เทคนิคการบริหารความเสี่ยง


เทคนิคการบริหารความเสี่ยง

                                           

          การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม การดำเนินการต่างๆ ที่จะลดเหตุของโอกาสที่จะก่อให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการเพื่อลดระดับของความเสี่ยงและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ความคุมได้ และมีการตรวจสอบได้ หรือ อีกนัยความหมายหนึ่ง คือ เหตุการณ์

การกระทำใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอน และส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายทั้งเป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน หรือก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายของแผนงาน

โครงการที่ระบุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของราชการสำหรับสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน ซึ่งเป็นสำนักฯ ใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชนที่แยกมาจากสำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เมื่อเดือน พฤษภาคม 2552 ซึ่งสำนักพัฒนาทุน จะต้องดำเนินการบริหาร ความเสี่ยงของกิจกรรม

โครงการของสำนักฯ ให้ประสบผลความสำเร็จตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ของสำนักฯ ไว้ ในการที่จะดำเนินกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงนั้น ผู้ดำเนินการจะต้องยึดแนวทางและหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือ PMQA ระดับพื้นฐานหมวด 2“การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์”SP๗ ผู้ดำเนินการจะต้องวิเคราะห์และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSOเพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินแผนงาน/โครงการ และจะต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลด้วย

 กลยุทธ์ในการทำงาน

การดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงหากจะให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้

๑.วางแนวทางการบูรณาการการบริหารความเสี่ยง

๒.ทบทวนการดำเนินการบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณที่ผ่านมา

๓. ประมวลตัวชี้วัดและโครงการประจำปีงบประมาณที่ดำเนินการ

๔.กำหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินความเสี่ยง

๕. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาตัวชี้วัดสำคัญ

๖. ประเมินค่าตัวชี้วัดสำคัญ

๗. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาตัวชี้วัดสำคัญ

๘. ประเมินค่าโครงการสำคัญที่สอดคล้องกับโครงการที่มีความเสี่ยงภายใต้แนวทางการตรวจราชการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และสอดคล้องกับตัวชี้วัดสำคัญ

๙. วิเคราะห์โครงการสำคัญเพื่อระบุความเสี่ยงตามหลักธรรมมาภิบาล

๑๐. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินปัจจัยเสี่ยง

๑๑. ประเมินค่าปัจจัยเสี่ยง

๑๒. จัดทำแผนภูมิความเสี่ยง

๑๓. กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการจัดการความเสี่ยง ระดับโครงการ

๑๔. วางแผน/กำหนดกิจกรรมเพื่อจัดการความเสี่ยงฯ ระดับโครงการ

๑๕. วิเคราะห์จำแนกประเภทความเสี่ยง S – O – F – C ระดับองค์กร

๑๖. กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการจัดการความเสี่ยง ระดับองค์กร

๑๗. วางแผน/กำหนดกิจกรรมเพื่อจัดการความเสี่ยง ระดับองค์กร

๑๘. ยกร่างแผนบริหารความเสี่ยง

๑๙. เสนอขอความเห็นชอบแผนบริหารความเสี่ยต่อ ผอ. สำนัก

๒๐. ประกาศนโยบายการบริหารความเสี่ยง สื่อสารสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนกิจกรรม ของสำนัก

๒๑. จัดการฐานข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

๒๒. ประเมินผลและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานแจ้งให้ ผอ.สำนักฯ และผู้รับผิดชอบได้รับทราบ

 

ข้อพึงควรระวัง

     ๑.จัดตั้งคณะทำงานฯ เพื่อรับผิดชอบ โดยศึกษารายละเอียดโครงการที่จะดำเนินการในแต่ละปีว่าแต่ละโครงการมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างไรเพื่อที่จะได้วางแผนการกำจัดความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

     ๒.ประสานงานกับหน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน

     ๓.ให้ จนท.ทุกคนของสำนักได้ร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน

     ๔.เสนอให้ผู้อำนวยการสำนักฯ ติดตามการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด

 ขุมความรู้

     ๑. ศึกษาทบทวนการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ผ่านมา

     ๒. ประสานงานกับกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มงานฯ ที่กิจกรรมจะต้องจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

     ๓. ศึกษาวิธีการ และข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง

     ๔. ทบทวนขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรม/โครงการที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

http://kmcdd.ecgates.com/kmblog/other_diary_post_display.php?diaryid=1267&userid=496

หมายเลขบันทึก: 454217เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท