โบราณคดี : อารยธรรมอินเดียกับรัฐทวารวดี


 

          การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชาวอินเดียและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมาตั่งแต่วัฒนธรรมหินใหม่หรือช่วงสังคมเกษตร หลักฐานทางโบราณคดีคือ พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานหินแบบมีบ่าอายุในช่วง 4,000 – 2,000 ปี แพร่กระจายไปดินแดนที่ชนเผ่าที่พูดกลุ่มภาษาญวน มอญ เขมร อินโดนีเชีย จามอีกทั้งยังพบลูกปัดหิน ประเภทหินคาเนเลียน หินโอนิกซ์ หินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ซึ่งมีแหล่งผลิตในอินเดีย ที่พบเช่นโบราณคดีคลองท่อม จ.กระบี่ และ เกาะคอเขา จ.พังงา

          แต่เดิม อินเดียซื้อทองคำในโรมันเป็นจำนวนมากจนทำให้เศรษฐกิจโรมันกระทบกระเทือนไม่อาจขายทองให้อินเดียได้อีก  อินเดียจึงเดินทางมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาแหล่งที่ซื้อทองคำใหม่ และเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “สุวรรณภูมิ”

          ชาวอินเดียที่เป็นพ่อค้าและนักบวช ที่เข้ามาตั่งถิ่นฐานตามแหล่งศูนย์กลางทางการค้า ได้นำเอาความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองเข้ามาด้วย ที่สำคัญคือวัฒนธรรมของชาวพุทธที่มี่ส่วนช่วยสร้างวัฒนธรรมทวารวดี

           “ทวารวดี” เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึง “เมืองท่าค้าขายที่มีทางเข้าออกหลายทาง”  อยู่ใน ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยบริเวณ ล้ำน้ำแควน้อย แควใหญ่ ท่าจีน แม่กลอง ด้านตะวันออกของลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคอิสาน และภาคใต้บางพื้นที่

          เนื่องจากมีแม่น้ำหลายสาย ทางออกทางทะเล และช่องเขาขาดสู่อิสาน ซึ่งใช้เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายระหว่างจีนและอินเดีย เกิดการกระจายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างชุมชนได้อย่างรวดเร็ว  ทวารวดีจึงเจริญขึ้นเพราะสาเหตุดังกล่าว

 

หลักฐานการที่เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดี 

          หลักฐานลายลักษณ์อักษร เช่น

            - หลักฐานจดหมายเหตุจีนของหลวงจีนจี้อิง และ เหี้ยนจัง ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ได้กล่าวถึง อาณาจักร “โถ-โล-โป-ตี”  ตั่งอยู่ระหว่างทิศตะวันออกของอาณาจักรศรีเกษตร(พม่า) และทิศตะวันตกของอาณาจักรอิศานปุระ(เจนละ) เป็นที่มาของชื่อ “ทวารวดี”

            - จารึกบนเหรียญกษาปณ์ 2 เหรียญ อักษรปัลลวะภาษาสันสฤต ศาสตราจารย์ ยอร์ส เซเดส์ อ่านได้ว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ...” แปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี”

ร่องรอยอารยธรรมอินเดียที่ช่วงสร้างอารยธรรมทวารวดี 

            - การนับถือศาสนาพุทธ จาก คำภีร์มหาวงศ์ในลังกา กล่าวถึงการสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในช่วงพ.ศ.ว.ที่  3  พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตมาเผยแพรพระพุทธศาสนาในดินแดน “สุวรรณภูมิ” สันนิฐานว่าศูนย์กลางของศาสนาพุทธในสมัยทวารวดีคือ จ.นครปฐม ศาสนาพุทธเป็นนิกายถรวาท หลักฐานเช่นจารึกภาษาบาลีคาถา  “เย ธมมา” ที่พบบน ธรรมจักร เจดีย์ ฯลฯ

            - สถูปเจดีย์ มักใช้อิฐในการก่อสร้างก่อสร้าง ฐานมักเป็นสี่เหลี่ยม เช่น เจดีย์จุลปะโทน จ. นครปฐม, เขาคลังนอก,เขาคลังใน จ.เพชรบูรณ์

            - พระพุทธรูป ลั มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะเช่น เม็ดพระศกใหญ่ พระขโนงต่อกันคล้ายปีกา พระเนตรโปน พระโอฐแบะ ห่มจีวรบางคล้ายเปียกน้ำ เช่น พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรม ในถ้ำเขางู จ.ราชบุรี

           - ธรรมจักรและกวางหมอบ ลวดลายแบบคุปตะ-หลังคุปตะ พบมากที่ จ.นครปฐม

           - การนับถือศาสนาพราหมณ์ เช่น เทวรูปรุ่นเก่า มักทำรูปพระนารายณ์ เช่นพบที่เมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี, พระสุริยเทพ เมืองศรีเทพ จ.เพชรบุรี เป็นต้น

           - เครื่องมือเครื่องใช้ เช่นการใช้ตราประทับ เป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ ศาสนา การค้า เช่น เมืองโบราณจันเสน จ. นครสวรรค์

           - การจัดตั่งรัฐแบบอินเดีย  คติการสร้างเมือง เช่นระบบคูน้ำคันดิน เช่นแหล่งโบราณคดีซับจำปา จ.ลพบุรี

           - ภาษา เช่นภาษาสันสกฤตที่ใช้ในราชการ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกที่ใช้ในพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท

           - ตัวอักษร เช่นตัวปัลลวะ ที่เป็นต้นแบบของ ตัวมอญโบราณ ตัวขอมโบราณ เป็นต้น

           - กีฬาบางประเภท เช่นการเล่นสกา พบอุปกรณ์การเล่นที่ เมืองโบราณคดีจันเสน จ. นครสวรรค์

แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 

            -  ภาคตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น  แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี

            - ภาคตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองโบราณจันเสน จ.นครสวรรค์

            - ภาคเหนือ เช่น เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน

            - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์  

            - ภาคใต้ แหล่งโบราณคดีใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

คำสำคัญ (Tags): #ทวารวดี
หมายเลขบันทึก: 452712เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2011 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท