พระพรหมของลูก


พ่อแม่คือพระพรหมของลูก

พ่อแม่ คือ พระพรหมของลูก 

 ทุกท่านคงจะเคยเห็น พระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ หรือตามสถานที่ต่างๆ  พระพรหมมี 4 หน้า 4 กร เป็นสิ่งเคารพสักการะอันสูงของชาวฮินดู ว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เป็นผู้ลิขิตชีวิตคนเราได้ทั้งดีทั้งร้าย

 แต่พระพรหม คือ แม่ พระพุทธองค์ตรัสว่ามี  4 หน้า เหมือนกัน แต่เป็นหน้าของคุณธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหารธรรม คือ

1.  หน้า เมตตา : รัก ปรารถนาดีต่อลูกด้วยความบริสุทธิ์ใจ

    ปราศจากราคะ อคติ  ปรารถนาให้ลูกอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุขในที่ทุกถาน จนความ พยาบาทไม่สามารถจะแทรก แซงเข้าไปในหัวในของคนเป็นพ่อเป็นแม่ได้  พ่อแม่ปลูกต้นรัก บานสุพรั่งกับลูกเสมอ ด้วยชีวิต  โดยไม่คิดถึงความเหนื่อยยากลำบากใดๆ ของตนเองเลย  ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน พ่อแม่อดตาหลับขับตานอน ป้อนข้าวน้ำ กล่อมเห่ไกวเปลอยู่กับลูกทุกลมหายใจ

2. หน้ากรุณา : รัก สงสาร ปรารถนาให้ลูกพ้นจากทุกข์ภัย

    ไม่อยากให้ลูกประสบความเดือดร้อนตกระกำลำบาก ด้วยภยันตรายต่างๆ อันมาจาก วิหิงสา ยามลูกเจ็บปวด ป่วยไข้ ถึงแม้ไม่มาก พ่อแม่ก็หวั่นวิตก อกสั่นขวัญแขวนอยู่ตลอดเวลา  อะไรที่พ่อแม่คิดปลดเปลื้องทุกข์ได้ ก็ยินดีจัดการให้ทันที แม้ชีวิตก็เสียสละเพื่อแลกกับความทุกข์ยากของลูกได้ ข้อนี้จะไม่มีในคนอื่นเลย

3. หน้ามุทิตา : รักปรารถนาดี

   เมื่อทราบว่าลูกได้ดี  มีจิตใจ เยือกเย็น ชุ่มชื่น เบิกบาน สดใส  ก็ปราศจากความริษยาใดๆ ทั้งสิ้น ยามใดลูกประสบความสำเร็จ ไม่ว่า การศึกษา การทำงาน การดำเนินชีวิต พ่อแม่จะเอิบอิ่มใจ ร่าเริงยินดี อันนี้ถือเป็นหน้าตาในสังคม และเป็นเกียรติของวงศ์ตระกูล

4.หน้าอุเบกขา : รักและวางใจ

  เมื่อยามลูกรักได้ดี พ่อแม่ก็มีความสุข เมื่อเห็นลูกได้รับทุกข์อันตราย เกินสติปัญญาที่พ่อแม่จะช่วยได้ ก็ไม่คิดอคติซ้ำเติมใส่ร้ายป้ายสี หรือเหยียดหยามประณามใดๆ  ที่ทำให้ลูกต้องเสียในยิ่งขึ้น  โดยรู้เห็นตามความเป็นจริง จึงต้องวางใจเป็นกลาง  ดังคำกลอนว่า

ความรักของแม่ที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ เที่ยงแท้แน่นอน ดัง คำกลอนว่า        

                        รักใดเล่า  รักแน่  เท่าแม่รัก

                   ผูกสมัคร  รักลูกมั่น  มิหวั่นไหว

                   ห่วงใดเล่า เท่าแม่ห่วง  ดังดวงใจ

                   ที่แม่ให้  กับลูก  อยู่ทุกครา

                   ยามลูกขื่น แม่ขม  ตรมหลายเท่า

                   ยามลูกเศร้า แม่โศก วิโยคกว่า

                   ยามลูกหาย  แม่ห่วง คอยดวงตา

                   ยามลูกมา แม่หมด ลดห่วงใย

           

หมายเลขบันทึก: 448675เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท