การสอนที่ไม่ครบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การสอน ไม่ครบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วันหนึ่งขณะที่ผมสอน วิชาวิชาฟิสิกส์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ อยู่หน้ากระดาน ผมกำลังยกตัวอย่างให้ทราบถึงกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ว่าจะต้องครบทุกขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ คือ จะต้องมีการตั้งคำถามหรือสงสัย มีการคาดคะเนคำตอบหรือตั้งสมมติฐาน มีขั้นการออกแบบทดลองสมมติฐาน และมีการสรุปผลคำตอบให้ชัดเจน ผมลองยกตัวอย่าง แบบที่ผมเคยเรียนมา ที่เคยถูกสอนมา พร้อมๆ กับคอยสังเกตตนเองว่าได้ทำให้นิสิตได้เรียนรู้ครบ 4 กระบวนการหรือไม่ ตัวอย่างมีอยู่ว่า ถ้าชายคนหนึ่งปาก้อนหินออกไปข้างหน้าด้วยความเร็วต้น 5 เมตรต่อวินาที นานเท่าใดก้อนหินจะตกถึงพื้น ถ้าชายคนนี้สูงประมาณ 170 เซนติเมตร

      ผมพบว่า จากการยกตัวอย่างดังกล่าว ผมได้ทำไปแล้วอย่างน้อย 2 ขั้นตอนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น กล่าวคือ ผมเป็นคนตั้งปัญหา ไม่เพียงเท่านั้น ผมยังเข้าไปกำหนดตัวแปรต้นคือความเร็วต้น ผมเข้าไปจัดการเรื่องตัวแปรควบคุม คือชายสูงประมาณ 170 เซนติเมตร นั่นคือผมเข้าไปออกแบบการทดสอบสมมติฐานแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง สรุปแล้ว โจทย์ข้อนี้ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้แค่ครึ่งเดียวของวิธีการทางวิทยาศาสตร์

     แสดงว่าถ้าเอาแต่ติวข้อสอบนิสิตหรือนักเรียนก็จะไม่ได้ฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์เลย

     แบบนี้ขัดแย้งกับกระบวนการเรียนรู้ที่ควรเป็นคือ ต้องเป็นวงลูป ครบกระบวนการในตัวนิสิตหรือนักเรียนทุกขั้นตอน

     นอกจากนี้แล้ว มีหนังสือเล่มหนึ่ง ขายดีมากในญี่ปุ่น แปลเป็นภาษาไทยแล้ว มีขายในร้านซีเอ็ด ปกสีเหลือง จำชื่อไม่ได้แล้ว คนแต่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอยู่กับเครื่องตรวจสภาพการทำงานของสมองได้ (MRI) และทำวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของสมอง เขาสรุปว่า การเรียนรู้ที่ดีจะต้องครบวงรอบคือ มีทั้ง Input และ Output

     สรุปว่านอกจากการเรียนรู้ที่ดี นักเรียนจะต้องได้ฝึกครบทุกขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังจะต้องฝึกฝนการเรียนรู้ของตน (Input) และฝึกการนำเสนอหรือสื่อสารต่อผู้อื่นเสมอ (Output) ให้เป็นวงลูปเช่นกัน

     หรือท่านๆ เห็นว่าอย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 450453เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชมมุมมองที่น่าคิดของอาจารย์คะ

เพราะเรามักถูกติวแบบแก้ปัญหาข้อสอบ

ในกระบวนการวิจัย เราจึงมีปัญหาในการ "initiate" คำถามแปลกๆ ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์

ปล. ลางๆ เรื่อง projectile แต่สูตรคิดยังไงลืมแล้ว..วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาโปรดสมัยเรียนคะ ;-)

หนูยอมรับนะคะว่าแรกๆอาจยากหน่อยที่ต้องปรับตัวรับการเรียนรู้ในแบบใหม่ๆ แรกๆคิดว่ายากมากเราจะรับไหวไหม แล้วสิ่งที่เรียนเราสามารถใช้ได้ตอนไหน ถึงตอนนี้หนูเริ่มเข้าใจและยอมรับว่าการเรียนรู้ในแบบ (PBL)มีความสำคัญมาก ทำให้หนูได้เปิดโลกทัศน์ที่ตีกรอบไว้แคบๆเพิ่มมากขึ้น กล้าคิดสิ่งใหม่ๆได้โดยนอกเหนือจากในหนังสือ ถึงจะต้องพยายามให้มากหน่อยแต่ต้องสู้ต่อไปใช่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท