cha
นางสาว มาลินี cha โต๊ะหลี

การถ่ายภาพดอกไม้


ภาพดอกไม้ เป็นประเภทหนึ่งของการถ่ายภาพระยะใกล้ หรือภาพมาโคร (Macro) ต้องอาศัยเลนส์ หรือกล้องที่สามารถโฟกัสภาพในระยะใกล้ๆได้ การถ่ายภาพลักษณะนี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้แฟลชในการถ่ายภาพด้วยเพื่อให้เห็นสีสันที่สดใสของดอกไม้รวมทั้งถ้าหากมีการปรับตั้งดีๆ

การถ่ายภาพดอกไม้   

 

     ภาพดอกไม้ เป็นประเภทหนึ่งของการถ่ายภาพระยะใกล้ หรือภาพมาโคร (Macro) ต้องอาศัยเลนส์ หรือกล้องที่สามารถโฟกัสภาพในระยะใกล้ๆได้ การถ่ายภาพลักษณะนี้ ส่วนใหญ่นิยมใช้แฟลชในการถ่ายภาพด้วยเพื่อให้เห็นสีสันที่สดใสของดอกไม้รวมทั้งถ้าหากมีการปรับตั้งดีๆ
จะช่วยทำให้ฉากหลังมีสีเข้มขึ้นก็จะช่วยทำให้ดอกไม้ดูสดใสโดดเด่นขึ้นมาได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าหากรู้สึกว่า ชอบถ่ายภาพดอกไม้หรือถ่ายภาพระยะใกล้ๆนี้ เวลาเลือกซื้อกล้องควรเลือกกล้องที่สามารถโฟกัสภาพได้ใกล้ๆ เช่นเดียวกัน โดยให้ดูในสเป็คจะมีเขียนไว้ว่าโฟกัสได้ใกล้สุด....ซม สำหรับการถ่ายภาพใกล้ ควรมีความสามารถโฟกัสได้ใกล้สุดประมาณต่ำกว่า 5 ซม.จึงจะเหมาะสมถ้าโฟกัสได้ 10 ซม. หรือเกินกว่านั้น แสดงว่ากล้องดังกล่าวจะไม่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพใกล้พวกดอกไม้หรือแมลง เพราะจะทำให้ได้ขนาดวัตถุที่เล็กเกินไปในภาพ เช่นเดียวกับการถ่ายภาพระยะใกล้โดยทั่วไป สิ่งที่ต้องกังวลก็คือเรื่องของระยะชัดลึกที่เหมาะสมครอบคลุมวัตถุหลักที่เรากำลังจะถ่ายเพราะเวลาเราเข้าไปถ่ายวัตถุต่างๆ ในระยะใกล้จะได้ภาพชัดตื้นมากกว่าปกติ
ทำให้เราต้องใช้รูรับแสงที่แคบลงกว่าปกติเช่นเดียวกันเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดลึกเพียงพอ หากไม่เช่นนั้นเราอาจจะเห็นภาพชัดเฉพาะบางส่วนของดอกไม้ เช่น เกสร ดอกไม้ แต่กลีบดอกทั้งหมดไม่ชัด เป็นต้นรูรับแสงแคบ คือ เปิดเลข Fเยอะๆจะให้ภาพที่ชัดลึกในสภาพการถ่ายภาพทั่วๆไป แต่สำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้ ซึ่งเราต้องขยับไปใกล้สิ่งที่เราถ่ายมากๆ โดยธรรมชาติของมันจะทำให้ได้ภาพชัดตื้น
โดยอัตโนมัติ (การโฟกัสวัตถุสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆกับเลนส์จะได้ภาพชัดตื้น การโฟกัสภาพวัตถุที่อยู่ไกลๆ จะได้ภาพชัดลึก อันนี้เป็นกฎทางฟิสิกส์) ดังนั้นเพื่อชดเชยความชัดตื้นที่มาก กว่าปกติจากการโฟกัสสิ่งที่อยู่ใกล้นี้เอง จึงทำให้เราจำเป็นต้องใช้ขนาดรูรับแสงที่แคบกว่าปกติด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นกล้องดิจิตอลคอมแพ็คแนะนำให้ใช้รูรับแสงขนาด F8 ถ้าเป็นกล้อง D-SLR
แนะนำใช้ใช้รูรับแสงขนาด F11 ขึ้นไปและถ้าคุณใช้กล้องแบบ D-SLR และกล้องของคุณมีระบบตรวจสอบระยะชัดได้ หรือที่เรียกว่าปุ่มเช็คชัดลึก (Depth of Field Preview Button)ลองศึกษาจากคู่มือกล้อง หาดูว่าปุ่มเช็คชัดลึกอยู่ตรงไหนให้ลอง กดปุ่มนี้ดูก่อนที่จะถ่ายด้วย เพื่อตรวจสอบดูว่าขนาดรูรับแสงที่เลือกใช้นั้นได้ระยะชัด ครอบคลุมกับตรงที่ต้องการหรือเปล่าแต่ผลที่จะตามมา จากการใช้รูรับแสงที่แคบ ก็คือความเร็วของชัตเตอร์จะต่ำลงกว่าปกติมาก โดยเฉพาะภาพของดอกไม้บางทีจะอยู่ในที่ซึ่งมีแสงน้อยอยู่แล้ว ทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไปกว่าที่จะถือถ่ายด้วยมือได้จึงจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องด้วยเสมอ เวลาถ่ายภาพมาโครไม่ว่าจะเป็นดอกไม้หรือภาพมาโครชนิดอื่นๆ เพื่อให้ได้ภาพคมชัดไม่สั่นไหวหรือถ้าหากไม่มีขาตั้งกล้องแต่มีแฟลช ให้เปิดแฟลชแล้วใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เช่น  1/60 วินาที และหาบริเวณฉากหลังที่อยู่ไม่ติดกับดอกไม้ที่เรากำลังจะถ่าย และเปิดรูรับแสงที่แคบๆหน่อย เช่น  F11 หรือ  F16 และถ่ายภาพโดยใช้แฟลชจะทำภาพนั้น มีส่วนสว่างอยู่แค่ดอกไม้ที่เรากำลังจะถ่าย  แต่ฉากหลังที่ไม่โดนแสงแฟลชจะมืดดำไปทำให้เน้นตัวดอกไม้ได้อย่างชัดเจนหรือมีขาตั้งกล้อง
แต่ต้องการให้ฉากหลังดำก็ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง และใช้รูรับแสงแคบๆนี้ได้เช่นกันสำหรับโหมดในการถ่ายภาพดอกไม้ หรือภาพมาโคร แนะนำให้ใช้โหมด Av สำหรับกล้อง Canon หรือโหมด A สำหรับกล้องยี่ห้ออื่นๆ เพราะเป็นโหมดสำหรับการถ่ายภาพที่เราสามารถเลือกขนาดรูรับแสงได้เองก็ให้เราเลือกขนาดรูรับแสงตามที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ จากนั้นก็ทำการวัดแสง
กล้องจะบอกค่าความเร็วชัตเตอร์มาให้เราถ่ายไปตามนั้น แต่ก่อนถ่ายกรุณาตรวจสอบระยะชัดลึกดูก่อน ถ้ากล้องคุณมีปุ่มดังกล่าวอยู่ด้วย จากนั้นให้ทำการชดเชยแสงตามสีสันของสิ่งที่ถ่าย ถ้าสีดำหรือสีเข้มๆ ก็ชดเชยทางลบ ถ้าสีขาวหรือสีสว่างๆก็ชดเชยไปทางบวก ถ้าสีใกล้เคียงกับสีเทากลางก็ไม่ต้องชดเชยแสง ถ่ายได้เลย
      หมายเหตุ : การวางขากล้องที่ถูกต้อง คือวางให้ทั้ง 2 ข้างอยู่ใกล้กับตัวผู้ถ่ายและขาข้างที่ 3 อยู่ทางใต้ของเลนส์กล้องถ่ายรูปพอดี ทั้งนี้เพื่อให้น้ำหนักของกล้องและเลนส์ (ส่วนใหญ่จะหนักที่เลนส์) ตกลงบนขาตั้งขาที่ 3 นั้นพอดีซึ่งค้ำยันกันได้พอดี ถ้าหากไม่ทำดังนี้แล้วกล้องอาจจะคว่ำไปทางด้านหน้าได้ จำไว้ว่าขาตั้ง 3 ขาต้องมี 2 ขาอยู่ด้านหน้าผู้ถ่าย และ 1 ขาอยู่ด้านใต้
ของเลนส์จึงจะรับน้ำหนักของเลนส์ได้ไม่คว่ำไปด้านหน้า      

คำสำคัญ (Tags): #การถ่ายภาพ
หมายเลขบันทึก: 449026เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวยงามเชียวนะครับ

ของสวยงามใครก็ชอบ

ขนาดและชนิดของกล้อง มีส่วนประกอบมากน้อยเพียงใดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท