เคล็ด ( ไม่ ) ลับ : เมื่อเป็นไข้เลือดออก


         

                          

 

           วันนี้มาทบทวน ระลึกความหลังก็ว่าได้ค่ะ เพราะเมื่อธันวาคมปีก่อน (2553) คุณแม่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก  น่าอายทีเดียวเพราะเป็นถึงบุคลากรสาธารณสุขเองก็ยังป่วยกับเขาด้วยเหมือนกัน

 

          ช่วงนี้เข้าฤดูฝนแล้ว โรคนี้ก็กลับมาชุกอีกตามเคย  สถานการณ์เปลี่ยนไป เพราะไม่เฉพาะเด็ก ๆ เท่านั้นที่ป่วย แต่ผู้ใหญ่เองก็เป็นได้ แถบป่วยแล้วรุนแรงกว่าเด็กเสียอีกค่ะ

 

                  

 

        อาการเริ่มแรก ตอนนี้แยกยากเพราะมาได้ด้วยอาการหลากหลาย บางคน เป็นเหมือนไข้หวัด คือ ไข้  หน้าแดง มีจ้ำหรือจุดเลือดตามลำตัว แขน ขา  ไอ น้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือแม้กระทั่งถ่ายเหลว   เรียกระยะนี้ว่าระยะไข้  ใช้ระยะเวลา 2-7 วัน  ช่วงนี้ปวดศีรษะมากเพราะไข้สูง  ต้องคอยเช็ดตัวบ่อย ๆ กินน้ำเยอะ ๆ

 

         ระยะต่อมาคือระยะช๊อค  ระยะนี้จะไม่มีไข้ อาการคือ ซึม เหงื่อออก ตัวเย็น ปวดท้องชีพจรเต้นเบา  อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระดำ ใช้ระยะเวลา 1-2 วัน 

 

        หากพ้นระยะนี้จะเป็นระยะพักฟื้น  สังเกตง่าย ๆ คือ อยากรับประทานอาหาร กินได้มากขึ้น ชีพจรเต้นแรงและช้าลง บางคนมีจุดเลือดออกตามตัว คัน

 

        การรักษา ส่วนมากแพทย์จะให้เรานอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาตามอาการ คือ การให้สารน้ำหรือที่เรา ๆ เรียกว่า ให้น้ำเกลือ  ต้องเจาะเลือดบ่อย ๆ ตามระยะของโรค  เช่น เจาะเลือด ทุก 2 ,4, 6, 8   เป็นต้น แล้วแต่ว่าใครจะอยู่ในระยะใด

                         

       ให้ยาลดไข้ หมอจะให้เฉพาะพาราเซทตามอล เท่านั้น จะไม่ให้แอสไพรินเด็ดขาด เพราะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น หากเข้าระยะช๊อค   หากมีคลื่นไส้อาเจียน ให้ยาแก้อาเจียน ปวดท้องให้ยาแก้ปวดท้อง  

 

      *** หากเราเป็นพ่อแม่  สังเกตว่าไข้ลูกไม่ลด 2-3 วันควรรีบมาโรงพยาบาล    ช่วงที่นอนที่บ้านให้เฉพาะยาพาราเซทตามอลเท่านั่น   หรือพบว่าลูกซึมลง เหงื่อออก ตัวเย็น ปวดท้อง  กระสับกระส่าย หน้ามืด เป็นลม  ควรรีบมาโรงพยาบาลเท่าที  ****

 

         การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่จะเจาะเลือดดูเกร็ดเลือดว่าต่ำหรือไม่ บางคนอาจปกติ ซึ่งอาจทำให้คลาดเคลื่อนได้ ตอนนี้เขามักจะเจาะ ภูมิต่อไวรัสแดงกี่ (dengue titer)    

 

         ส่วนการคัดกรองโดยใช้สายรัดแขน ดูว่ามีจุดแดงจามแขน นั่น จะใช้ร่วมเบื้องต้น หากไม่มี แต่อาการแสดงให้เห็นหรือสงสัยแพทย์จะเจาะเลือดซ้ำอีกรอบ บางคนอาจจะนัดมาเจาะทุกวัน หากมีอาการไม่รุนแรง 

 

       การป้องกัน

 แน่นอนว่าเราควรนอนกลางมุ้ง ระวังไม่ให้ยุงกัด หมั่นคว่ำน้ำที่ขังตามโอ่ง อ่าง กะละมัง หรือปิดผ้าให้มิดชิด หมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกัน บ่อย ๆ ทุก 7 วัน

                      

 

คำสำคัญ (Tags): #ไข้เลือดออก
หมายเลขบันทึก: 448525เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท