แนวคิดทฤษฏี “Connectivism”


Journal  ครั้งที่ 3

เรื่อง แนวคิดทฤษฏี “Connectivism”

 

@กราบเรียน     ท่านอาจารย์ ดร.ประเสริฐ  มงคล ที่เคารพรัก

 

                        อาจารย์คะจากที่หนูได้มีโอกาสพูดคุยกับกลุ่มเพื่อนอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเดียวกันซึ่งได้สอนในรายวิชาเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่บ่อยครั้งหนูจะต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนอาจารย์กลุ่มนี้ แล้วหัวข้อสนทนากันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นที่นิยมหรือเป็นที่รู้จักในยุคสมัยนี้ก็เลยมี ปรากฏทฤษฏีชื่อ “connectivism” ซึ่งเป็นทฤษฏีที่กำลังเข้ามามีบทบาทซึ่งก็ด้วยความอยากรู้อยากเห็นและต้องการทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร..หนูก็เลยมีโอกาสที่จะศึกษาหาข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ จึงขออนุญาตนำเรียนอาจารย์เท่าที่หนูค้นคว้ามานะคะ ทฤษฏีนี้ ตามวิกิพีเดีย (Wikipedia:EN) ก็พอจะอธิบายได้ว่าเป็นแนวคิด ซึ่งมีฐานแนวคิดมาจาก วีกอตสกี (Vygotsky : Activity Theory)และแบนดูรา(Bandura : Social Cognitive Learning Theory)ที่เน้นทฤษฏีสังคมและวัฒนธรรม ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะส่งเสริมความฉลาดและกระบวนการเรียนรู้ในพัฒนาการของมนุษย์โดยผ่านปฏิสัมพันธ์  (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ George  Siemens   และ Stephen Downes คือเจ้าของทฤษฏี ซึ่งทฤษฏีนี้มุ่งเน้นไปที่ความรู้รอบตัวมากกว่าความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล Stephen Downes มองการจัดการเรียนรู้แยกส่วนว่า การสอนคือการทำเป็นแบบอย่างและการสาธิตแสดงให้เห็น ส่วนการเรียนคือการฝึกปฏิบัติและการสะท้อนความคิด มีการให้ความหมายว่าเป็นทฤษฏีการเรียนรู้ในยุคดิจิตอล หนูขออธิบายนะคะว่า บนโลกของเราเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ มากมาย ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบของภาพ  เสียง สัญลักษณ์   ข้อความ อารมณ์ของเรา ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งหมดถูกเรียกว่าโหนด (node) ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วๆ  ไป และโหนดต่างๆ เหล่านี้ก็อาจสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ ได้มากมาย จุดนี้จึงทำให้เห็นการเชื่อมโยงเหล่านี้ว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไรและสัมพันธ์อย่างไร  ทำให้เกิดรูปแบบจากการเชื่อมโยงที่ทำให้เกิดความรู้ในตัวผู้เรียนได้ จากสิ่งที่เรียนรู้ดังกล่าวทำให้หนูคิดว่ามันมีส่วนคล้าย ๆ กับทฤษฏี Constructivism ที่เน้นกระบวนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีบางประเด็นที่หนูขออธิบายเปรียบเทียบกันดังนี้

  1. Connectivism จะมองโหนดต่างๆ ว่าอยู่ได้ทุกที่ทุกทาง และการเชื่อมโยงไม่จำเป็นต้องเกิดในสมองมนุษย์เพียงอย่างเดียวแต่ข้อมูลจะเชื่อมโยงจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งได้เสมอ (อาจจะเป็นคนกับต้นไม้สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีก็ได้ ) ซึ่งต่างกับ Constructivism ที่อธิบายถึงการที่ข้อมูลเดินทางเข้าไปยังสมองและเกิดการประมวลการ ตีความ โดยความรู้เดิมๆ  ประสบการณ์เดิมและเกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเกิดกระบวนการเฉพาะบุคคลขึ้นที่เรียกว่ากระบวนการเรียนรู้

 2. Constructivism  อธิบายถึงการเชื่อมโยงข้อมูล มีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่ทำให้เกิดความรู้ อาจขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งตัวบุคคลและสิ่งที่มีปฏิสัมพันธ์ ความพร้อม สภาวะและอะไรอีกหลายอย่าง ในขณะที่ Connectivism  ให้ความหมายกับทุกสิ่งทุกอย่างที่่เกิดจากการเชื่อมโยง 3. ส่วน Constructivism จะอธิบายถึงการเชื่อมโยงอันเกิดจากการรับข้อมูลใหม่เพียงเท่านั้น

ความรู้จึง “ถูกสร้าง” (construct) ขึ้น ส่วน Connectivism พูดถึงความรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกเชื่อมโยงเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องถูกสร้างขึ้นมา เพราะถ้าหากความรู้ถูกสร้างแล้วการแก้ไขจะเกิดขึ้นได้ยากและถ้าหากมีการรับข้อมูลใหม่ขึ้นมา ความรู้ก็จะถูกจัดระเบียบขึ้นมาใหม่  ซึ่งคนเราอาจไม่ได้สร้างความรู้ขึ้นมาใหม่ได้เสมอๆ เพียงแค่เรามีการเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเดิมเท่านั้นเอง ถ้ามีการแก้ไขใดๆ เราก็จะแก้เฉพาะส่วนที่มันเชื่อมโยงกันอยู่  ซึ่งหากเรามีการแก้แบบทั้งโครงสร้างของความรู้ นั่นอาจจะหมายถึงการที่เราเจตนาและตั้งใจกับสิ่ง ๆ นั้น และอาจจะกล่าวได้ว่ามันอาจจะเกิดได้กับบางคนและบางเหตุการณ์เท่านั้น

                        จากที่หนูได้พยายามหาความหมายและอธิบายความแตกต่าง (อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด) ก็ถือว่าทฤษฏีนี้มีความน่าสนใจตามยุคสมัยปัจจุบันแต่ก็อาจจะมีการวิพากย์วิจารณ์กันในรายละเอียดอีกหลายประการแต่อย่างไรก็ตามถือเป็นความรู้ใหม่ที่อาจจะสนับสนุนแนวคิดในเชิง IT มากกว่าที่จะสามารถอธิบายในเชิงการจัดการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้ของคนค่อนข้างเป็นสิ่งที่ซับซ้อน และมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ซึ่งทฤษฏีนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน

 

ด้วยความเคารพรักอาจารย์อย่างสูง 

น.ส.สุจิตรา ปันดี  54253910

                                                  ศิษย์สาขาหลักสูตรและการนิเทศ 



คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 447412เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2011 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แอบมารับความรู้ ๑ กระบุงครับ ;)...

ขอบคุณครับ

อาจจะมีบางสิ่งที่ขาดตกบกพร่องไป มาเติมเต็มร่วมกันได้นะคะ

อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฏี "Connectivism" คะ ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท