การผลิตปุ๋ยหมัก


ปุ๋ยหมัก

สารเร่ง  พด.1 

                          สารเร่ง  พด. 1 หรือ กรมพัฒนาที่ดิน  1  ซึ่งเป็นสารเร่งจุลินทรีย์สูตรแรกของกรมพัฒนาที่ดินใช้เป็นสารเร่งการทำปุ๋ยหมักระยะการหมักการย่อยสลายของกองปุ๋ยหมักใช้ระยะเวลาประมาณ  30 – 45 วัน ถ้ารักษาความชื้นภายในกองที่พอเหมาะไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป ตลอดทั้งควรกลับกองเป็นระยะเพื่อระบายความร้อนภายในกอง และเพื่อให้จุลินทรีย์บางชนิดภายในกองต้องการอากาศ   วัสดุที่ชุมชนของกระผมใช้ทำ   เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด, ต้นข้าวโพด ปุ๋ยคอกจะใช้มูลวัวและมูลไก่

        ส่วนผสม:  เศษพืช 1 ตัน + มูลสัตว์ 200 กก. + ยูเรีย 2 กก. + โดโลไมล์ 50 กก. สารเร่ง พด. 1  1ซอง

 
  การนำไปใช้ประโยชน์   ดินร่วนซุย  ปรับ PH, ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
  1. 1.ใช้ปรับปรุงบำรุงดิน  ทั้งไม้ผล , พืชไร่ , พืชผัก  และไม้ดอก           1.1  ใส่ทุกระยะ  หรือก่อนเพาะปลูกพืช

         1.2  ไม้ผล  ใส่รอบทรงพุ่มประมาณ  20-50  กก. / ต้น

         1.3  พืชผัก , พืชไร่  หว่านทั่วแปลงในระยะเตรียมดินก่อนเพาะปลูก

                  ประโยชน์เป็นการปรับสภาพดินให้ค่า Ph ที่เหมาะสม   โดยปกติทั่วไปแล้วในดินถ้าใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปหรือไม่ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักเข้าร่วม จะทำให้ดินนั้นเป็นกรด รากพืชนั้นไม่สามารถดูดธาตุอาหารต่างๆ ในดินได้ถ้าหากเราใช้ปุ๋ยหมักประมาณครั้งหรือสองครั้ง เชื้อจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักจะสลายเม็ดดินที่จับตัวเป็นก้อน ทำให้ดินร่วนซุย การซึมของน้ำได้ดี

                  จากการทดลองการใช้ปุ๋ยหมักกับต้นลำไยที่มีลักษณะใบเหลือง , เหี่ยว   ดินใต้ต้นแข็ง   นำปุ๋ยหมักใส่รอบทรงพุ่ม  ใช้จอบสับเป็นระยะ  อัตราการใส่ปุ๋ยเป็นประมาณ  20 -50 กก.   รดน้ำให้ชุ่ม  รดประมาณ   5-7  

วัน  / ครั้ง  หรือให้ดินชื้นตลอด  ใช้เวลาประมาณ  3สัปดาห์  ใบที่เหลืองเหี่ยวกลับสภาพเป็นสีเขียวใบแต่ง  

                  สรุปแล้วว่าปุ๋ยหมักสามารถย่อยสลายดินแข็งกระด้างให้ร่วนซุย  อุ้มน้ำดี   ทำให้พืชนั้นหรือรากดูดหาอาหารได้ปกติ   และอีกข้อหนึ่ง   ปุ๋ยหมักสลายปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดินให้รากพืชดูดไปใช้ได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี

            2. การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผล ( ลำไย )

                 2.1  ใส่ในระยะหลังการตัดแต่งกิ่ง  โดยนำปุ๋ยหมักที่หมักเสร็จแล้วอัตราส่วน  2: 1:1 คือใช้ปุ๋ยหมัก   2  ส่วน  ผสมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15    1 ส่วน  และปุ๋ยสูตร  46-0 – 0     1 ส่วน นำส่วนผสมมาคลุกให้เข้ากัน   ใส่รอบทรงพุ่มต้นไม้จำนวน   1-2 กก. / ต้น  เหตุผลการนำปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยเคมีเพราะป้องกันไม่ให้ดินเป็นกรดในดิน   การย่อยสลายปุ๋ยเคมีในดินดีขึ้น  สูตรนี้ใช้สำหรับเกษตรกรต้องการเร่งยอดและผลให้เร็วกว่าปกติ

                   2.2   ใส่ทั้งระยะการเจริญเติบโตของผล , ใบ  จะทำให้ผล หรือใบใหญ่  เนื่องจากรากสามารถดูดธาตุอาหารได้ดี

            3. การใช้ปุ๋ยหมักลงในบ่อเลี้ยงปลา  ปรับสภาพน้ำ

                        บ่อเลี้ยงปลาที่มีน้ำสกปรก   ขุ่น  ก็สามารถใช้ปุ๋ยหมักลงในบ่อเลี้ยงปลา  เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในน้ำ ทำให้บ่อน้ำใสเขียวสะอาดอีกทั้งเป็นอาหารปลาได้

  วิธีการใส่      นำปุ๋ยหมักใส่รอบขอบอ่าง  หรือหว่านตรงกลางก็ได้

                 4. ใช้ผสมเชื้อเพาะเห็ดฟาง

                       ทำให้เพิ่มธาตุอาหารของเชื้อเห็ด  ทำให้เห็ดอวบใหญ่   น้ำหนักดี 

คำสำคัญ (Tags): #ปุ๋ยหมัก
หมายเลขบันทึก: 453741เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท