หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a42 : ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ธรรมชาติ.....สอนวิทยาศาสตร์และชีววิทยาให้นะเออ


ข้อต่างของระบบบำบัดทั้งใช้อากาศและไม่ใช้อากาศ เป็นความรู้ที่ให้มุมคิดของการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่าง “บ่อ” กับต้นแหล่งน้ำเสีย สนใจไว้เหอะน่า...ได้ใช้แน่ๆสำหรับทุกบ้าน

การบำบัดน้ำในขั้นตอนระดับสูงที่ไปเกี่ยวกับฟอสฟอรัส และไนโตรเจนมีทั้งกระบวนการทางเคมีและกระบวนการทางชีวภาพเป็นทางเลือก

การเกิดปรากฏการณ์แอลจีบลูมที่คูรับน้ำทิ้งจากไตเทียมส่งสัญญาณว่ามีกระบวนการเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนเตรท และ pH ที่เปลี่ยนไปในยามเย็นที่ลดลงเมื่อเทียบกับยามเช้าบอกว่ามีกระบวนการเปลี่ยนไนเตรทให้เป็นไนโตรเจนและปล่อยออกสู่อากาศในตอนกลางคืนด้วย

แอลจีบลูมที่เกิดขึ้น ยังบอกถึงการมีฟอสฟอรัสอยู่ในน้ำสูง สาหร่ายได้ฟอสฟอรัสใช้อย่างฟุ่มเฟือยจึงเจริญเติบโตมาก

อย่างนั้นที่ใส่ปูนขาวและลูกบอลน้ำหมักผ่านพ้นมากว่าเดือนก็เป็นการจัดการน้ำขั้นสูงไปอย่างไม่ได้ตั้งใจซิ

ในระบบบำบัดน้ำเสียมีหลักการบำบัดกากตะกอนหรือสลัดจ์ (Sludge Treatment) ให้เลือกอยู่ 3 แบบ คือ

ลดปริมาณโดย ทำให้ข้นในถังข้นที่มีกลไกทำให้สลัดจ์ตกตะกอนและลอยตัว

ลดปริมาณโดยย่อยด้วยกระบวนการใช้อากาศ หรือ กระบวนการไร้อากาศ ทำให้สลัดจ์คงตัวไม่เน่าเหม็นเมื่อนำไปทิ้ง

ปรับสภาพให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้เหมาะสม เช่น ทำปุ๋ย ปรับสภาพดินสำหรับใช้ทางการเกษตร

ลดปริมาณโดยการรีดน้ำด้วยวิธีสุญญากาศ อัดกรอง ตากแห้ง หรือหมุนเหวี่ยง ก่อนนำไปฝังกลบ เผา หรือใช้ประโยชน์อื่น

อย่างนี้การบำบัดน้ำตรงไตเทียมก็ได้ข้อสรุปเกือบทั้งหมดแล้ว เมื่อไรได้คำตอบเรื่องการตายของปลา และปริมาณแอมโมเนียที่ค้างในบ่อ ปัญหาเรื่องวิธีบำบัดน้ำของบ่อนี้ก็มีทางออกแล้ว

ขั้นต่อไปก็เหลือแต่การเติมคลอรีนเพื่อจัดการกับเชื้อโรคและแอมโมเนียในน้ำ ตรงนี้ถ้ายังคงค้าง จะทำตรงนี้หรือทำที่บ่อบำบัดใหญ่ปลายทางที่น้ำไหลไปรวมอยู่ก็เป็นเรื่องต้องตัดสินใจอีกขั้น

กลับไปดูคูเจ้าปัญหาว่าจะทำอย่างไรต่อไป  สำรวจพื้นที่ใหม่ก็พบร่องรอยของบ่อเกรอะที่ยังมีการใช้งาน  จึงกลับมาค้นหาว่าบ่อเกรอะทำงานยังไง

รู้จักบ่อเกรอะจึงเข้าใจขึ้น น้ำในคูเจ้าปัญหาที่รับอุนจิลงมาถ้ามีบ่อเกรอะรองรับไว้ บ่อเกรอะจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้ราวร้อยละ 40 - 60 ช่วยบำบัดขั้นแรกเท่านั้น ยังต้องบำบัดต่อในขั้นสอง

ไม่ใช้บ่อเดียวแต่เป็น 2 บ่อ บ่อแรกป้องกันตะกอนลอย (ฝ้าไข: Scum)และตะกอนจมไม่ให้ไหลต่อไปยังบ่อที่สอง มีแผ่นขวางหรือสามทางรูปตัวติดตั้งอยู่เพื่อการนี้

ลักษณะที่เป็นบ่อปิด น้ำซึมไม่ได้และไม่มีการเติมอากาศ ทำให้ภายในบ่อเกรอะไร้อากาศ (Anaerobic)  กากตะกอนหลังย่อยเกิดขึ้นราว 1 ลิตร/คน/วัน

ถ้ามีกรดหรือด่างเข้มข้น น้ำยาล้างห้องน้ำเข้มข้น คลอรีนเข้มข้น ไหลลงในบ่อเกรอะ ประสิทธิภาพในการทำงานของบ่อจะลดลงไปอีก

ถ้าปรับให้ภายในช่วงกลางของบ่อมีชั้นตัวกลาง เช่น หิน หลอดพลาสติก ลูกบอลพลาสติก กรงพลาสติก และวัสดุโปร่งอื่นๆ เพื่อให้มีพื้นที่ผิวสำหรับจุลินทรีย์ยึดเกาะได้มากขึ้น ปรับการไหลเข้าของน้ำเสียจากที่เข้าทางด้านบนเป็นด้านล่าง ให้น้ำเอ่อผ่านตัวกลางแล้วไหลออกทางท่อด้านบน สภาพภายในบ่อก็คือ ถังกรองแบบไร้อากาศดีๆนี่เอง  น้ำทิ้งที่ไหลล้นออกจะมีคุณภาพน้ำที่ดีกว่าบ่อเดิม

ในบ่อซึ่งเดิมไม่มีส่วนกักและกรองสารแขวนลอยขนาดใหญ่ออกจากน้ำเสีย ปรับเพิ่มให้มีตะแกรงดักขยะและบ่อดักไขมันได้ ใช้งานไปแล้วเกิดตัน ให้ใช้การฉีดน้ำสะอาดเข้าไปทางบนและระบายน้ำส่วนล่างออกไป ทำพร้อมๆกัน

เมื่อมีน้ำไหลออกเร็วกว่าปกติและมีตะกอนติดออกมาด้วย มันบอกถึงความน่าจะเป็นว่ามีก๊าซสะสมภายในบ่อแล้วดันทะลุตัวกลางขึ้นมาเป็นช่อง วิธีแก้ไขที่ใช้ได้ก็เป็นการฉีดน้ำล้างตัวกลางเช่นเดียวกัน

การย่อยสลายแบบใช้อากาศให้น้ำทิ้งที่มีคุณภาพดีกว่าแบบไม่ใช้อากาศตรงที่มีสารที่ต้องการออกซิเจนเหลืออยู่ในน้ำทิ้ง ประมาณ 10 % ของสารอินทรีย์ตั้งต้น ตะกอนส่วนเกินอยู่ในรูปของมวลชีวภาพของจุลินทรีย์ ซึ่งยังต้องบำบัดเพิ่ม

ระบบที่ไม่ใช้อากาศ มีปริมาณของแข็งและสารที่ต้องการออกซิเจนเหลืออยู่ในน้ำทิ้ง ประมาณ 30 % ของสารอินทรีย์ตั้งต้น ตะกอนส่วนเกินน้อยกว่าและมีความเสถียร (more stable) กว่ากระบวนการใช้อากาศ และให้มีเทนซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิง และแหล่งพลังงานได้

ข้อต่างของระบบบำบัดทั้งใช้อากาศและไม่ใช้อากาศที่ได้รู้เพิ่มมานี้ ช่วยให้เห็นมุมที่จะใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่าง “บ่อ” กับต้นแหล่งน้ำเสียที่คูเจ้าปัญหาเกี่ยวข้องขึ้นมารำไร

หมายเลขบันทึก: 453439เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2011 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Hi Doctor,

"...รู้จักบ่อเกรอะจึงเข้าใจขึ้น น้ำในคูเจ้าปัญหาที่รับอุนจิลงมาถ้ามีบ่อเกรอะรองรับไว้ บ่อเกรอะจะช่วยบำบัดน้ำเสียได้ราวร้อยละ 40 - 60 ช่วยบำบัดขั้นแรกเท่านั้น ยังต้องบำบัดต่อในขั้นสอง...ไม่ใช้บ่อเดียวแต่เป็น 2 บ่อ บ่อแรกป้องกันตะกอนลอย (ฝ้าไข: Scum)และตะกอนจมไม่ให้ไหลต่อไปยังบ่อที่สอง มีแผ่นขวางหรือสามทางรูปตัวติดตั้งอยู่เพื่อการนี้ ...

ลักษณะที่เป็นบ่อปิด น้ำซึมไม่ได้และไม่มีการเติมอากาศ ทำให้ภายในบ่อเกรอะไร้อากาศ (Anaerobic) กากตะกอนหลังย่อยเกิดขึ้นราว 1 ลิตร/คน/วัน...ถ้ามีกรดหรือด่างเข้มข้น น้ำยาล้างห้องน้ำเข้มข้น คลอรีนเข้มข้น ไหลลงในบ่อเกรอะ ประสิทธิภาพในการทำงานของบ่อจะลดลงไปอีก..."

I have two rest ponds to trap scum and debris before letting water into the main dam. I have to make oily deposit into soap (with lime) and dig out the scum and debris frequently. Amazing how much oil can get washed from the roads into dams. Some time a flood or a high intensity rain would push everything from the rest ponds into the main dam.

I wonder how you would deal with maintenance of the rest pond and what get deposited in rest pond. Some deposits may be hazardous.

The work is never done!

;-)

น้อมมะลิพุ่มดอกไม้ไว้เหนือเศียร
ต่างธูปเทียนบูชาไท้มไหศวรรย์
ทรงพระชนม์พ้นกาลนานนิรันดร์
เป็นมิ่งขวัญทั่วแดนในแผ่นดิน

  • คุณ sr ค่ะ
  • ในพื้นที่ที่ลงไปทำงานอยู่
  • มีบ่อเกรอะที่ไม่ใช้แล้วอยู่บ่อหนึ่ง
  • ไปเห็นมาก็เลยสงสัยว่า
  • เมื่อก่อนเขาใช้มันทำอะไร
  • ทำไมจึงเลิกใช้
  • และวันนี้บ่อนี้ถูกทิ้งไว้ว่างๆ
  • ทำให้พื้นที่ส่วนหนึ่งเสียไปเฉยๆ
  • ก็ไปดูว่าจะใช้ประโยชน์ต่ออะไรได้บ้าง
  • เท่านั้นเองค่ะ
  • ......
  • เรื่องที่คุณเล่าสะกิดใจหมอ
  • วันก่อนโน้นที่กระบี่เกิดอุทกภัย
  • น้ำท่วมบ้านชาวบ้านในเขตที่ดูแล
  • และในเขตต่างอำเภอ
  • ไปดูพื้นที่แล้วก็เห็นภาพการคลุกคลีกับน้ำเสีย
  • ที่ไหลบ่าลงมาหาของบ้านล่างๆลงมา
  • เหมือนกันเลยค่ะ
  • .......
  • ขอบคุณค่ะ.....สำหรับความห่วงใย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท