“บัญชีกลาง” จับมือ 13 สถาบันการเงิน ร่วมลงนามโครงการนำบำเหน็จตกทอดค้ำประกันการกู้เงิน


“บัญชีกลาง” จับมือ 13 สถาบันการเงิน ร่วมลงนามโครงการนำบำเหน็จตกทอดค้ำประกันการกู้เงิน

อธิบดีกรมบัญชีกลางร่วมลงนามกับตัวแทนจากสถาบันการเงิน 13 แห่ง ในโครงการนำบำเหน็จตกทอดค้ำประกันการกู้เงิน โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เป็นประธาน

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 กรมบัญชีกลางได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการนำบำเหน็จตกทอด
ค้ำประกันการกู้เงินระหว่างกรมบัญชีกลาง และสถาบันการเงิน 13 แห่ง ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมี
นายอารีพงศ์  ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัดงานในวันนี้สืบเนื่องจากที่มีนโยบายให้ความช่วยเหลือแก่ข้าราชการผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ซึ่งมีรายได้จากเงินบำนาญจำนวนไม่มากนัก ให้มีโอกาสเพิ่มขึ้น ในการกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยนำเงินบำเหน็จตกทอดที่ทายาทจะได้รับมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงิน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงิน 13 แห่ง และเพื่อให้การดำเนินการทางด้านนิติกรรมเป็นไปอย่างถูกกฎหมาย จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ การดำเนินโครงการนี้จะเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญดีขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอีกทางหนึ่งด้วย โดยวงเงินที่สถาบันการเงินจะปล่อยสิ้นเชื่อ
ในโครงการนี้ มีจำนวนกว่า 60,000 ล้านบาท หากมีการกู้เงินกันเต็มสิทธิที่ได้รับ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มปล่อยสินเชื่อได้ตั้งแต่ สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป

นายอารีพงศ์ กล่าวว่า การร่วมมือดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 และพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 บัญญัติให้ผู้รับบำนาญและผู้รับบำนาญพิเศษ
เหตุทุพพลภาพนำสิทธิบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญและสอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ที่จะมีทางเลือกในการกู้เงินกับสถาบันการเงินมากขึ้น โครงการนี้สำเร็จลุล่วงได้เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี จึงขอขอบคุณมาในโอกาสนี้ด้วย

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า การร่วมลงนามครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ที่ได้รับเงินบำนาญต่อเดือนไม่มากนัก มีทางเลือกด้านการเงินเพิ่มขึ้นที่จะสามารถมีเงินนำมาลงทุนประกอบอาชีพ หรือซ่อมบำรุงที่อยู่อาศัย โดยการกู้เงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำและสามารถผ่อนได้

ระยะยาว โดยมีสถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการทั้ง 13 แห่ง ได้แก่ 1. ธนาคารกรุงเทพ 2. ธนาคารกรุงไทย 3. ธนาคารกสิกรไทย 4. ธนาคารทหารไทย 5. ธนาคารไทยพาณิชย์ 6. ธนาคารนครหลวงไทยธนชาต 7. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย 8. ธนาคารไทยเครดิต 9. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 11. ธนาคารออมสิน 12. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ 13. ธนาคารอิสลาม
แห่งประเทศไทย

พร้อมกันนี้ กรมบัญชีกลางได้เตรียมความพร้อมในเรื่องระบบการตรวจสอบสิทธิ การตรวจสอบข้อมูล และการอนุมัติวงเงินบำเหน็จตกทอด ระหว่างกรมบัญชีกลาง ส่วนราชการ และธนาคารเรียบร้อยแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง
จะออกหนังสืออนุมัติรับรองสิทธิวงเงินบำเหน็จตกทอด ส่งให้ผู้รับบำนาญตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ เพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบการขอกู้เงินกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยสามารถยื่นคำร้องขอรับรองสิทธิได้ที่หน่วยงานที่เคยรับราชการ ในพื้นที่ที่พักอาศัยหรือใกล้เคียง โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน่วยงานสุดท้ายก่อนออกจากราชการ แบบคำร้อง สามารถขอรับได้ที่หน่วยงานที่จะไปยื่นคำขอ หรือสำนักงานคลังจังหวัด ทั่วประเทศ และสำนักงานคลังเขต 9 เขต หรือสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 0-2270-6400

หมายเลขบันทึก: 447994เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

1.รับไปแล้ว สองแสน จะกู้ได้เท่าไร

ตอบ ข้าราชการบำนาญ

ตามหลักการแล้ว สิทธิบำเหน็จตกทอดที่จะนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้

คือ เงินบำนาญ+ชคบ. x 30 เท่า หัก ด้วยบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้ว

สวัสดีครับกรมบัญชีกลาง

อยากเรียนถามว่า"บำเหน็จตกทอดค้ำประกันการกู้เงิน รวมไปถึง บำเหน็จตกทอดของลูกจ้าง ตามข้อ 15 /4 15/ 5 ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พศ. 2519 หมวด 3/2 ตามประกาศวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 ด้วยหรือไม่

ขอความกรุณา ช่วยให้ความกระจ่างด้วย

ขอขอบคุณ

ข้าราชการบำนาญสมาชิกกบข.

ข้าราชการบำนาญสมาชิก กบข. จะมีความหวังได้ มีสิทธิ์ใช้เงินบำเหน็จตกทอดค้ำประกันเงินกู้ได้เมื่อไหร่ค่ะ กรุณาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

ข้าราชการบำนาญที่ติดเครดิตบูโรจะมีสิทธิกู้เงินในโครงการบำเหน็จตกทอดคําประกันเงินกู้ไค้หรื่อไม่กรุณาตอบให้ทราบด้วยขอบคุณครับ

ตอบ คบเพลิงกับงู

การนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์การค้ำประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินนั้น ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มลูกจ้างที่รับบำเหน็จตกทอด ตาม รบ. กระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างตามข้อ 15 /4 15/ 5 ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พศ. 2519 หมวด 3/2 ตามประกาศวันที่ 30 พฤษภาคม 2554

ตอบ ข้าราชการบำนาญสมาชิกกบข.

สำหรับข้าราชการบำนาญที่เป็นสมาชิกกบข. อดใจรออีกนิด เพราะขณะนี้กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน ของข้าราชการบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. อยู่ระหว่างรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามในกฎหมายฉบับดังกล่าว

ตอบ บำนาญ47

สำหรับข้าราชการบำนาญที่ติดเครดิตบูโร ไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าจะใช้สิทธิได้หรือไม่ ดังนั้นเบื้องต้น แนะนำให้ไปยื่นคำรองขอรับหนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินที่ส่วนราชการต้นสังกัดก่อน เมื่อได้หนังสือรับรองสิทธิฯ แล้ว นำหนังสือนั้น ไปที่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมบัญชีกลาง (มี 13 ธนาคาร) ทางธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาการอนุมัติเงินกู้เป็นรายๆ

ได้โปรดเห็นใจครูบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข.ด้วยในการนำบำเหน็จตกทอดใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ขอให้ได้ใช้สิทธิบ้างถ้าใช้สิทธิได้เมื่อไรรบกวนตอบกลับด้วยขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

การส่งค่างวดช้าหนึ่งงวดทำไมต้องติดยูโรเมื่อไม่มีการฟ้องหรือเป็นผู้ค้ำคนอื่นเมื่อนำบำเหน็จตกทอดประกันเงินกู้ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการเห็นควรพิจารณาการขอรับรองสิทธิ์จากหน่วยจะได้ไม่ลำบากใจหรือกรมบัญชีกลางกำหนดแบบฟรอมไห้จะขอบพระคุณมากข้าราชการทุกนายที่คบวาระเกษีญไม่รวยทุกคนครับ

วิสุทธิโฉม วุฒิพงศ์ประเสริฐ

มีความประสงค์จะกู้เงินตามโครงการข้างต้น จะต้องทำอย่างไรคะ และหนังสือรับรองดังกล่าวจะให้หน่วยงานใดออก ปัจจุบันดิฉันรับบำนาญ อยู่ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรปราการค่ะ หรือว่า ทางกรมบัญชีกลางจะจัดส่งเอกสารการรับรองมาให้ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปหรือไม่ กรุณาให้คำตอบที่ชัดเจนด้วยค่ะ ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ดีใจค่ะที่มีโครงการแบบนี้อย่างน้อยก็ได้ใช้เงินบ้างก่อนที่จะเสียชีวิต ให้มีความสุขในบั้นปลายบ้าง

แต่การขอเอกสารหนังสือรับรองยากมากเสียเวลานานมากหลายวันกว่าทางต้นสังกัดจะดำเนินการให้เจ้าหน้าที่บ้างคน

ไม่รู้เรื่องเลย ไม่เคยทราบว่าจะมีโครงการให้ข้าราชการบำนาญ

อยากทราบว่ากู้ได้สูงสุดเท่าไร

แล้วหักเดือนเท่าไร

ตอบ คุณวิสุทธิโฉม คุณชนาภา และคุณบุศยา

หลักเกณฑ์ การยื่นคำร้องเพื่อขอใบรับรองการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน

1. ต้องเป็นข้าราชการบำนาญ (ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. ถ้าเป็นสมาชิก กบข. อดใจรออีกนิด กฎหมายอยู่ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา)

2. - รับแบบคำร้องเพื่อขอรับหนังสือรับรองการใช้สิทธิที่ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ (แบบคำร้องสามารถ down load ได้ที่หน้า web site ของกรมบัญชีกลางหรือขอที่สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ หรือขอที่ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ)

- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วยื่นคำร้องที่ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ ไม่ต้องมาที่กรมบัญชีกลาง

3. เมื่อส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว จะส่งข้อมูลผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์มาที่กรมบัญชีกลาง และกรมบัญชีกลางจะตรวจสอบการรับบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้ว เพื่อจะได้รับรองเงินบำเหน็จตกทอดในส่วนที่เหลือสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์การประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ ซึ่งวงเงินในหนังสือรับรองฯ นั้น จะไม่เกินสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่เหลือ

4.เมื่อได้รับหนังสือรับรองฯ ซึ่งกรมบัญชีกลางจะจัดส่งให้ตามที่อยู่ที่ได้กรอกไว้ในแบบฟอร์ม ให้นำหนังสือรับรองฯ ไปติดต่อที่สถาบันการเงินที่ได้ทำ mou กับกรมบัญชีกลางไว้

- วงเงินที่สถาบันการเงินจะให้กู้นั้น จะไม่เกินสิทธิในหนังสือรับรองจากกรมบัญชีกลาง

- หักเดือนละเท่าไหร่อยู่ในดุลยพินิจของสถาบันการเงิน

1.ผมเป็นข้าราชการบำนาญ (ที่เป็นสมาชิก กบข.) เดิมเงินเดือน 44300 บาท รับบำนาญแค่ 25080 บาท หายไปเกือบครึ่ง ได้เงิน

ทดแทน (รับเงิน กบข.7 แสนบาท) มองดูเหมือนเป็นข้าราชการบำนาญ ชั้น 2

2.เพื่อนๆๆผมที่ไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ หัวเราะเยาะผม กู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยใช้บำเหน็จตกทอดที่เหลือค้ำประกัน

ก็ได้รับกันไปเรียบร้อยแล้ว แล้วก้อได้รับเยอะด้วยเพราะเงินบำนาญมาก (ไม่เป็น กบข.) ผมถูกหัวเราะเยาะ 2 ต่อ ทั้งๆ ที่เป็น

ข้าราชการบำนาญเหมือนกัน (หัวเราะครั้งแรก เงินบำนาญพวกเขามากกว่า หัวเราะครั้งที่ 2 กู้เงินได้ก่อนพวกผม ซึ่งปฏิบัติ

ตามนโยบายของรัฐมาตลอด)

3.ธนาคารออมสิน จ่ายสลากออมสินให้กับผู้กู้กับ ธ. .5%ของวงเงินที่กู้ แต่ไม่เกิน 2200 บาท แต่ต้องไม่ปิดบัญชีก่อน 1 ปี ให้กับผู้

ใช้บริการ 500 ท่านแรก (งานนี้พวกบำนาญ กบข.ก้อหมดสิทธิ ทั้งๆ ที่ผมไปจองคิวกับธนาคารออมสินได้คิวที่ 300 คนแรก)

4.หากผู้รับผิดชอบคิดได้ก้อคงไม่เลือกปฏิบัติ ข้าราชการบำนาญ(ปกติ) กับข้าราชการบำนาญ (กบข.) จริงๆแล้วเป็นข้าราชการ

บำนาญเหมือนกัน ถ้าจะให้ใช้สิทธิ์ในการ ขอกู้ได้พร้อมกัน เพียงกรมบัญชีกลางกำหนดแบบฟอร์มให้ข้าราชการบำนาญ(กบข.)

ยินยอมว่าจะใช้สิทธิ์ในตัวเงินบำเหน็จตกทอดจากฐานเงินในปัจจุบันเป็นตัวคำประกันและไม่ขอเรียกร้องสิทธิ์ที่อาจได้รับเพิ่ม

ก็สามารถกู้เงินได้พร้อมกัน ไม่ถูกหัวเราะเยาะจากข้าราชการบำนาญด้วยกัน (ผมสงสัยว่าผมคงได้รับบำนาญลดลงจากเดิมแน่ๆๆ)

บัญชีกลางจึงแบ่งแยกกลุ่มไม่ยอมรับรองบำเหน็จส่วนที่เหลือให้)

5.ช่วยแนะนำด้วย ผมจะไปฟ้องศาลปกครองได้มั๊ย กู้เงินได้ที่หลังของ ธ.ออมสิน ก้อหมดสิทธิ์ได้รับสลากประมาณ 2000 บาท การ

วางแผนใช้เงินผิดพลาดหมด ต้องจ่ายดอกเงินกู้ร้อยละ 20 ต่อเดือนไปอีกเท่าไหร่ (น่าน้อยใจจริงๆๆ) ถ้าผมต้องคอยให้ผมหัวเราะทีหลังดังกว่าซักนิดได้มั๊ย คือ เงินบำเหน็จตกทอดที่เหลือได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมปัจจุบัน และเงินบำนาญต้องเพิ่มขึ้น ณ วันที่สั่งด้วย) ผมถึงจะหายข้องใจ ถึงแก่ก้อยังคิดได้ครับ ไม่ได้กินหญ้าเป็นอาหาร ขอบคุณมากนะครับ

ขอความกรูณาให้ข้าราชการบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. ได้กู้เงินบำเหน็จตกทอดด้วยนะคะ ดิฉันอยากสร้างบ้านใหม่ กลัวน้ำท่วมค่ะ และอยากเปิดร้านขายยาเล็กๆ จะได้มีเงินใช้แต่ละเดือน ตอนนี้ไปยื่นคำร้องรอไว้แล้วค่ะ

ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

ครูโคราช

รบกวนสอบถามครับคถณพ่อผมเป็นข้าราชการบำนาญ ได้รับบำนาญเดือนละ 22000 รวม ชคบ. อีก 9000 เป็น 31000 บาท

รับบำเหน็จดำรงชีพมาแล้ว 2 ครั้ง ประมาณ 400000 บาทครับ ตอนนี้ท่านอายุ 80 ไม่ทราบว่าจะทำเรื่องกู้แบ๊งค์ได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ

ข้าราชการบำนาญสมาชิกกบข.

ไม่ทราบว่าขณะนี้ท่านรัฐมนตรีได้ลงนามให้ข้าราชการบำนาญสมาชิก กบข ได้รับการนำเงินบำเหน็จตกทอด ไปค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการได้หรือยัง เป็นข้าราชการบำนาญเหมือนกัน น่าจะได้พร้อมกันนะคะ รอนานแล้วจะได้กู้เอาเงินไปซ่อมแซมบ้านเสียทีค่ะ กรุณาแจ้งข่าวความคืบหน้าให้ข้าราชการสมาชิก กบข.ทราบด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ได้ไปขอใบคำร้องที่สำนักงานที่ทำเรื่องจ่ายบำนาญ ก็รับเอกสารมา อยากทราบว่า เมื่อส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดขอบแล้ว ใช้เวลานานเท่าไร จึงจะได้รับหนังสือใบรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอคจากทางราชการ ได้ทราบมาว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะไดัจัดส่งให้ผู้รับบำนาญถึงบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่รู้ฃ้อมูล ไดัแจ้งให้ทราบจะได้ใช้เป็นขัอมูลวางแผนทางการเงินต่อไป ขอขอบคุณ ครับ

ตอบ ครูโคราช ลูหทหารเก่า ข้าราชการบำนาญสมาชิกกบข.และณเดช

ผู้ที่มีสิทธิจะขอหนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับธนาคารนั้น ต้องเป็นข้าราชการบำนาญปกติหรือข้าราชการบำนาญเหตุพิเศษทุพพลภาพ ดังนั้น อายุของผู้รับบำนาญจะไม่เกี่ยวข้อง

ขณะนี้ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. สามารถขอใช้สิทธิดังกล่าวได้แล้ว เพราะกฎกระทรวงฯ ได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 4 สค. 54

ส่วนระยะเวลาการได้รับหนังสือรับรองสิทธิฯ นั้น ขึ้นอยู่กับส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ ถ้าส่งเรื่องเข้ามาในระบบบำเหน็จค้ำประกัน เมื่อไหร่ กรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังจังหวัด สามารถตรวจสอบข้อมูลและออกหนังสือรับรองสิทธิฯ ได้ภายในวันนั้น (ถ้าผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือไม่ติดราชการอื่น)

แล้วส่วนของข้าราชการท้องถิ่น เช่น ข้าราชเขตของ กทม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำไมถึงยังกู้ตรงนี้ไม่ได้ ติดแค่เรื่องแก้กฏหมายลูกกับลายเซ็นต์ รมต. เท่านั้นหรือครับ

สอบถามหน่อยครับ  เงินบำเหน็จดำรงชีพ  คือเงินอะไร ได้ตอนไหนครับ ผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ ผมเป็นข้าราชการสมาชิก กบข ครับ

ปัจจุบัน(เม.ย.59)มีข้าราชการบำนาญอยู่จำนวนหนึ่งที่มีความเดือดร้อนในการกู้เงินบำเหน็จตกทอด คือกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ Undo (คืนเงิน กบข.เพื่อรับบำนาญสูตรเดิม)เนื่องจากเคยกู้เงินบำเหน็จตกทอดไปครั้งแรก(ยอดเงินบำนาญสูตร กบข.)ต่อมาเมื่อคืนเงินเพื่อรับบำนาญสูตรเดิมแล้วเป็นผลให้เงินบำนาญสูงขึ้น และแน่นอนเงินบำเหน็จตกทอดก็เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อต้องการกู้เงินบำเหน็จตกทอด(ส่วนที่เพิ่ม)กลับได้รับคำตอบจากธนาคาร(ทหารไทย)ว่าต้องปิดบัญชีเป็น 0 ถึงจะสามารถยื่นกู้ใหม่ได้ ในขณะที่กรณีเดียวกันนี้ธนาคารอื่นสามารถให้ยื่นกู้ได้เลยและหักลบกลบหนี้กันได้เลยยกเว้นธนาคารทหารไทย จึงขอวิงวอนไปถึงผู้มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยกรุณาแก้ไขจุดนี้ด้วย เพราะข้าราชการที่ต้องการเงินมาแก้ปัญหาครอบครัวไม่สามารถหาเงินก้อนไปปิดบัญชีได้เลย มีความเดือดร้อนมาก

รบกวนขอข้อมูลหน่อยคับ ผมรับเบี้ยหวัดมา3ปีแล้วเหลืออีกประมาณ7-8ปีจะปรับเป็นบำเหน็จ อยากทราบว่าตอนเรารับเบี้ยหวัดนี้จะกู้เงินจากธนาคารได้ต้องทำอย่างไรคับ

ผมเป็นหนี้ธ.กรุงไทยเมื่อปลดเกษียณ700,000บาทแต่พออายุได้65ปีมีสิทธิรับเงินจากบำเน็จตกทอดอีก200,000บาทและพออายุ70ปีก็มีสิทธิรับเงินอีก100,000บาทผมไม่สามารถทำอะไรได้เลยหนี้ก็ยังคงเดิมเพราะเอาเงินบำเน็จตกทอดไปค้ำประกันกับธนาคารแล้วจึงอยากเรียนถามว่าผมอยากใช้สิทธิตรง200,000+100,000บาทไปใช้หนี้กับธนาคารเพิ่อให้หนี้สินผมลดลงจะได้ไหมจึงเรียนมาเพื่อให้เป็นแนวทางที่จะก่อประโยชน์กับกระผมบ้าง

ผมติดเคนดิตบูโร ธ.กรุงเทพสาขาราชบุรีไม่อนุมัติเงินกู้ต้องทำไงดีคับ

ผมติดเคนดิตบูโร ธ.กรุงเทพสาขาราชบุรีไม่อนุมัติเงินกู้ต้องทำไงดีคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท