การเขียนคู่มือการปฏิบัติงานของพยาบาล


การกำหนดชื่อเรื่อง คู่มือการปฏิบัติงานของพยาบาล

  ใครกำลังกังวลเกี่ยวกับการเขียนคู่มือ...ยกมือขึ้น

 ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างคู่มือทางวิชาการกับคู่มือการปฏิบัติงาน

• คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึง เอกสารที่ใช้ประกอบการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง เช่น คู่มือการแยกผู้ป่วยวัณโรค คู่มือการทำ tuberculin คู่มือการทำแผล central line

• คู่มือทางวิชาการ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการ ซึ่งได้จากการทบทวนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง คู่มือการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล

ในครั้งนี้เราจะเขียนคู่มือการปฏิบัติงานกัน ซึ่งความเข้มข้นจะต่างกับการเขียนขอชำนาญการพิเศษ

  เทคนิคการเริ่มต้นทำคู่มือการปฏิบัติงานของพยาบาล

ถ้ายังมีคำถามว่าจะทำหรือจะเลิก ให้ตอบคำถาม 3 ข้อ นี้ก่อน

1. ทำไมต้องเขียน

2. สามารถพัฒนางานที่ปฏิบัติอยู่ได้จริงหรือ

3. เขียนให้ใครอ่าน

   เมื่อได้คำตอบแล้วให้เริ่มกำหนดหัวเรื่อง ให้นิ่ง อย่าเขวไปเขวมา อย่าเปลี่ยนเรื่องบ่อย หัวเรื่องต้องสื่อความหมายได้กระชับ ครอบคลุม ถ้าสามารถระบุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือระบุกลุ่มประชากรที่จะใช้คู่มือก็จะดี

 

   ลองเปรียบเทียบ 3 เรื่อง นี้ แล้วลองเลือก 1 ชื่อเรื่อง แบบไหนดีที่สุด

1.คู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

2.คู่มือการใช้ปากกาฉีดยาอินซูลินสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

3.คู่มือการสอนผู้ป่วยเบาหวานในการใช้ปากกาฉีดยาอินซูลิน

 

 แบบที่ 1 กว้างไป ชื่อคาดเดาไม่ได้เลย อาจจะเป็นการควบคุมอาหาร ?

แบบที่ 2 ให้คนไข้อ่าน หรือให้ญาติอ่านแล้วสอนคนไข้ หรือเป็นคู่มือของพยาบาล ?

แบบที่ 3 มีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือการสอน pop คือผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ปากกาฉีดยาอินซูลิน

 

 

 

  พอได้หัวเรื่องแล้ว ให้เตรียมความพร้อม 3 ข้อ คือ

1.เตรียมความรู้

2.เตรียมเวลา

3.เตรียมสมาธิ

คนที่ห่างหายจากการเรียน การอ่านหนังสือนานๆ อาจจะยาก แต่เชื่อว่าทุกคนทำได้

   ต่อมาคือการเขียน Gantt Chart ไว้กำหนดระยะ เวลาดำเนินการ

อย่าทำไปเรื่อยๆ

อย่าทำข้ามขั้นตอน

อย่าหยุดในข้อใดข้อหนึ่งนานเกิน

และอย่าท้อ

  และสิ่งที่สำคัญที่สุด สำคัญ มากกกก...................

คือการเขียนเค้าโครง ของคู่มือ

 

ต้องวาง plot เรื่องให้ดี

อาจจะใช้โปรแกรม mind map ช่วย

แตกข้อย่อยออกมาให้ครอบคลุม

เมื่อถึงตอนเขียน อย่าเขียนออกนอกกรอบ

   แค่นี้ก็จะได้คู่มือที่มีคุณภาพค่ะ

หมายเลขบันทึก: 449074เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆเหล่านี้นะคะ อ่านแล้วได้ไอเดีย จะเอาไปลองทำดูนะคะ

สวัสดี ค่ะ คุณแม่น้องมะปราง

ตอนนี้กำลังทำอยู่ชักเริ่มงงๆ ก็เลยหยุดแล้วเข้ามา หาในเวบดีกว่า เจอแล้ว ก็ขอถามเลยนะคะ

สมมุติว่า เราทำเรื่องการดูแลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟ ก็ต้องมีเรื่อง ความรู้ทางการแพทย์และการรักษา ร่ายมา1 บท จากนั้นก็เป็น แนวปฏิบัติงาน สำหรับหอผู้ป่วยดิฉัน 1 บท และเข้าสู่ การพยาบาลอีก 1 บท แบบนี้ ใช่หรือเปล่าคะ

ทีนี้ สมมุติว่าใช่ ในส่วนของการพยาบาลนั้น เราจะต้องยกเป็นข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เป็นข้อๆไปหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตตอบ คนใกล้ๆกัน นะคะ

เรื่องการทำคู่มือมันมีความต่างระหว่างการทำคู่มือปฏิบัติงาน ที่มีกรอบชัดเจน กับการเขียนคู่มือทางวิชาการ ในที่นี้ขอแนะนำการทำคู่มือปฏิบัติการสำหรับพยาบาลชำนาญการ ส่วนที่ คุณคนใกล้ๆกัน กล่าวถึง น่าจะหมายถึง บทที่ 3 และ บทที่ 4 หรือเปล่าค่ะ ถ้าเป็นเช่นนั้นเห็นว่าความเข้าใจข้างต้นน่าจะยังไม่ถูก ขอยกตัวอย่าง นะคะ

การดูแลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟ ในบทที่ 3 อาจจะเขียน พยาธิสภาพ อุบัติการณ์/ผลกระทบ สถานการณ์ของหน่วยงาน กิจกรรมการพยาบาล และงานวิจัยสนับสนุนกิจกรรมการพยาบาลนั้นๆ เช่น กิจกรรมการพยาบาลให้มีการส่องไฟ เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง (สมมติ) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ........ และมีการปฏิบัติในสถาบัน........หรือบอกว่าการ การส่องไฟ เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงดีกว่าการส่องไป 6 ชั่วโมง โดยมีการศึกษาของ..........ทำแล้วสามารถลดอุบัติการณ์ได้ ดังนั้น การดูแลทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟ จึงใช้เวลา 8 ชั่วโมง และสิ่งนี้จะปรากฏใน flow บทที่ 4 ด้วยค่ะ

หากมีกิจกรรมการพยาบาลหลายข้อก็ต้องมีข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร/องค์ความรู้มาสนับสนุนทั้งหมด เช่น ไฟที่ใช้ส่องเด็กต้องเป็นชนิด... (อ้างอิง) เพื่อแสดงให้เห็นว่าคู่มือของเรามีประสิทธิภาพ

สำหรับข้อวินิจฉัยการพยาบาลไม่น่าจะเขียนในคู่มือการปฏิบัติงาน ยกเว้นเสียแต่ว่าจะทำคู่มือเรื่องการเขียนบันทึกทางการพยาบาล

ขอบคุณมากค่ะ

ไว้ว่างๆ จะแวบไปหาคุณแม่น้องมะปรางนะคะ จะเอาเอกสารไปให้ดูว่าที่ทำไว้พอจะมีเค้าบ้างไหม

พอจะเอามาปรับใช้ได้ไหม

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

  • เป็น ICN  โรงพยาบาลป่าติ้วค่ะ
  • จะแวะมาอีกครั้ง
  • เพิ่มคำสำคัญ ICN ,IC  จะได้หากันเจอ....
  • หากมีกิจกรรม R2R ที่ทำอยู่ 
  • เขียนบันทึกได้นะคะ
  • ติดต่อที่ [email protected]
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท