AI_สุนทรียสาธก(Appreciative Inquiry)กับประชาธิปไตยความสุขที่บ้านเลือก



เวทีเปลี่ยนเรียนรู้ในหลักสูตรการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนา “เปลี่ยนทุกข์ และความหวังเป็นข้อมูล” ที่จัดโดย  มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2554 ที่สวนศิลป์บ้านดิน   ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม    จังหวัดราชบุรี

 

                       

ภาคบ่ายวันที่ 6 สิงหาคม 2554 เครือข่ายภาคีการพัฒนาภาคประชาสังคม มาแลกเปลี่ยนประสบกา​รณ์ การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดคว​ามสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น   กับขบวนชุมชนและท้องถิ่น ตำบลบ้านเลือก​ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี   ที่หอวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านเลือก​  ที่วัดโบสถ์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ครับ

 

            

 

ส่วนภาคกลางคืน(6 ส.ค54)  จัดเวทีในรูปแบบ  Dialoque : สุนทรียสนทนากับเวทีภาคีเครือข่ายภาคประชาสั​งคม ครับ  ในเวทีแลกเปลี่ยน  ผู้เข้าร่วมเวทีสนใจการประยุกต์ใช้หลักสุนท​รียสาธก หรือ Appreciative Inquiry (Cooperrider, Whitney and Stavros)มาในการเอื้ออำนวยการจั​ดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน​ท้องถิ่น กรณีชุมชนบ้านเลือก ราชบุรีครับ

 

               

 

ผมนึกย้อนถึงตอนที่เริ่มให้คำปรึกษาการจัดทำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดการพัฒนาความสุขมวลรวมของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกเมื่อช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นอกจากการปรึกษาหารือในเรื่องสนับการจัดทำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสุขชุมชน  การวางแผนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัด แล้ว  ผมคิดว่าขั้นตอนการสำรวจสิ่งที่ดีๆหรือสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของคนในชุมชนและการค้นหาประวัติศาสตร์ของชุมชนเป็นขั้นตอนที่สำคัญ  เป็นกระบวนการที่ทำให้คณะทำงานมีอะไรบางอย่างที่เป็นสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน  เกิดการตระหนักในคุณค่าแห่งพวกตน จนสรุปเป็นเอกลักษณ์หรือ อัตลักษณ์ของชุมชนผ่านเรื่องเล่า  เป็นตำนานของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ      นี่เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าที่เป็นตำนานที่สะท้อนอัตลักษณ์ของคนบ้านเลือก

 

 

              

 

ครับ การค้นหาความดีด้วยความชื่นชม เป็นส่วนหนึ่งของ "กระบวนการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น" เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในช่วงแรกๆเลยครับ เป็นสร้างความเชื่อมั่นในพลังของชุมชนตนเองว่าเราก็มีอะไรดีๆครับ 

ใน ขั้นตอนนี้   ผมประยุกต์ใช้หลักการ “กระบวนการค้นหาความดีด้วยความชื่นชม”ครับ  หรือเรียกว่า Appreciative Inquiry (AI_สุนทรียสาธกหรือสุนทรียปรัศนี) ครับ    เครื่องมือนี้เป็นกระบวนการที่พัฒนาขึ้นโดย David L. Cooperrider   ทั้งนี้ หลักการของ  AI _สุนทรียสาธก  มีหลักการสำคัญ  คือ

  • AI เป็นมุมมองขั้นพื้นฐานถึงธรรมชาติของมนุษย์ เราคือใคร มี่ที่มาอย่างไร พวกเรามีคุณค่า มีความหมาย และมีความสำคัญอย่างไร
  • AI เป็นกระบวนการให้การยอมรับเชื่อมั่นว่าตัวเรา  ชุมชนเรา บรรพบุรุษของเรา ว่ามีอะไรพวกเราหรือบรรพบุรุษได้ทำสิ่งที่ดีๆไว้  และมีความสามารถที่เคยทำบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่าไว้  แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆก็ตาม
  • AI เริ่มจาก  “การค้นพบเล็กๆ”  และ  “ฝันเล็ก”  แต่เป็นการชื่นชมที่ยิ่งใหญ่ ครับ

การจัดทำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดการพัฒนาความสุขมวลรวมของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก ได้มีการถ่ายทำสารคดี ว่าด้วยเรื่องนี้ ชื่อ  "ประชาธิปไตยความสุขที่บ้านเลือกครับ"  ดูผ่าน youtube ได้ที่นี่ครับ

                         http://youtu.be/UhkNJ1Cr0MY

    ครับ กระบวนการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นนั้น  ผมคิดว่าขั้นตอนการสำรวจสิ่งที่ดีๆหรือสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของคนในชุมชน(ทุน ทางสังคม)และการค้นหาประวัติศาสตร์ของชุมชนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะนี่คือรากฐานที่เป็นจิตวิญญาณหรือชีวิตจิตใจของชุมชนนั่นเอง 

หมายเลขบันทึก: 452974เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2011 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ต้องพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้ได้นะครับ

  • บันทึกถ้อยคอยนำในความคิด
  • แม่ชี้ทิศทางไว้ให้ลูกก้าว
  • จงจากดินให้เด่นไปเป็นดาว
  • อย่าเป็นชาวไร่นาอยู่ป่าดอย


ส่งกำลังใจค่ะท่านเทพฯ

ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม ความสุข โดยรวม ขอบคุณเจ้า

Ico48

สวัสดีครับคุณปูดอย
มาทักทายตอนปลายฝนต้นหนาวครับ
เชียงรายอากาศเย็นก่อนเพื่อน รักษาสุขภาพครับ 

- สำหรับคนหนึ่งคนสามารถทำอะไรเพื่อสังคมได้มากจริงๆ ครับ ขอให้อาจารย์ทำงานต่อไป เพาะพันธุ์เมล็ดแห่งความดีงามให้งอกงามทั่วแผ่นดินไทย

- ขออนุญาตนำหลักการกระบวนการค้นหาความดีด้วยความชื่นชมไปใช้กับลูกศิษย์ตัวน้อยๆ ที่โรงเรียนด้วยนะครับ

Ico48 คนล่าฝัน (Dream Hunter)
ยินดีครับคุณคนล่าฝัน  ผมสนใจศึกษาAIAIC_KM เพื่อการประยุกต์ใช้ ใช้กับเด็กได้
ผมสอนนักศึกษาก็ให้การบ้านเขาได้ใช้หลักAIค้นหาเรื่องราวที่ดีๆในตัวเขา ในเพื่อนเขาและชุมชนเขา

บันทึก : น้ำตาศิษย์ลาวที่อุบล ของคุณคนล่าฝัน ที่
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/465916
ใจตรงกันกับผม ครับ

กับบันทึก : น้ำตาศิษย์ลาวที่อุบล ที่

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/324287

ใจตรงกัน ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท