จิตสำนึก


เรื่องเล่าจากการลงไปเก็บเคสสเตียรอยด์กับพี่อ้อ แต่ไหงเราไปเจออะไรในชุมชนนี่ คนชอบทานปลาร้าต้องอ่านค่ะ เพราะท่านอาจจะได้ทาน สีย้อมผ้า ผสมอยู่ เฮ่อ ว่ากันไป   เขียนโดยพี่อ้อ (ศุภลักษณ์  พริ้งเพราะ)


 

จิตสำนึก 

 

          เรื่องของพี่หมู 

ศุภลักษณ์  พริ้งเพราะ      ผู้เขียน

               

                หลาย  ๆ คนคิดว่า  บุคคลที่จะช่วยดูแลประชาชนได้ดีที่สุด  นอกจาก  อสม.และประชาชนในชุมชนแล้ว  ยังมีบุคคลที่สำคัญอีกคนหนึ่งนั่นก็คือ  “หมออนามัย” 

เมื่อก่อนก็ไม่ค่อยจะเข้าใจสักเท่าไร  เพราะคิดว่าทุกคนทำตามหน้าที่  แต่ถามว่าความผูกพันนั้นก็คงจะมาที่หลัง  (มั่นใจอย่างนั้น) 

การที่ชาวบ้านจะยอมรับหมออนามัยสักคนหนึ่ง  ไปไหนมาไหนก็คิดถึง  มีของฝากติดไม้ติดมือไปให้  ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว  ชาวบ้านก็จะนำข้าวใหม่ไปให้หมออนามัยไว้หุง  เพราะหมออนามัยได้กลายเป็นสมาชิกของหมู่บ้านไปแล้ว   เป็นอะไรที่น่ารัก และคนที่รู้อะไร ๆ  ในหมู่บ้านดีทีสุด 

ก็คงไม่พ้นหมออนามัย 

ใครเป็นอะไร  ที่ไหน  อย่างไร    เป็นบุคคลที่มีข้อมูลในเชิงลึก  แม้กระทั่งใครโกรธกับใครก็ยังไม่พ้นที่หมออนามัยจะต้องได้รับรู้  และก็มีตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง  ที่ทำให้เราเห็นในเชิงประจักษ์ว่า  หมออนามัยรู้ข้อมูลแบบลึกสุดใจเลยก็ว่าได้

                ณ  หมู่บ้านแห่งหนึ่ง  ภายในหมู่บ้านก็มีโรงงานผลิตปลาร้าส่งไปขายยังกรุงเทพฯ  ถ้าคนไหนที่เคยทานปล้าร้า  คงจะสังเกตุเห็นว่าเนื้อปลาและน้ำจะต้องมีสีออกแดงปนน้ำตาล จะเป็นสีที่ใคร ๆ  ก็รู้ได้ทันทีว่าจะต้องอร่อย  (พูดแล้วน้ำลายไหล)  สีสวย  ๆ  หน้าทานนั่นแหล่ะค่ะ  คุณเชื่อหรือไม่ว่าเจ้าของโรงงานใส่สีปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเหมือนเรียนวิชาวาดเขียนยังงัยอย่างงั้น    (ชัวร์อยู่แล้ว  ถ้าจะให้สีสวยขนาดนั้นมันจะต้องหมักนาน  เสียเวลานาน  คงไม่ทันกิน) 

ก็ใส่สี...........ทุกคนทายถูกไหมค่ะ   

ถูกต้องแล้วสีนั้นก็คือสีย้อมผ้า 

หรือใครจะตอบสีอื่นก็ได้ถูกหมด 

ยกเว้นถ้าตอบว่าเป็นสีผสมอาหาร  ผิดแน่นอน  ร้อยเปอร์เซน 

ถามว่าเจ้าของโรงงานปลาร้าทราบไหมค่ะว่าจะต้องใช้สีผสมอาหาร 

คำตอบก็คือ  “ทราบค่ะ”

แล้ว ถามว่ามีสีผสมอาหารอยู่ที่โรงงานไหม 

ก็ขอตอบว่า  “มี” 

แต่เอาไว้ให้เจ้าหน้าที่  สสจ.ตรวจ  ใช้ไปตลอดชาติสีผสมอาหารที่นี่ก็ไม่มีวันหมด  (เพราะไม่เคยใช้เลย) 

มีพนักงานที่โรงงานแอบเอาสีไปให้หมออนามัย 

พอเห็นปุ๊บมีเหรอค่ะจะปล่อยให้ผ่าน  คุณหมอก็จัดการเชิญทีมงานจาก  สสจ.มาตรวจถึงโรงงาน  แต่เจ้าของโรงงานเอาสีย้อมผ้า ออกไปสับ เปลี่ยนกับสีผสมอาหารที่เก็บไว้ที่เล้าไก่  มาให้เจ้าหน้าที่  สสจ.ดู 

พอเห็นปั๊บ  ก็สรุปว่าไม่มีอะไร  ทั้ง  ๆ  ที่หมออนามัยของเรามีสีย้อมผ้าอยู่ในมือให้ดู 

สรุปสุดท้ายจริง  ๆ  ก็ไม่มีอะไรในกอไผ่    และแล้วรถบรรทุกคันนั้นที่เดินทางพร้อมกับปลาร้าอีกเต็มคันรถมุ่งหน้าสู่ตลาดสี่มุมเมือง  กรุงเทพมหานคร 

ถ้าเราทุกคนช่วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโรงงานถ้าผู้บริโภคทานของคุณแล้วตายไปจากโลกนี้กันหมด  แล้วคุณจะขายให้ใคร  สู้ทำผลิตภัณฑ์ที่ดี  ๆ  สู่ท้องตลาด  รวยได้อีกนานชั่วลูกชั่วหลาน 

หมายเลขบันทึก: 448750เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท