ฝุ่น ควัน กัมมันตรังสี นิวเคลีย


สมัครเวป GotoKnow.org เสร็จเป็นอันเรียบร้อย ตามที่อาจารย์สั่ง >.<
ในขณะที่อีกแท๊ปนึงของบราวเซอร์ก็เปิดเฟสบุ๊ค ชมหน้าเพจของอาจารสมชัย ( Somchai Krongsomboon CEO โฟโต้ฮัทกรุ๊ป(ประเทศไทย) ) กดอ่านบันทึกไปเรื่อยๆ กะจะหาเทคนิคการถ่ายภาพดีๆ แต่ดันมาเปิดเจอเรื่อง "กัมมันตรังสี" - -* พอดิบพอดีกับทีวีที่เปิดอยู่ ก็เป็นเรื่อง"กัมมันตรังสี" พอดิบพอดี เลยขออณุญาติ ลอกงานมาแปะไว้เป็นที่ระลึก ^^

มาเริ่มกันเลย

 

หลายคนเริ่มสงสัยว่า การที่มีฝุ่นควันกัมมันตรังสีพวกนี้แพร่กระจายในชั้นบรรยากาศ มันจะไปได้ไกลแค่ไหน

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโดนเข้าให้แล้วหรือ ถ้ามีความจำเป็นจะต้องไปในพื้นที่ ที่อาจมีการปนเปื้อนจริงๆ จะทำอย่างไร

ก่อนที่จะเข้าใจวิธีการปฏิบัติตัว เรามาย้อนดูประวัติศาสตร์ และเรียนรู้ไปด้วยกันกับเหตุการณ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ Chernobyl ประเทศยูเครนกันก่อนซักนิดนึง

เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เชอร์โนบิล

เกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ปีค.ศ. 1986

เหตุการณ์วันนั้นเกิดจากกระแสไฟกระชากเกิน มีการปิดเครื่องไปแล้วและรอจนเครื่องเย็น พอเจ้าหน้าที่ทำการ boost เปิดเครื่องใหม่แต่เนื่องจากว่าตัว core ที่เพิ่งปิดไปยังไม่เสถียรและ ระบบหล่อเย็นยังไม่สามารถควบคุมให้อุณหภูมิคงที่ได้จึงเกิดการระเบิดขึ้น

 จะเห็นได้ว่าการระเบิดที่เชอร์โนบิล แทบจะเรียกได้ว่าเป็น man error ล้วนๆเพราะว่าพนักงานสองกะ ทำงานกันไม่ประสาน และ ไม่ได้ทำตาม protocol ที่ได้ร่างไว้(คนอนุมัติในการเปิดเครื่องใหม่ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนด)

 ในการระเบิดครั้งแรก เกิดจากห้องระบายไอร้อนระเบิดเพราะว่ามีความดันสูงเกินกว่าจะระเหยได้ทัน ซึ่งทำให้น้ำในระบบหล่อเย็นรั่วออกทันทีทุกคนคงคาดได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อระบบหล่อเย็นไม่ทำงานการระเบิดลูกที่สองอันเกิดจากปฏิกิริยาปรมาณูเกิดขึ้นตามมาอีก 2 วินาที

 อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สารกัมมันตรังสีกระจายออกมากขึ้นคือตัวแกรไฟต์ที่ใช้บรรจุเกิดลุกติดไฟในอากาศ ความร้อนและลมเป็นส่วนส่งเสริมอย่างดีให้สารกัมมันตรังสีกระจายไปทั่วประเทศ สารในตอนนั้นคือ Xe (xenon isotope) และ I-131

 มีคนตายทันทีทั้งสิ้น 50 คน และ ตามมาหลังจากนั้นอีก 4000 คนจากมะเร็งที่คาดว่าเป็นผลพวงจากสารกัมมันตรังสี

กลับมายังประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ fukushima สาเหตุมาจาก ธรรมชาติ หลังเหตุการณ์สึนามิ ตัวระบบหล่อเย็นหยุดทำงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตัว “แกน” ระเบิด จึงได้ใช้น้ำจากทะเลปั๊มเข้าเพื่อหล่อเย็นแทน ทั้งตัวเตาที่ 1 และ 3 ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้

 

แล้วสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วออกมาคือ สารอะไรล่ะ

สำหรับสารกัมมันตรังสีที่ออกมาคราวนี้คือ I-131 ซึ่งเป็นตัวต้นปฏิกิริยา ก่อนที่จะกลายเป็น Xe (ซีนอน)(สารที่รั่วออกมาที่เชอร์โนบิลนั่นแหละ)

ถ้าใครเรียนแพทย์ หรือว่าเคยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะร้อง “อ๋อ” ทันที สาร I-131 เป็นสารกัมมันตรังสีที่เราคุ้นเคยในวงการแพทย์มากๆ เราใช้ในการรักษาคนไข้ไทรอยด์เป็นพิษ โดยการให้กลืนแร่นี้ เพื่อไปหยุดการทำงานของต่อมไทรอยด์

 สิ่งที่น่าแปลกก็คือ I-131 ที่เราให้กิน ถือว่าเป็นปริมาณ dose ที่สูง เพราะเราหวังผลให้ไป “หยุด” การทำงานของต่อมไทรอยด์ ทางการแพทย์เราให้ “ตูมเดียวหยุด” ขณะที่ การให้ ปริมาณ “น้อยๆแต่นานๆ” อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เกิดมะเร็งได้

 ใครที่เคยกิน “แร่ไอโอดีน” จะทราบดีว่า แพทย์จะแนะนำให้ท่าน อยู่ในรพ.ซักสองสามวัน ในห้องที่มีฉากสังกะสีกั้นสองด้าน เพื่อป้องการกัน “แพร่กระจาย” ของสารกัมมันตภาพรังสี สารไอโอดีน จะถูกขับออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ โดยทั่วไปจะแนะนำให้คนไข้ทำความสะอาดห้องน้ำบ่อยๆ

 สารที่ออกมาจากร่างกายนั้นเป็นปริมาณน้อยมากๆ แทบจะไม่มีผลต่อคนที่อยู่ด้วย

แต่เพื่อเป็นการป้องกัน รวมถึงเด็กๆที่มีความเสี่ยงสูงกว่า จึงแนะนำให้อยู่รพ.ซัก 2-3 วันและทำความสะอาดห้องน้ำทุกครั้งที่เข้า รวมไปถึง (ถ้าเป็นไปได้) งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 เดือน และ ห้ามท้องอีก 6 เดือน

 

พิษของ I-131

 

โดยทั่วไปแล้ว ไอโอดีน (ที่ไม่ใช่ 131) เป็นแร่ธาตุตามปกติที่เรากินกันอยู่ คงจะเคยได้ยิน ประมาณว่า มาม่าเพิ่มไอโอดีน เนื้อปลามีไอโอดีน แจกไอโอดีนเด็กภูเขา กินกันเอ๋อ

 ไอโอดีนตัวนี้ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาซึ่งมีผลในการช่วยการเผาพลาญพลังงานในร่างกาย เสริมสมอง เพิ่มการทำงานของร่างกาย

 ในทางกลับกัน I-131 ที่เป็นสารกัมมันตรังสี มีผลในการ “หยุด” การทำงานของต่อมไทยรอยด์ (และส่วนมากคือ หยุดถาวร) เมื่อมีการระเบิดหรือปนเปื้อน สาร I-131 มักจะอยู่ในผัก หรือ อาหาร และจะเข้าไปสะสมในร่างกายไปที่ต่อมไทยรอยด์เมื่อกินเข้าไป

 หากได้ต่อเนื่องกันเป็นปริมาณมาก ก็จะก่อให้เกิดภาวะ “มะเร็งต่อมไทรอยด์” หรือ อาจจะอย่างอ่อนๆคือ “ไทรอยด์อักเสบ” (ซึ่งรักษาได้)

 จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอายุมากเมื่อเทียบกับเด็ก หากได้รับสาร I-131 ในปริมาณเท่ากัน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งน้อยกว่าเด็ก

 

จะป้องกัน I-131 อย่างไรดีละในกรณีที่จำเป็นต้องไป?

 

ถ้าฟังข่าวจะเห็นว่า  ที่ญี่ปุ่นเขาแจก ไอโอดีน กินกัน อย่างที่อธิบายไปแล้วว่า ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องนำไปใช้ โดยเก็บไว้ที่ต่อมไทรอยด์

ดังนั้น การกินไอโอดีน (ธรรมดา) ก็เพื่อไป แย่งจับกับ receptor ที่ไทรอยด์ ก่อนที่จะโดน I-131 แย่งจับ 

อธิบายง่ายๆ ก็เหมือนกับ ร่างกายเรามีโกดังเก็บไอโอดีนอยู่ 100 แห่ง โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เอาไอโอดีนมาเก็บจากท่าเรือ

ไม่ทราบว่า กล่องไหนที่จะเอาไปเก็บ เป็น ไอโอดีนธรรมดา หรือ I-131 (ไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี)

ดังนั้นเพื่อเป็นการดักทางไว้ เราก็เลย รีบๆ “เติม” ไอโอดีนธรรมดา ให้เจ้าหน้าที่เอาไปเก็บๆให้เต็มโกดังซะ เมื่อเวลาที่ดันกิน I-131 เข้าไปโดยไม่ตั้งใจเจ้าหน้าที่จะได้ไม่เอาไปเก็บเพิ่ม เพราะว่ามัน “เต็มแล้ว” เหตุเกิดที่เชอร์โนบิล มีคนเป็นมะเร็งเยอะ ก็เพราะส่วนหนึ่งไม่ได้รับแจก “ไอโอดีน” กัน

 

จะไปญี่ปุ่นอีกเดือนสองเดือน แร่ I-131 มันอยู่นานไหมเนี่ยะ?

 

ค่าครึ่งชีวิต (half life) ของ I-131 อยู่ที่ 8 วัน (มันน่าจะหายไปหมดจากอากาศและน้ำโดยรอบในเวลาประมาณ 10xhalf life = 80 วัน) ส่วนมากหากปนเปื้อน ก็จะปนเปื้อนกับอาหารที่กินมากกว่า

 

พิษของ Caesium (Cs) ซีเซี่ยม

 

สารกัมมันตรังสีอีกตัวที่ตรวจจับได้ที่ fukushima คือ Cs (ซีเซี่ยม ต่อไปนี้ขอย่อว่า Cs) ตัว Cs เองมีถึง 39 isotope มีตั้งแต่ Cs 135 ที่มีค่าครึ่งชีวิตถึง 2.3ล้านปี!! แต่ Cs ที่รั่วออกมาคือ Isotope 137 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี (ยาวอยู่ดีแหละ) 

ส่วนมากแล้ว Cs จะมีพิษและผลรุนแรงน้อยกว่า I-131 ดังที่กล่าวข้างต้น ในกรณีที่ได้รับสาร Cs ตรงๆเป็นปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการแพ้ คัน อย่างรุนแรง หรือชักเกร็งกระตุก

การปนเปื้อนของ Cs-137 มักจะตกข้างในพืชผัก แต่ไม่ต้องห่วงปกติแล้ว Cs ไม่ใช่สารกัมมันตภาพรังสีที่จะสามารถสะสมได้ในร่างกาย เหมือนกับ I-131

เมื่อกิน Cs-137 เข้าไป ร่างกายจะขับออกมาอย่างรวดเร็วในรูปเหงื่อและ ปัสสาวะโอกาสที่จะเป็นมะเร็งจาก Cs คือต้องกินสารปนเปื้อนนั้น เป็นระยะเวลานานๆต่อเนื่องกันมากกว่า

รายงานจากเพนตากอนพบว่า ตัวอย่างน้ำทะเลที่ห่างจากโรงงานออกไปถึง 60 ไมล์ ยังพบสารกัมมันตภาพ ซึ่งคาดว่าจะเป็น ซีเซี่ยม-137 (Cesium-137) และ ไอโอดีน-131 (Iodine-131) ปนเปื้อนอยู่ เจ้าสารไอโอดีน-131นี้เป็นกัมมันภาพรังสีเดียวกับที่เคยรั่วเมื่อสมัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และพบว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์ถึง 6,000-7,000 รายในครั้งนั้น ข่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเร่งดำเนินการแจกยาโพแทสเซี่ยมไอโอไดด์ให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเจ้ายาที่แจกนี้จะเข้าไปช่วยขัดขวางเจ้าสารกัมมันตภาพรังสี ไม่ให้ไปสะสมที่ต่อมธัยรอยด์มากนัก และช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในผู้ที่ได้รับสารกัมมันภาพรังสีได้ แต่แน่นอนว่า เจ้าหน้าที่คงไม่สามารถแจกยาหรือกระทำการใดๆ เพื่อลดการสะสมของสารกัมมันตภาพรังสี ให้กับเหล่าปลาในพื้นที่แถบนั้น จึงแน่นอนว่าปลาและน้ำทะเลโดยรอบจะถูกปนเปื้อนโดยสารไอโอดีน-131นี้ อย่างไรก็ตาม เจ้าสารไอโอดีน-131นี้ มีอายุขัย หรือที่เรียกกันภาษาวิทยาศาสตร์ว่า half-life เพียง 8 วัน นั่นหมายความว่า มันน่าจะหายไปหมดจากอากาศและน้ำโดยรอบในเวลาประมาณ 80 วัน ... เฮ้อ

แต่ข่าวร้ายคือ เจ้าสารกัมมันตภาพรังสีอีกตัวหนึ่งคือ ซีเซี่ยม-137 นั้นมีอายุขัย หรือ half-life ถึง 30 ปี นั่นหมายความว่ามันจะอยู่ในน้ำทะเล หมู่ปลาเล็กใหญ่ในห่วงโซ่อาหารได้นานนับร้อยปี!! พบว่าสารซีเซี่ยม-137นี้สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดหรือลิวคีเมีย มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

มาถึง ณ จุดนี้ คุณผู้อ่านพอนึกภาพออกหรือยัง ว่าการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเพียงเล็กน้อย ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ คร่าชีวิตเพื่อนร่วมโลกของเราไปร่วมหมื่น จะส่งผลชิ่งกระทบมาถึงการสั้นลงของอายุขัยของเราได้อย่างไร “มันมากับปลา!!!” นับจากนี้ไป ปลาดิบอร่อยๆชั้นดีที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งเราไม่มีทางจะทราบได้ว่ามาจากท้องทะเลส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น และแน่นอนว่า ระบบการตรวจสอบกัมมันภาพรังสีปนเปื้อนในอาหารนำเข้าของไทยเรา ก็คงน่าเชื่อถือเกินกว่าที่เราจะเชื่อถือได้ ว่าจะตรวจสอบอะไรพบ

อย่างไรก็ตาม เหล่าบรรดา “ปลาดิบเลิฟเวอร์” ทั้งหลาย อย่าเพิ่งโห่ไล่ผู้เขียนลงจากเวที ที่ว่ามานี้ ไม่ได้จะบอกว่าให้เลิกบริโภคปลาดิบจากญี่ปุ่น  แต่เราต้องฉลาดบริโภค ด้วยความกังวลต่อสุขภาพแต่มีใจรักการทานปลา

 

ทิป การรับประทานปลาที่น่าจะช่วยให้ชาวซูชิเลิฟเวอร์ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

1. งดรับประทานปลาดิบนำเข้าจากญี่ปุ่นก่อน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนโดยประมาณ เพราะอย่างที่ว่าไปว่า เจ้าไอโอดีน-131นั้น จะคงอยู่ได้ประมาณ 80 วันในบรรยากาศ อาจหันไปรับประทานปลาดิบจากฝั่งอลาสก้า ปลาดิบที่เลี้ยงในฟาร์ม หรือหันมารับประทานปลาไทยๆที่นำมานึ่ง ทอด ต้ม บ้าง (แต่ปลาดิบไทยเนี่ย... อาจอันตรายกว่าปลาดิบจากลุ่มน้ำแถบฟุกุชิม่า!!)

2. หลังจากพ้นสามเดือนไปแล้ว หากอยากจะรับประทานปลาดิบญี่ปุ่น พยายามเลือกรับประทานปลาตัวเล็ก ที่อายุขัยสั้น อยู่ตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะมีการสะสมของสารกัมมันตภาพรังสี และสารพิษต่างๆน้อยกว่า รายชื่อเมนูปลอดภัย(กว่า)ได้แก่ ฮิราเมะซาชิมิ ออยสเตอร์ หอยเชลล์(scallop) กุ้ง เป็นต้น ส่วนปลาตัวใหญ่อายุยืนยาวเช่น ทูน่า นั้น แน่นอนว่า อาจยังมีซีเซี่ยม-137ตกค้างอย

3. หากจับพลัดจับผลู ต้องไปร้านอาหารญี่ปุ่นในช่วงสามเดือนนี้ อาจสั่งเป็นเป็นประเภทที่ทำสุกแล้ว เช่น แคลิฟอร์เนียโรล ซึ่งมีเนื้อปูสุกและปลาไหลปรุงสุกเป็นส่วนประกอบหลัก

4. แน่นอนว่า แม้จะไม่มีการรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ในปัจจุบัน ก็มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี และสารพิษต่างๆอยู่แล้วในระดับต่ำๆ ที่ร่างกายเราพอจะรับและกำจัดได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานเช่น การดูแลรักษาตับซึ่งเป็นโรงงานกำจัดสารพิษในร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการไม่ดื่มสุรา และรับประทานผักในกลุ่มบร็อคโคลี่ หรือ กะหล่ำดอก ซึ่งมีสาร Indole-3-carbinol ช่วยการทำงานของเอนไซม์ขับสารพิษภายในตับหรือ การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดปริมาณไขมันส่วนเกิน อันเป็นแหล่งสะสมของสารพิษให้น้อยที่สุด ก็ถือเป็นการดูแลสุขภาพพื้นฐาน ที่ควรจะปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

หมายเลขบันทึก: 447660เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 01:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท