ชวนไปทำนา..กับบัวชมพู Goป้านคันนา


ป้านคันนา คือศิลปอย่างหนึ่งของการทำนา

คันนา คือ คันดินกักเก็บน้ำให้อยู่ในแปลงนา

ป้านคันนา คือ การตกแต่งและรักษาคันนา ด้วยการตัดหญ้าคันนา ถางหญ้า

ถางดิน(จ๊าคคันนา) และ ป้านดินคันนา (ปั้นดิน) เพื่อ ปิดรูปู รูงู รูปลา(ปลา

ใหล)  และรูหนู ที่คอยเจาะคันนาทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้

    

น้องงู และ น้องปู ตัวเอกในงานเจาะรูคันนา

  

 ผลงานการเจาะรูคันนา

 

 

ก่อนป้านคันหน้า คันนาก็จะรกไปด้วยหญ้า  เริ่มจากการตัดหญ้าบนคันนาให้สั้น

 

ตัดหญ้าทุกคันนาที่หญ้ารก ด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบด้ามจับ

 

คันนาที่ตัดหญ้าเสร็จแล้ว

 

ตัดหญ้าเสร็จเรียบร้อยต่อไปก็ใช้จอบถางดินออกจากคันนาเพื่อให้คันนาเรียบ

 

วันนี้เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ได้แรงงานเด็กๆ มาช่วยถางดินทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

 

คันนาที่ถางดินเสร็จเรียบร้อย ต่อไปก็เป็นการปาดหัวคันนา โดยใช้เครื่องตัดหญ้า

 

ปาดหัวคันนาเพื่อคันนาจะได้มีรูปโค้งมน การป้านคันนาได้รูปสวย โค้งมน

 

การป้านคันนา คือ นำดินโคลนในนามาใส่คันนาและตกแต่งให้ได้รูปตามคันนา

สำหรับคันนาที่มีรู ซึ่งเป็นผลการงานการเจาะของ สัตว์ชนิดต่างๆ เราจะต้องขุดรู

ให้ทะลุทั้งคันนา และถมใหม่ เสร็จแล้วจึงป้านคันนาทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง

  

  

คันนาที่ป้านเสร็จแล้ว ทำให้ท้องทุ่งดูสะอาดและสวยงามมากยิ่งขึ้น

ยามเย็นหากคุณออกไปเดินเล่น คุณจะเดินอย่างสบายใจและได้อารมณ์

เสียงเขียด เสียงกบ ร้องเพลงประสานเสียงกันระงมทั่วทั้งท้องทุ่ง

คลอเคล้าสายลมเย็นเอื่อยๆ พากลิ่นโคลนอ่อนๆ และกลิ่นหอมของต้นกล้าน้อย

หอมฟุ้งไปทั้งท้องทุ่ง และอะอ้าไม่ได้มีคุณคนเดียวอยู่กลางท้องทุ่งหรอกนะค่ะ

นี่ค่ะยังมีเพื่อนตัวน้อยๆ  อยู่เต็มท้องทุ่งเลยค่ะ

    

น้องเขียดน้อยค่ะ ร้องเสียงดังระงมไปหมด ไม่น่าเชื่อว่าตัวจะเล็กแคนี้นะค่ะ 

    

กิ้งกือน้อยก็มาเดินเล่นกับเค้าเหมือนกันนะค่ะเนี๊ยะ

          

 น้องหอยขม เดินเล่นไป มา อยู่ในน้ำ

    

น้อง กะบี้ (แมลงปอ) ก็มากับ ผีเสื้อน้อย และ น้องตั๊กแตน คุยอะไรกันอยู่จ๊ะ 

 

เสร็จจากงานป้านคันนา ตอนนี้ต้นกล้าของเราก็อายุใกล้ครบกำหนดปลูกแล้วค่ะ

เราแวะไปดูต้นกล้าน้อยของเราก่อนนะค่ะว่าโตแค่ใหนแล้ว.......

 

ดิฉันต้องอภัยความล่าช้าในการเขียนบันทึกนะค่ะ พอดีช่วงนี้เป็นช่วงที่การทำนา

เข้มข้นมากค่ะ ต้องไปลงแขกถอนต้นกล้าของเพื่อนบ้าน ไม่ค่อยมีเวลาเปิดคอมฯ

เลยค่ะ ขอบคุณสมาชิกทุกท่านนะค่ะที่ติดตามอ่านและคอยให้กำลังใจเสมอมาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 451272เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2011 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ได้เห็นธรรมชาติอีกครั้ง เมื่อตอนเด็กเคยเห็นตอนนี้หาดูยาก

ขอบคุณครับ

..เห็นภาพการทำนา ที่สวยงาม ขอชื่นชมค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์โสภณ Ico48

  • ยินดีนำเสนอเช่นกันค่ะอาจารย์
  • จะนำมาเสนอเรื่อยๆ ต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะ คุณแจ๋ว Ico48

ยินดีนำเสนอมากเลยค่ะคุณแจ๋ว

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ ตอบช้าบ้างเร็วบ้างขออภัยนะค่ะ

ตามโอกาสและความเหมาะสมของเวลานะค่ะ ฮิฮิ (ออกตัว)

สวัสดีค่ะ คุณหมอ Ico48

ขอบคุณที่ให้กำลังใจนะค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ บ้านเรียนสมดุลชีวิต Ico48

ขอบคุณค่ะ น้องอาร์ม Ico48

ขอบคุณที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

หอยที่เห็น ไม่ใช่ "หอยขม" นะครับ

หากแต่มันคือ "หอยเชอรี่" หรือ "หอยโข่งน้อย" ครับ

ถือว่าเป็นศัตรูเบอร์หนึ่งของต้นข้าวเลยทีเดียว

*** ขอบคุณทั้งภาพและเรื่องที่แบ่งปัน....เหมือนได้ไปเที่ยวท้องทุ่งนาจริงๆเลยค่ะ...ชัดเจน

สวัสดีค่ะคุณบัวชมพู

ชอบชีวิตในท้องทุ่ง เด็กๆเคยป้านคันนาค่ะ สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างผู้ใหญ่ต้องตามเก็บงานค่ะ

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

ดูแล้วสบายใจ แถมได้ความรู้

คิดถึงเชียงใหม่มากมาย

เป็นกำลังใจให้ปีนี้ข้าวราคาดี

ปกติที่ไร่มักเจอน้องปูมาเจาะคันนา แต่เพิ่งเคยเห็นการแต่งคันนาแบบนี้ชอบจังเลยครับ เย้ๆๆ

สวัสดีค่ะ  คุณอักขณิช  Ico48 

ขอบคุณที่ให้ความรู้เพื่อเติมเต็มในบันทึกค่ะ อาจจะเป็นหอยโข่งน้อย

แต่คงไม่ใช่หอยเชอรี่ค่ะ และหอยชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อต้นข้าว

สวัสดีค่ะ คุณกิติยา  Ico48  ดีใจที่ได้แบ่งบันเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณถาวร   Ico48 ขอบคุณสำหรับกำลังใจ ยินดีเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอ   Ico48  ขอบคุณสำหรับคำอวยพร แต่ปีนี้ข้าวน่าจะแพงจริงๆ ค่ะ ฮิฮิ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ขจิต  Ico48  รู้สึกว่าน้องปูที่ใหนๆ ก็ทำหน้าที่เดียวกันหมดนะค่ะ คือเจาะคันนา  ขอบคุณที่ชอบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท