สำนึกรับผิดชอบของคนไทยต่อสังคมปัจจุบันในภาวะวิกฤติ


สำนึกรับผิดชอบของคนไทยต่อสังคมปัจจุบันในภาวะวิกฤติ

สำนึกรับผิดชอบของคนไทยต่อสังคมปัจจุบันในภาวะวิกฤติ[1]

17 กรกฎาคม 2554

กล่าวนำ

มนุษย์เรานั้นไม่ได้มีชีวิตอยู่ตามลำพัง แต่เราจะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนอื่นๆโดยมีความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ บ้างก็เป็นพี่น้องกัน เป็นญาติกัน เป็นสามีภรรยากัน เป็นต้น การที่คนเราอยู่ร่วมกันกับคนอื่นเช่นนี้ เรียกว่า เราอยู่ด้วยกันเป็น “สังคม” การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นก็เพื่อให้เรามีชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย และร่วมกันสรรค์สร้างสิ่งดีงามเพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม การที่คนหลายๆคนมาอยู่ด้วยกัน โอกาสที่จะเกิดปัญหาขัดแย้ง ข่มเหงรังแก หรือเอารัดเอาเปรียบกันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบและราบรื่น รวมทั้งมีชีวิตที่ดี สุขสบาย จึงได้มีการสร้างเงื่อนไขในการอยู่ร่วมกัน โดยมีผู้นำหรือหัวหน้าเข้ามาทำหน้าที่ปกครองผู้คนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีการกำหนดกฎระเบียบที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เช่น ห้ามทำร้ายกัน ต้องเคารพซึ่งสิทธิ เสรีภาพซึ่งกันและกัน เป็นต้น และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบระหว่างคนในสังคม เช่น ให้ชายฉกรรจ์ไปเป็นทหาร เพื่อปกป้องรักษาความปลอดภัย ลักษณะเช่นนี้เป็นการพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมทางการเมือง อันหมายถึง การที่ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ มีการกำหนดอำนาจของผู้ปกครอง กำหนดสิทธิและหน้าที่ของคนในสังคม มีกฎระเบียบที่สมาชิกของสังคมต้องยึดถือปฏิบัติ ตลอดจนมีการใช้อำนาจบังคับให้ทำตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้


นิยามความหมาย

นวลละออแสงสุข ,2552. [2]

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ “จิตสำนึกทางสังคมหรือจิตสำนึกสาธารณะ” ว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันหรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ความหมายว่าการรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อยประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

ดังนั้น “จิตสำนึกสาธารณะ” คือ “จิตสำนึกของสังคม” (Social Consciousness) ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาตราบเท่าที่ยังมีการดำรงอยู่ของสังคม (Social Being)

ดังตฤณ(นามแฝง) ,2545. [3]

นิยามว่า “จิตสำนึก” (Conscious) คือลักษณะรู้ได้ เข้าใจได้สั่งการได้ด้วยเจตนาอันเป็นปัจจุบัน

เพราะคำว่า “สำนึก” ที่ใช้ในความหมายนี้คือระลึกได้ หรือตื่นเต็มอยู่ รู้ความอยู่

ส่วน “จิตใต้สำนึก” (Subconscious) เหมือนอีกภาคหนึ่ง หรือกระทั่งอีกบุคคลหนึ่ง

ฝรั่งมองว่าเป็นตัวเราเองที่ไม่รู้ตัว แต่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นปกติแล้วก็ที่ไม่ค่อยปกติ ไม่เป็นที่เข้าใจ กระทั่งตนเองก็อาจงง

เช่นชาวบ้านบอกส่วนใหญ่บอกว่าอย่างนี้ไม่ได้เรื่องแต่เรากลับชอบใจอย่างไม่มีเหตุผล

ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ (ราชบัณฑิต) [4]

นิยามคำว่า “จิตสำนึกและความรับผิดชอบส่วนตัว” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า personal accountability ซึ่งเป็นคำที่แปลยากมาก พจนานุกรมทั่วไปมักจะแปลคำว่า accountability ว่า ความรับผิดชอบแต่ความจริงแล้วคำนี้มีความหมายลึกซึ้งกว่านี้มากเพราะคำนี้ไม่ได้แปลว่าความรับผิดชอบที่เกิดจากการได้รับมอบหมายหน้าที่เท่านั้นแต่ยังหมายถึงความรับผิดชอบอันเกิดจากจิตสำนึกทางด้านศีลธรรม, จริยธรรม, และ พรหมวิหารธรรมด้วย

ดร.อาทิตา ชูตระกูล [5]

“จิตสำนึก” (Conscientiousness) หรือ “ความตระหนัก" (Awareness)

หมายถึงการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกสนองตอบต่อสิ่งนั้นในทางที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ กฎหมาย กฎระเบียบของสังคม จารีตประเพณี

บุณิกา จันทร์เกตุ, 2554. [6]

นิยามว่า “จิตสาธารณะ” (Public Mind) หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นส่วนรวม” หรือพูดและฟังได้ง่าย ๆ ว่า

“การตระหนักรู้และคำนึงถึงการมีส่วนรวมร่วมกัน การตระหนักรู้ตนที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นสังคมเดียวกันเป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม การบริการชุมชน การทำประโยชน์เพื่อสังคมถ้าเป็นวัตถุหรือสิ่งของทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้”

มุสา(นามแฝง) ,2554. [7]

“มีจิตสาธารณะ” (public consciousness)

จิตสาธารณะ คือ จิตของคนที่รู้จักความเสียสละความร่วมมือร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

สรุป จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ

จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัวหรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหนเป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง


สังคมไทยปัจจุบันกับสำนึกรับผิดชอบ

ในปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในภาวะวิกฤตหรือวิปริต เพราะความไม่สมดุลของการพัฒนาที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุที่ทำให้คนตกเป็นทาสของวัตถุนิยม (materialism) และบริโภคนิยม (consumerism)มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น เห็นแก่ผู้อื่นน้อยลง ค่านิยมของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาประเทศไทยในระยะ 30 ปีผ่านมา แม้เศรษฐกิจจะเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น แต่ปัญหาสังคมก็มีมากขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้น เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาเยาวชน ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาความเสื่อมโทรมในด้านศีลธรรม จริยธรรม และค่านิยม คนมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นเห็นแก่ผู้อื่นน้อยลง [8]

วิกฤตที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้มีมากมายเหลือเกิน วิกฤตในปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคมดำรงอยู่เต็มไปหมด และเกี่ยวร้อยกันจนเป็นโครงข่ายสายโซ่ ที่ส่งผลกระทบต่อกันไปมา ถ่วงรั้งวิกฤตอื่นๆ ให้ร้ายแรงยิ่งๆ ขึ้น ทำให้ปัญหาที่เคยเป็นปัญหาเล็กๆกลายเป็นปัญหาใหญ่ เช่น ปัญหาจราจร ปัญหาอุบัติภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาที่ใหญ่อยู่แล้วการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม การว่างงาน การเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ฯลฯ ก็ขยายใหญ่มากขึ้น ปัญหาต่างๆในสังคมเขม็งเกลียวขึ้นทุกขณะจนกลายเป็นวิกฤตไปในแทบทุกจุด คล้ายกับว่าเราเริ่มเดินทางมาถึงทางตัน มองไปทางไหนก็พบแต่วิกฤตไปทั้งนั้น เป็นวิกฤตอย่างทั่วทุกด้าน ลึกซึ้งและส่งผลกระทบต่อวิกฤตอื่น ๆ จนมีลักษณะเป็นสายโซ่ของวิกฤตการณ์ที่แต่ละห่วงโซ่กำลังขยายตัวออกดันกันและกันอย่างน่ากลัวว่าถึงจุดหนึ่งจะเกิดเป็นแรงระเบิดของสังคมทั้งสังคมเพราะปัญหาแต่ละจุดได้ขยายตัวมาจนถึงขีดอันตรายด้วยกันแล้วทั้งนั้น [9]


แนวทางการแก้ไขภาวะวิกฤติในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆได้ 2 ประการ คือ [10]

  1. ) การแก้ปัญหาแบบย่อย (Piecemeal)หรือแก้ปัญหาระยะสั้น หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการแก้ปัญหาที่มุ่งแต่จะให้เสร็จสิ้นไป โดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น การแก้ปัญหาความยากจนและอดอยากขาดแคลนด้วยการนำเอาสิ่งของไปแจกเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เป็นต้น

2.) การแก้ปัญหาแบบรวมถ้วนทั่ว (Wholesale) หรือแก้ปัญหาระยะยาวให้ได้ผลถาวร เป็นการแก้ปัญหาแบบมีการวางแผนมาก่อน มีการตรวจสอบและประเมินผล ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ต้นตอหรือสาเหตุของปัญหา และปัญหานั้นๆจะไม่เกิดขึ้นมาอีก เช่น การแก้ปัญหาความยากจนด้วยการฝึกอาชีพให้ การฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ว่างงาน การปลูกฝังทัศนคติในการประหยัดและงดใช้สินค้าฟุ่มเฟือยให้แก่เยาวชน การขยายการศึกษาให้ทั่วถึงโดยเฉพาะในชนบท เป็นต้น


หรือเราสามารถอาศัยการ “ขัดเกลาทางสังคม”(socialization) โดยจุดมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม อาจแบ่งได้เป็น 4ประการ คือ [11]

1.) ปลูกฝังระเบียบวินัย (BasicDiscipline) ระเบียบวินัยเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กลุ่มได้กำหนดไว้ เป็นการฝึกให้มีความอดกลั้นที่จะทำตามความพอใจของตนเองเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า เช่น เด็กไม่น้อยไม่ชอบเรียนหนังสือ แต่ต้องพยายามเรียนเพราะพ่อแม่บังคับหรือเรียนเพราะอยากได้ความรู้ หรือเป็นทหารต้องฝึกอย่างหนักจะได้เป็นทหารที่มีสมรรถภาพ สามารถป้องกันประเทศได้ดี เป็นต้น ระเบียบวินัยจึงมีผลต่อบุคลิกลักษณะและความประพฤติของบุคคล โดยบุคคลจะเกิดความเคยชินและจะทำไปโดยไม่รู้ตัว เช่น เคยตื่นแต่เช้า พอถึงเวลาจะตื่นขึ้นไม่ว่าอยากตื่นหรือไม่ก็ตาม หรือคนที่เคยรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนกลางจะเกิดความเคยชินและหากไม่มีช้อนกลางจะรับประทานไม่ค่อยลง เป็นต้น

2.) ปลูกฝังความมุ่งหวัง (Aspiration) ความมุ่งหวังช่วยให้บุคคลมีกำลังใจทำตามระเบียบวินัยต่างๆ เช่น อยากได้ปริญญา ก็ต้องเรียนหนังสือ อยากได้เลื่อนขั้นก็ต้องขยันทำงาน ส่วนมากมักจะมุ่งหวังในสิ่งที่สังคมยกย่องหรือถือว่าดีงาม จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเรามีกำลังใจ หรือบังคับตัวเองให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยไม่ว่าจะพอในหรือไม่ก็ตามเพื่อจะได้ในสิ่งที่ตนเองหวังไว้

3.) สอนให้รู้จักบทบาทและทัศนคติต่างๆ (Social Roles and Supporting Attitudes) เป็นการรู้จักแสดงบทบาทอย่างเหมาะสมตามวาระและโอกาสต่างๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะบทบาทของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน จึงควรที่จะเรียนรู้และทำตามบทบาทของตนให้ดีที่สุด เช่น นายกับลูกจ้าง นักเรียนกับครู ต่างมีบทบาทต่างกัน มีกฎเกณฑ์ ท่าที บุคลิกภาพ ลักษณะต่างกันออกไป เช่น ครูต้องมีเมตตาอดทนต่อการดื้อรั้นของเด็ก เป็นนักเรียนต้องตั้งใจเรียน ไม่เกียจคร้าน เป็นพ่อต้องเลี้ยงลูก เป็นลูกต้องเชื่อฟังพ่อแม่ อบรมสั่งสอนด้วยการทำตัวให้ดีที่สุด เป็นพนักงานขับรถต้องรู้กฎจราจร เป็นนายต้องเฉลียวฉลาด รู้จักสั่งงาน เป็นต้น

4.) สอนให้มีทักษะ (Skills) เป็นการเตรียมบุคคลให้มีความชำนาญเฉพาะอย่าง เช่น การประกอบอาหาร การเขียนจดหมาย การใช้โทรศัพท์ การเป็นวิศวกร การเป็นแพทย์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การสั่งอาหาร เป็นต้น เพื่อสังคมจะได้รับประโยชน์จากสมาชิกในหลาย ๆ ด้าน เรื่องทักษะนี้เป็นสิ่งที่มีการเน้นและขัดเกลาในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจริญแล้วหรือล้าหลังก็ตาม โดยในสังคมที่ล้าหลังจะเรียนรู้ด้วยการลอกเลียนแบบหรือสัมผัสกับชีวิตจริง เช่น ล่าสัตว์ ทอผ้า ทำนา เป็นต้น ส่วนในสังคมที่เจริญแล้วจะสอนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ด้วยการเรียนจากสถาบันต่าง ๆ เช่น แพทย์ วิศวะ พยาบาล จิตวิทยา ช่างกล ช่างไม้ เป็นต้น ทำให้บุคคลมีความถนัดเฉพาะอย่างในการที่จะประกอบอาชีพหรือช่วยเหลือกันต่อไป เช่น เจ็บป่วยก็ไปหาหมอ รถเสียก็ต้องหาช่างแก้ไข อยากสร้างบ้านก็ต้องหาสถาปนิก เป็นต้น หรือสอนกันเองในครอบครัว เช่น แม่สอนลูกให้ทำกับข้าว เย็บเสื้อผ้า พ่อสอนให้ซ่อมเครื่องใช้ ทำนา ทำไร่ เป็นต้น

จากแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตข้างต้น หากผู้คนในสังคมต่างไม่ให้ความร่วมมือ ความสามัคคี ความปรองดองซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้สังคมปั่นป่วนหาความสุขความเจริญไม่ได้นั้นก็เพื่อให้เราเป็น"กันอยู่ร่วมกันกับคนอื่นๆโดยมีความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ บ้าง


ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย ควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ [12]

1) ด้านสังคม ได้แก่

- การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล

- การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น

- การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า

- การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

- การเคารพระเบียบของสังคม

- การมีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ

2) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่

- การประหยัดและอดออมในครอบครัว

- การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ

- การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า

- การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

- การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย

และสังคมโลก

- การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ

3) ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่

- การเคารพกฎหมาย

- การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

- การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า

- การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

- การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา

- การทำงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา

ฉะนั้นหากคนไทยทุกคนมีสำนึกและตระหนักในความรับผิดชอบที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆที่รุมเร้าปัจจุบันให้สามารถฝ่ามรสุมความเลวร้ายให้กลายเป็นดีได้ โดยช่วยกันเริ่มจากจุดเล็กๆที่ใกล้ตัวในครอบครัว ในชุมชน ในสังคม และในประเทศชาติ ในที่สุดก็จะทำให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุข ร่มเย็น ก่อให้เกิดพัฒนาการในด้านต่างๆ สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ

ณัฐวุฒิ เทพทวี ได้สรุปการสร้างจิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม และแนวทางการสร้างจิตสาธารณะดังนี้ [13]

จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม

1. โดยการกระทำของตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

2. มีบทบาทช่วยสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวมเพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ

1. สร้างวินัยในตนเอง

2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม

อ้างอิงเพิ่มเติม

[1] ดำรง เสียมไหม,ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ของไทยคืออะไร,10 มิถุนายน 2551, http://planadmin.blogspot.com/2008/06/public-interest.html

[2] จิตสาธารณะ, 2557, https://shypoj.files.wordpress.com/2014/10/e0b888e0b8b4e0b895e0b8aae0b8b2e0b898e0b8b2e0b899e0b893e0b8b0.doc

[3] บทความ ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน โดย สีมา สีมานนท์ ในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 หน้า 10,

คุณลักษณะของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า ควรมีคุณลักษณะ 3 อย่างคือ 

(1) ความเป็นมืออาชีพ (2) มีคุณธรรม (3) มีจิตสาธารณะ 

จิตสาธารณะ  หรือ  Public Ethos ( Public Service Mind) แยกไว้ 5 ประการ คือ 
(1) มีจิตบริการ (2) ให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ  (3) ให้ความสำคัญแก่ผู้เสียเปรียบ  ด้อยโอกาสทางสังคม (4) พร้อมต่อการตรวจสอบจากทุกฝ่าย (5) รักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย


[1]บทความนี้เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2553 และได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลัง

[2]http://nounlaor123.exteen.com/20090407/entry

[3]http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/006331.htm

[4]http://www.drkanchit.com/general_articles/articles/general_48.html

[5]http://service.christian.ac.th/mda/HTML/speed.ppt

[6]http://www.stou.ac.th/study/sumrit/8-54%28500%29/page1-8-54%28500%29.html

[7]http://freedom-musa.blogspot.com/2011/12/blog-post_228.html

[8]สมพร เทพสิทธา,2541

[9]เรื่องเดียวกัน,สมพร

[10]มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ม.ป.ป.

[11]เรื่องเดิม,สมพร

[12]หน้าที่คนไทยตามรัฐธรรมนูญ, รร.เฉลิมขวัญสตรี , ม.ป.ป.

[13]ณัฐวุฒิ เทพทวี, “สิ่งที่เรียกว่าจิตสำนึก.” นักศึกษาPSU มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 18 ธันวาคม 2554. http://www.learners.in.th/blogs/posts/508839

หมายเลขบันทึก: 449618เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2021 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไทยรัฐ  สกู๊ป น.๕ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ Transparency International Organization

จัดอันดับปัญหาคอร์รัปชั่น ๑๗๖ ประเทศ ไทยลำดับที่ ๘๘

คะแนนความโปร่งใส ๓๗/๑๐๐

ABAC Poll ๒,๑๑๗ ตย. ๑๗ จว. ๖๕.๘ % ยอมรับหากสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับตนในทางธุรกรรมและตำแหน่งหน้าที่

๘๗ % เห็นว่า "คนไทยเป็นคนชอบมีหน้ามีตา"

๖๑ % "คนไทยไม่ซื่อตรง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน"

ทางรอด (ทางออก) "การขับเคลื่อนพลังจิตอาสา" สำคัญที่สุดคือ "การเข้าไปมีส่วนร่วม..."

ครอบคลุมทุกภูมิภาค และสาขาอาชีพ

๒ ปีที่แล้ว ประมาณปี ๒๕๕๓ ๒๕๕๔ ผลการสำรวจโครงการสำรวจความคิดเห็นที่ครอบคลุมจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์และพื้นที่มากที่สุด

"คนไทยมอนิเตอร์" ของมูลนิธิเพื่อคนไทยจาก ๑๐๐,๐๐๐ ตัวอย่าง

++++++++++++++++++++++++++++++

คดีดังค้าง ป.ป.ช. 2555

http://www.transparency-thailand.org/thai/images/ppchcase.jpg


สรรพากรจัดให้ตระกูล‘ชินวัตร’ไม่ต้องเสียภาษี!

http://www.thaipost.net/node/52840

20 February 2555 - 00:00


เมื่อปี ๑๙๘๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ธนาคารโลก (World Bank) ได้เริ่มศัพท์ใหม่ว่า "Good Governance" ในภาครัฐ ซึ่งต่อมาสำหรับในภาคเอกชน ก็มีคำว่า "Corporate Governance" หรือ "Good Corporate and Corporate Social Responsibility or CSR"

หรือที่ศัพท์ไทยบัญญัติว่า "ธรรมาภิบาล" (หรือการบริหารจัดการที่ดีในภาครัฐ) และ "บรรษัทภิบาล" (หรือการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชน)

ซึ่งสาระสำคัญอยู่ที่หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้ (Transparency or Openness) ซึ่งนำไปสู่หลักความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (Accountability)

ดังมีพัฒนาการตามกฎหมายไทย ดังนี้

(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒) พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓/๑ วรรคแรก (ปัจจุบันเป็นฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๐)

อ้างอิง

http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/ธรรมาภิบาล:_หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่

http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba125/Column/JBA125SinlapapornC.pdf

http://eservices.dpt.go.th/eservice_6/ejournal/28/28-09.pdf?journal_edition=28


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท