ชื่นชมคุณหมอณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์


เป็นที่น่ายินดีว่า 3 ปีให้หลังนี้จำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักลดลง โดยคุณหมอณัฐสันนิษฐานว่าอาจเกิดการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้ม ด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสมรวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อป้องกันการสะดุดล้ม

วันนี้ทางกลุ่ม Non-Pharmacologic Management of Osteoporosis มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดประชุมวิชาการประจำปีเรื่อง การป้องกันโรคกระดูกพรุน : ปัญหาระดับชาติ ให้แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

ในภาคบ่ายได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนคนปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันโรคกระดูกพรุน ดิฉันประทับใจคุณหมอณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์

                             

อดีตหัวหน้าแผนกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดลำปาง ท่านได้เล่าถึงที่มาที่ไปในการจัดทำโครงการป้องกันโรคกระดูกพรุน ว่าได้ทำการศึกษาย้อนหลังถึงจำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะเพิ่มมากถึง 12%ใน 10 ปี จึงได้รวบรวมทีมทำงานประกอบด้วยคุณหมอณัฐพงศ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร นักสุขศึกษา ช่วยกันรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคกระดูกพรุนและป้องกันการหกล้ม ให้กับชุมชนในเขตจังหวัดลำปาง โดยอาศัยโรงเรียนบ้าง วัดบ้าง เป็นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ จนกระทั่งใน 2 ปีให้หลังนี้ทางชุมชนเป็นผู้ทำโครงการป้องกันนี้เองและได้เชิญทีมทางโรงพยาบาลศูนย์จังหวัดลำปางไปเป็นวิทยากร ทางชุมชนช่วยกันคิดสูตรอาหารพื้นบ้านที่มีแคลเซี่ยมสูง และคิดท่าออกกำลังกายกันเองในรูปแบบต่างๆ จนจัดให้มีการแข่งขันกันประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศดังกล่าว ยังรู้สึกชื่นชมทีมงานเป็นอย่างมากจนต้องเชิญให้มาเล่าสู่กันฟังในวันนี้

คุณหมอณัฐบอกว่าจะต้องมีเป้าหมายชัดเจนก่อนในการจะเริ่มทำโครงการ ทีมมีความสำคัญที่จะทำใหโครงการยั่งยืน เนื่องจากหมอณัฐวางรากฐานไว้ดี โครงการนี้ก็ยังดำเนินได้อย่างต่อเนื่องและมอบหมายให้คุณหมออรัญ เป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นหัวหน้าโครงการต่อไป เพราะคุณหมอณัฐก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารของโรงพยาบาลแล้ว นอกจากนี้ต้องถ่ายทอดแนวคิดนี้ให้ชุมชนดูแลกันเองได้ พึ่งตนเองได้ โดยทีมคอยเป็นพี่เลี้ยงให้อยู่ห่างๆ

เป็นที่น่ายินดีว่า 3 ปีให้หลังนี้จำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักลดลง โดยคุณหมอณัฐสันนิษฐานว่าอาจเกิดการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้ม ด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสมรวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อป้องกันการสะดุดล้ม

ทางมูลนิธิฯจะคอยตามรอยต่อไป และขอยกนิ้วให้เป็น Best Practice ของกิจกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน รายละเอียดเรื่องเล่าเมื่อได้ upload VDO ลงเว็บของมูลนิธิฯ( www.topf.or.th ) จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

หมายเลขบันทึก: 448057เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันนั้นได้ฟังด้วยคะ ขอชื่นชมทีมลำปางที่บริหารจัดการเรื่องโรคกระดูกพรุนได้ครบวงจร โดยเฉพาะคุณหมอณัฐพงษ์หัวหน้าทีมที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง

มีแนวโน้ม ว่าสมุนไพร บางอย่าง บางชนิด อาจจะครบวงจร ทุกเรื่อง ของ ปัญหาสาธารณสุข ในปัจจุบัน

คล้ายๆ กับ กินขมิ้น ในอาหาร เครื่องแกง เรื่อยๆ ไม่มากเกินไปนัก

การรู้จักทานอาหาร และ สมุนไพร จะช่วยต่อยอด จากการ รู้จัก บริหารร่างกาย

สองอย่าง ต้องไปด้วยกัน ห้ามแยกจากกัน ไม่มีข้อยกเว้น ทั้งสองอย่าง สำคัญ เท่ากัน

ห้ามบอกว่า ใครดีกว่าใคร การรู้จักกิน สำคัญ เท่ากับ รู้จักกายบริหาร

หมอณัฐพงศ์ ท่านเรียนแพทย์รุ่นน้องผม แต่ทางการบริหาร เป็นลูกพี่ผม คุยกันทีไร ก็มีไฟทำงาน สมองแล่น อายุ เท่านี้ มีความสามารถ รู้จักคิด วางแผน ให้ส่วนร่วม ก็นับว่าเป็นตัวอย่างเรื่องเล่า ของ ชาว รพ.ลำปาง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท