ปิ๊งแว็บเข้าสู่อาเซียน


ขึ้นมา "ประชุมเครื่อข่ายประชาสัมพันธ์อุดมศึกษา : เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน" วันนี้ (19-8-2554) ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กทมฯ ฟัง รศ.พินิติ รตะนานุกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายหัวข้อ "ความพร้อมอุดมศึกษาไทยเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน"

เกิดความคิดแบบปิ่งแว๊บขึ้นมานั่นก็คือ ก่อนที่เราจะก้าวไปสู่อาเซียนนั้น เป็นไปได้ไหมที่เราจะหันมามองดู 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และบางส่วนของสงขลา

แทนที่จะก้าวข้าม 5 จังหวัดดังกล่าวไปเลย เพราะเราอาจจะมองข้าม "ต้นทุนทางสังคม ภาษา และวัฒนธรรม" ที่ 5 จังหวัดดังกล่าวครอบครองอยู่ เป็นต้นทุนที่เป็น "ส่วนเดียวกันหรือเนื้อเดียวกัน" ของอาเซียนที่อยู่กับไทยในปัจจุบัน แม้ว่าโดยนโยบายฯที่ผ่านมาผ่านมิติทางการศึกษาและอื่นๆเพื่อทำให้คนในส่วนนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับส่วนอื่นๆของไทย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างดีในระดับหนึ่ง แต่มันก็ได้บั่นทอนศักยภาพของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะ new generations ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจนในขณะนี้ก็คือ 

 

new generations ดังกล่าวมีความแปลกแยกออกจาก "อาเซียน" เพราะไม่สามารถฟัง พูด อ่าน และสื่อสารกับ "ประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียนได้เหมือนกับในอดีต เพราะ new generations จำนวนมากที่เริ่มจะไม่เข้าใจภาษา "มลายู" ที่เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา สิงคโปร์  หรือแม้แต่ในเวียตนาม (ในปีการศึกษา 2554 นี่มี น.ศ. จากเวียตนามมาเรียนที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 1 คน เชื่อไหมครับว่า เราสื่อสารพูดคุยกันด้วยภาษามลายู ทราบจากนักศึกษาเวียตนามว่าภาษามลายูเป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่ใช้ในการเรียนศาสนา นอกเหนือจากภาษาอาหรับ)

 

และที่น่ากลัวก็คือ ภาษาไทยเองที่โดยนโยบายฯต้องการให้new generations ใน พ.ท. ดังกล่าวสามารถอ่านออกเขียนได้ และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ ก็กลับพบว่าnew generations ในพื้นที่ดังกล่าวก็สื่อสารด้วยภาษาไทยได้แย่ลงเรื่อยๆ

ส่วนภาษาอังกฤษซึ่งจะกลายเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของประชาคมอาเซียนนั่นไม่ต้องพูดถึง นี่ก็ได้ข่าวว่า บางโรงเรียนในระดับขั้นพื้นฐานสอนวิชาภาษาอังกฤษเพียงสัปดาห์ละ 1 คาบเอง ซึ่งดูจะสวนทางกับนโยบายเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนนะครับ และหากว่า เพื่อจะเอาเวลาดังกล่าวไปสอนภาษาไทยที่เด็กอ่อน แล้วค่อยไปเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจังและเต็มที่ในช่วงมัธยมละก็ น่าจะเป็นวิธีอาจจะสายเกินไปในความคิดของผม เพราะการเรียน "ภาษา" หากเรียนเมื่ออายุมากจะเรียนได้ยากกว่าเมื่อเริ่มเรียนตอนอายุน้อยๆ  

อีกอย่างปัจจัยด้านสื่อสารมวลชน อย่างในมาเลเซียมีทีวีหลายภาษา ทั้งมาเลย์ อังกฤษ ภาษาจีน ภาษาทมิฬ ภาษาอาหรับ ซึ่งความหลากหลายดังกล่าวล้วนแล้วแต่เอื้อต่อเด็กๆในการรับรู้และซึมซับศัพท์ภาษาต่างๆโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่ของไทยมีเพียงภาษาไทยภาษาเดียว

หมายเลขบันทึก: 454873เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2011 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 เพราะการเรียน "ภาษา" หากเรียนเมื่ออายุมากจะเรียนได้ยากกว่าเมื่อเริ่มเรียนตอนอายุน้อยๆ  

อันนี้เห็นด้วยเต็มๆ เลยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท