การบริหารคุณภาพ


Quality Management

 

                หลักการและแนวทางปฏิบัติของการบริหารคุณภาพ

( Quality Management)

     ได้วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) และการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control) ในทศวรรษ 1970 และได้วิวัฒนาการไปสู่การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการบริหารคุณภาพ (Quality Management) ทศวรรษ 1980 และ 1990 ตามลำดับ รวมทั้ง TQM (Total Quality Management) และ Six Sigma ที่เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมานี่เอง

วิวัฒนาการเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพแบบมุ่งทั้งองค์กร

การบริหารคุณภาพมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ซึ่งเริ่มวิวัฒนาการในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจากบทบาทของการตรวจสอบคุณภาพแบบเดิม ( Inspection) การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และ TQM ในหนังสือเรื่องThe Wealth of the Nationเขียนโดย Adam Smith ในปี 1776 โดยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการจำแนกแรงงาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมต่อมาในปี 1914 การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้กระตุ้นให้เกิดการผลิตแบบ Mass Production ในช่วงเวลาดังกล่าว การตรวจสอบทางด้านอุตสาหกรรมกลายเป็นสิ่งจำเป็น แนวทางใหม่ในการบริหารที่พัฒนาขึ้นโดย Frederick W. Taylor ในปี 1919 หรือที่เรียกว่าการบริหารโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์” ( Scientific Management ) นั้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผมผลิต โดยไม่มีการเพิ่มจำนวนช่างฝีมือ  ต่อมาในปี 1924 Dr. Walter A. Shewhart วิศวกรจากบริษัท Western Electric ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ Control Chart มาใช้ในการควบคุมความผันแปรของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมคุณภาพโดยใช้สถิติที่เรียกว่า Statistical Quality Control ( SQC ) ในปี 1931 ในขณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษก็ได้พัฒนามาตรฐาน British Standards นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 1941 – 1945 ) สหรัฐได้พัฒนาวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใหม่โดยใช้แนวคิด Acceptable Quality Levels ( AQLs ) ดังนั้น  การตรวจสอบโดยวิธีสุ่มตัวอย่างจึงใช้เวลาลดน้อยลง  ภายหลังจากที่ Dr. Deming และ Dr. Juran ได้ไปญี่ปุ่นในปี 1950 การพัฒนาคุณภาพของญี่ปุ่นได้เจริญอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษ โดยแนวคิดในเรื่องคุณภาพเทคนิค  และปรัชญาหลายอย่าง เช่น Fool Proof, QCC, CWQC, ผังก้างปลา รวมทั้งวิธีการของ Taguchi ก็ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารคุณภาพ

                ต่อมาในปี 1946 American Society For Quality Control ( ASQC ) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นนับตั้งแต่ปี 1950 -1960 สหรัฐให้การยอมรับในคุณค่าของทฤษฏีต่าง ๆ ของ Dr. Deming และ Dr.Shewhart และแล้วศักราชใหม่ของการประกันคุณภาพ ( QA ) ก็ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อุตสาหกรรมได้มุ่งเน้น  นั่นคือการเปลี่ยนจากการตรวจสอบคุณภาพ ( Inspection ) เพื่อหาของเสียไปเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ( Prevention ) ในช่วงเวลาดังกล่าว  ปรัชญาทางด้านคุณภาพมากมายได้เกิดขึ้น เช่น  เรื่อง Cost of Quality ( CQQ ) , Total Quality Control ( TQC ) , Reliability Engineering , Zero Defeets, Management by Objective เป็นต้น ในระหว่างปี 1980 -1990 ความต้องการของลูกค้า  ผลการดำเนินงานของคู่แข่งขัน  และการลดต้นทุนคุณภาพเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการในเรื่องการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ( TQM )

 

หมายเลขบันทึก: 450870เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2011 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

TQM (Total Quality Management ) การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คือ แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่สมาชิกขององค์กรและสังคม

การปรับรื้อระบบกระบวนการทางธุรกิจต่างจาก TQM อย่างไร

การปรับรื้อระบบกระบวนการทางธุรกิจเป็นการออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อปรับปรุงดัชนีชี้วัดผลงาน ได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ บริการ และความเร็ว ทำให้เกิดการปฏิรูปองค์กร การบริหารงานบุคคล จิตสำนึกของบุคลากร เน้นกระบวนการทำงานเป็นหลัก และมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ส่วน TQM เป็นการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท