคล็ดวิชา คือ ต้อง “ตั้งเป้า เฝ้าดู ปรับเปลี่ยน เรียนรู้ พัฒนา” เพื่อให้เกิด  S ตัวที่สามคือ Sustainable ยั่งยืน โดยสิ่งเหล่านี้ต้องคำนึง ถึงจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ คือ S Spirituality และ ความพอดีพอเพียง พอประมาณ หรือ Sufficiency หรือไม่

       สุดท้าย คือ กระบวนการ ALR หรือ After Learning Review ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน หรือ คุณภาพที่ได้ถึงเป้าหมาย หรือ เป็นที่พึงพอใจ เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง เราได้พัฒนา “ปัญญาปฏิบัติ” เพียงได เพราะท้ายสุด องค์ความรู้จะนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดปัญญา นำพาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนตลอดไป.....

JJ2011 ร่วมพลี ร่วมพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 454930เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2011 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

คุณภาพ และ มาตรฐาน คืองานของ Aj. JJ อีกแล้วนะคะ  **^_^**

สวัสดีครับท่านอาจารย์ jj โปดดูประโยคนี้ด้วยครับ ( สิ้นสุดหมดภารกิจประจำวันก็ใช้เครื่องมือ AAR และ ALR คือ After Action Review คือ การเทียบกับเป้าหมายของกิจกรรม) ด้วยความเคารพท่านอาจารย์ครับ

ต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ อย่างมากครับ

ผมเข้าใจแล้วครับ คือ ALR ผมสับสนอักษรตัว L ครับเพราะพบที่บันทึกอาจารย์เป็นครั้งแรก

ขอบอาจารย์ที่ให้การเรียนรู้

เรียนท่าชาดา แม่นแล้วท่าน

เรียนท่านผู้เฒ่า กราบขอบพระคุณครับ ใจเร็วไปหน่อย

เรียนท่านผู้เฒ่า ขอบพระคุณอีกครั้ง คนซี้ซี้กัน ต้องเตือนกันนิ นี่แหละ สังคมชาว G2K เมื่อไหร่ มอ เชิญ อีก น้อ อ้อ จะไป ทักษิณ ราวเดือนกันยา ตุลา  ครับ

กราบสวัสดี อ.หมอ.JJ...

๑. อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ(ใหม่)เลยค่ะว่ามาตรฐานอย่างเดียวไม่พอ คำว่าคุณภาพใจความกว้างจริง

๒. ขอบพระคุณอาจารย์นักวางแผนการทำงาน (ล่วงหน้าเป็นอาทิตย์เชียวนะคะ)

ด้วยความเคารพ

เรียนท่านกอไผ่ คุณภาพ ยังมีแถม QWL+QPS =Quality of Working Life + Quality of Product and Service หากงานดี แต่ชีวิตสับสน ก็ไปลำบากครับ

เรียนท่านวิชัย Personnel Scorecard ท่านกระจ่างหรือยังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท