เมื่อมีผู้นำก็ต้องมีผู้ตาม


เมื่อมีผู้นำก็ต้องมีผู้ตาม

เมื่อมีผู้นำก็ต้องมีผู้ตาม

ความหมายของผู้ตาม(FOLLOWERS)และภาวะผู้ตาม(FOLLOWSHIP)
                ผู้ตาม และภาวะผู้ตาม หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์
                แบบของภาวะผู้ตาม(STYLE OF FOLLOWSHIP)เคลลี่(KELLEY)ได้แบ่งประเภทของผู้ตามโดยใช้เกณฑ์ 2 มิติ ดังนี้
                มิติที่ 1 คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง ความอิสระ(INDEPENDENT)(การพึ่งพาตนเอง) และความคิดสังสรรค์ (UNCRITICAL THINKING) ไม่อิสระ(พึ่งพาผู้อื่น)(DEPENDENT) และขาดความคิดสร้างสรรค์ (UNCRITICAL)พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็นอิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอวิธีการใหมอยู่เสมอส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริเริม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการไตรตรอง
                มิติที่ 2 คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง “ความกระตือรือร้น (ACTIVE BEHAVIOR)กับความเฉื่อยชา(PASSIVE BEHAVIOR)

 คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบมีดังนี้
                1) ผู้ตามแบบห่างเหิน ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชา แต่มีความเป็นอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมาก เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน
                2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์
                3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
                4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง

ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล ดังนี้
5.1 มีความสามรถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี
5.2 มีความผูกพันธ์ต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์
5.3 ทำงานเต็มศักยภาพ และสุดความสามารถ
5.4 มีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ

การพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตาม
การพัฒนาลักษณะนิสัยตนเองให้เป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงมี 7 ประการคือ
1) ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROATIVE) หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง
2) เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ (BEGIN WITH THE END IN MIND)
3) ลงมือทำสิ่งแรกก่อน (PUT FIRST THINGS FIRST)
4) คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย (THINK WIN-WIN)
5) เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (SEEK FIRST TO UNDERSTAND, THEN TO BE UNDERSTOOD)
6) การรวมพลัง (SYNERGY) หรือ ทำงานเป็นทีม (TEAM WORK)
7) ลับเลื่อยให้คม (SHARPEN THE SAW) คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แนวทางส่งเสริม และพัฒนาผุ้ตามให้มีคุณลักษณะผู้ตามที่มีวัตถุประสงค์
1) การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม
2) การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย
3) การให้ความรู้ และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน
4) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง
5) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
6) ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ
7) ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน
8) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผุ้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

ที่มา:สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

หมายเลขบันทึก: 453156เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2011 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I would say the reverse "A person is a leader if and only if there is at least one follower" is more 'true'.

To describe the characters of 'good' followers is somewhat an inverted psychology.

Perhaps, we have been searching for a 'good' leader (to follow) for too long.

[I personally think we have already many 'true' leaders in Thailand and a few (hundreds) 'money-power' mongers.]

["...ที่มา:สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์... ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROACTIVE)..."

Perhaps, followers should point to errors so leaders can improve themselves ;-) ]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท