โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

อบรมหลักสูตร "ป.โท ผู้บริหารปฐมภูมิ..ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ตอนที่ 3.2คิดเชิงบวก บริหารเชิงบวก (คุณบุญเกียรติ โชควัฒนา)


“ยิ้มได้ มีสติ สถานทุกอย่าง under control และผมอยู่ตรงนี้”

ต่อจากตอนที่แล้ว อบรมหลักสูตร "ป.โท ผู้บริหารปฐมภูมิ..ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ตอนที่ 3.1คิดเชิงบวกคุณบุญเกียรติ โชควัฒนา(คิดเชิงบวกเป็นอย่างไร?) คราวนี้เรามาดูกันว่าบริหารเชิงบวกเป้นอย่างไร

“คำที่ห้ามพูด คือ กลัว, ปัญหา, เสียดาย, ไม่เข้าใจ” เป็นวิธีง่ายๆ ที่คุณบุญเกียรติ ใช้สื่อให้คนในองค์กรคิดถึงวิธีการพูดบวกเพื่อนำมาซึ่งการคิดบวกได้ คนไทยในความเห็นอาจารย์มองว่า เต็มไปด้วยความกลัวเต็มไปหมด ท่านพยายามเน้นการคิดบวกในองค์กรหาจุดดีบ่อยๆ ใช้จนชำนาญ

นักยุทธศาสตร์

“การตั้งเป้าหมายต้องคิดว่าจะชนะ ถึงจะมีกลยุทธ์” นี่เป็นวิธีคิดที่เห็นได้ว่านำองค์กรแบบเชิงบวกตั้งเป้าหมายที่อยากเห็น

“ตั้งคำถามตัวเองว่าจะทำอะไรบ้างกี่อย่าง”  เมื่อได้เป้าหมายที่ชัด กลยุทธ์ต้องตรงและหลากหลาย คิดทีละเรื่องทำทีละหลายอย่าง (single aim,  multiple strategies)

การทำทีละหลายเรื่องเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวได้ต้องมีเครื่องมือ และเครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือ “คน” อาจารย์ถูกถามเรื่องบริหารองค์กรคนเป็นพันๆ ได้ยังไง คำตอบง่ายๆแต่ได้ประเด็นคือ “จริงๆ บริหารหัวหน้าเขาก็พอ” การสร้างคนระดับรองให้มีความรู้ความสามารถมากเท่ากับเราหรือมากกว่าเรา จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กร พยายามนำจุดเด่นของลูกน้องขึ้นมาเป็นผลงานและ เมื่อเขาพบตัวเอง เขาจะพัฒนาตัวเอง สุดท้ายจะนำมาสู่การพัฒนาองค์กร ตรงกับในหนังสือของท่านที่ว่า

“ทำงานใหญ่ต้องไว้ใจคน” พยายามอย่างไปแย่งสิ่งที่ลูกน้องทำได้อยู่แล้ว เวลาประสบความสำเร็จขอให้เป้นเรื่องของลูกน้องที่จะรับผลแห่งความสำเร็จ แต่เมื่อใดที่มีปัญหา “ยิ้มได้ มีสติ สถานทุกอย่าง under control และผมอยู่ตรงนี้” คำพูดบนเวทีงานมหกรรมสุขภาพภาคเหนือที่แสดงถึงภาวะผู้นำอย่างเต็มเปี่ยม

มีคำถามเกี่ยวกับการปรับทัศนคติคนในองค์กรทำอย่างไรโดยเฉพาะเมื่อเจอคน “คิดลบครบสูตร”

ท่านตอบชัดว่า แก้ที่หัวหน้าองค์กร ถามตัวเองว่าถ้าเราเป็นเขาในสถานการณ์นั้นเราจะทำได้ดีเท่าเขาหรือไม่ และใช้ธรรมะให้มากโดยเฉพาะพรหมวิหารสี่ มีเมตตาให้มาก เมื่อถึงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขเขาได้ให้วางใจเป็นอุเบกขา แต่ก็ยังต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป คนก็เหมือนบัวที่มีหลายเหล่าเราต้องเลือกวิธีสอนที่เหมาะกับบุคคล ท่านอธิบายวิธีสื่อสารเวลาที่ลูกน้องทำผิดพลาดโดย

"ไม่ต้องย้ำจุดผิด จงมีวิธีแนะนำที่ถูก (appropriate reflection and proper guidance  reflection) ให้โอกาสคน (ลดอัตตา) เปิดใจและให้เกียรติ เลือกวิธีสอนที่เหมาะกับบุคคล”

ความสำคัญของข้อมูลก็แค่จุดเริ่มต้น

หลายองค์กร รอข้อมูลอาจารย์บุญเกียรติกล่าวว่า “ยิ่งคนเรียนสูงยิ่งทำงานได้ช้าลง...การใช้ข้อมูลต้องเลือกว่าจะใช้เมื่อไหร่...อะไรที่ไม่ต้องรู้ข้อมูลแต่รู้จริง เกิดปัญญาก็ทำเลย...การริเริ่มสิ่งใหม่ ต้องตั้งคำถามจากศูนย์ สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนจะมีข้อมูลได้อย่างไร!”

อาจารย์ภูดิท เสริมประเด็นนี้ว่า “Feasibility come from sense making” การที่จะทำอะไรได้สำเร็จหลายครั้งเกิดจากการ “ใช้ความรู้สึกว่าใช่” หรือที่เรียกว่า “Intuition หรือ ยานทัศนะ” สิ่งนี้อาจสอนกันไม่ได้แต่ชี้แนะกันได้ตรงกับที่อาจารย์กระแส ชนะวงศ์กล่าวในปาฐกถาปิดการประชุมมหกรรมสุขภาพภาคเหนือ

อีกทั้งตรงกับอาจารย์อมร กล่าวว่า “จะมีสิ่งนี้ได้ต้องหัดไปนั่งสมาธิกันบ่อย ๆ”

ในหนังสือของท่านพูดถึงข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจว่า “ข้อมูลเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นกระบวนการ”

กระบวนการคิดครบวงจรคือ “ข้อมูล การสังเกต ความรู้สึก การประเมิน การตัดสินใจ การสรุป การสร้างสรรค์ และการปฏิบัติ”

เอกสารอ้างอิง

บุญเกียรติ โชควัฒนา. หลักคิด และปรัชญาการทำงาน Principle of thought and working philosophy. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ :ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด; 2554

 

หมายเลขบันทึก: 453842เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท