ดวงดาว


ดุดาวไห้สวยได้อย่างไร

 

 

การเตรียมตัวในการดูดาวเรื่องที่ง่ายมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือตัวเราเองจะต้องมีความพร้อม จิตใจพร้อมในการดูดาวตลอดเวลา ในการพร้อมที่จะดูดาวทุกเมื่อนอกจากใจแล้วต้องรู้ว่าบนฟากฟ้ามีดาวอะไรอยู่ ต้องศึกษาเสียก่อนจากหนังสืออ่าน การดูดาวข้างต้นที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ต้องมีแผนที่ดูดาว แผนที่ดูดาวเป็นสิ่งจำเป็นมากไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ดูดาวเก่งขนาดไหนก็ตามจะต้องมีแผนที่ เหมือนกับการที่จำเป็นต้องมีแผนที่โลก เวลาจะเดินไปทางไหนมาไหนจะต้องมีแผนที่ ในแผนที่ในคู่มือ และมีความพร้อมที่จะดูดาวทุกเมื่อ เข้าใจเกี่ยวกับดาวบนฟ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งเพราะโลก เพราะอาศัยอยู่บนโลกที่เคลื่อนที่ ต้องนึกถึงการหมุนรอบตัวเองของโลก และการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ของโลก 2 อย่างนี้จะตั้งต้นดูดาวได้โดยไม่ยากเลย

 

 

 

ภาพจากหน่วยงานผลิตภาพถ่ายและไมโครฟอร์ม
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

 

 

สิ่งแรกการสังเกตและรู้จักทิศทางเสียก่อน คือบนท้องฟ้าที่มีดาวอยู่มากมายใช้บอกทิศได้ แต่ในกรณีที่ท่านไม่รู้จักดาวแล้วก็จะต้องอาศัยเครื่องมืออย่างอื่น เช่น ในเวลากลางวันก็มีดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ขึ้น-ตกก็สามารถกำหนดทิศทางได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังด้วยว่าพระอาทิตย์ขึ้น-ตกในวันไหน เพราะว่าการขึ้นหรือการตกของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันนั้นไม่ได้ตกตรงทิศตะวันตกทุกวัน เช่น ในหน้าหนาวเดือนธันวาคมนั้น ตกค่อนข้างจะเฉียงไปทางใต้มาก เป็นต้น เมื่อเห็นจุดพระอาทิตย์ตกไปแล้ว ก็สามารถจะชี้ทิศไปทางตะวันตกได้โดยตรง เมื่อได้ทิศตะวันตกก็หาทิศอื่นตามมาก ทิศเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้ เมื่อรู้จากทิศเวลาที่จะเอาแผนที่ไปใช้ก็ใช้แผนที่ตามทิศที่ว่า โดยเฉพาะแผนที่ของสมาคมดาราศาสตร์ไทยมีแผนที่ 2 ทิศทาง คือทางทิศเหนือด้านหนึ่ง และ

 

 

 

ทางทิศใต้อีกด้านหนึ่ง ใช้แต่ละทิศตามความต้องการ เพราะว่าแผนที่ชนิดนี้ใช้สะดวกไม่ยาก เพียงแต่หมุนเวลาไปตรงกับวันที่ และเวลาที่ต้องการดูจะทำให้เห็น ดาวในแผนที่เหมือนกับดาวบนท้องฟ้าหรือว่าดาวบนฟ้าเหมือนดาวในแผนที่ วิธีการดูจะต้องรู้ทิศก่อน แล้วก็รู้วิธีที่จะวัดมุมอย่างง่าย ๆ ด้วย เหมือนกับว่าในแผนที่จะบอกว่าดาวดวงอยู่ทางทิศไหน อยู่สูงจากขอบฟ้าเป็นมุมเท่าไร ใช้วิธีวัดมุมง่าย ๆ วิธีวัดมุมง่าย ๆ ทุกคนใช้มือได้ มือของตัวเองถ้ายืดไปตรง 1 นิ้ว ก็ประมาณ 1 องศา หมายความว่ายืดไปตรง ๆ ยื่นไปข้างหน้า 1 นิ้ว บังอะไรบนฟ้าได้ อะไรบนฟ้าที่อยู่บนฟ้าที่ว่านั้น ประมาณ 1 องศา ถ้า 3 นิ้วติดกัน 5 องศา ถ้าซัก 1 กำมือก็ประมาณ 10 องศา แล้วถ้าเอานิ้วชี้ถ่างออกมาจากนิ้วก้อยก็ประมาณ 15 องศา และถ้าหากถ่างออกทั้งหมดทั้ง 5 นิ้ว ปลายหัวแม่มือด้วยแล้วก็ดูปลายนิ้วก้อยด้วยก็ประมาณบางคนอาจจะถึง 25 องศา บางคนยืดไม่มากก็แค่ 20 องศา เป็นต้น คือต้องรู้วิธีวัดมุมอย่างง่าย ก็จะได้รู้ว่าดาว 2 ดวง ที่ว่าห่างกัน 5 องศาจริง

การดูดาวโดยทั่ว ๆ ไปต้องเข้าใจว่าดาวแต่ละไม่เหมือนกัน เช่น บางคนดูดาวบนฟ้าแล้วรู้สึกว่า ดาวทำไมมากเหลือเกิน เหมือนกันทุกดวง ความจริงไม่ใช่ ดาวมีลักษณะแตกต่างกันอยู่มาก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือประเภทที่อยู่ใกล้ ๆ พวกหนึ่ง และประเภทที่อยู่ไกล ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็คือยู่ในระบบสุริยะ ระบบสุริยะมีน้อย ที่เห็นด้วยตาเปล่าจำได้ง่ายเพราะว่ามี 7 ดวงเท่านั้น 7 ดวงที่ว่าก็คือดาวที่ตั้งเป็นชื่อวันนั่นเอง รู้จักดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์กันทุกคน ดาวเคราะห์ 5 ดวงที่เห็นด้วยตาเปล่าบนฟ้าในขั้นแรกจะต้องสามารถรบอกได้ว่าดวงไหนเป็นดาวอังคาร ดวงไหนเป็นดาวพุธ ดวงไหนเป็นดาวพฤหัส ดวงไหนเป็นดาวศุกร์ ดวงไหนเป็นดาวเสาร์ ซึ่งเป็นสิ่งไม่ยาก ดูให้เข้าใจลักษณะนี้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรทั้งสิ้นนอกจากตาเปล่าแล้วก็คอยติดตาม บังเอิญในแผนที่ไม่มีตำแหน่งดาวเคราะห์กลุ่มนี้ ไม่มีตำแหน่งดวงจันทร์ไม่มีตำแหน่งดวงอาทิตย์แต่ก็ไม่ยาก อุปกรณ์อย่างอื่นที่พูดถึงว่าต้องมีกล้องดูดาวไม่จำเป็นในตอนแรก เพราะกล้องดูดาวมีข้อจำกัดในหลายประการ การส่องดูดาวเคราะห์ก็เห็นวงแหวน เห็นความสวยงามของดาวเสาร์เป็นไปได้แต่นำกล้องไปสู่ดูดาวลูกไก่ก็เห็นจุดสว่าง เห็นจำนวนเพิ่มขึ้น ไม่ได้ใหญ่โตขึ้นมา เป็นข้อจำกัด เพราะว่ากล้องดูดาวที่ดี ๆ ราคาแพง ก่อนซื้อกล้องดูดาวจะต้องดูดาวให้เป็นก่อน ต้องรู้ว่าจะนำกล้องดูดาวทำอะไร อาจจะซื้อกล้องที่เรียกว่ากล้อง 2 ตา ซึ่งอาจจะเหมาะเพราะว่าใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นำไปดูของที่อยู่ไกล ๆ อย่างเช่น ดูนกก็ดูได้ ดูดาวลูกไก่ก็ดูได้ในกล้อง 2 ตา เพราะเห็นจำนวนมากขึ้นในกรุงเทพฯ เห็นดาวได้น้อยถ้านำกล้อง 2 ตาไปส่องจะเห็นดีขึ้นอย่างเช่นบางแห่งไม่เห็นดาวเหนือแต่ถ้าเอากล้อง 2 ตา ไปส่องแล้วปรากฏขึ้นมาอย่างนี้เป็นต้น ใช้อุปกรณ์นอกจากแผนที่ดาวแล้ว ถ้าจะมีเงินก็ซื้อกล้อง 2 ตา

สำหรับการเริ่มต้นจะแนะนำก็คือว่าพยายามรู้จักดาวที่สว่างมาก ๆ เสียก่อน ดาวเคราะห์ได้ชื่อว่าเป็นดาวที่สว่างมาก ๆ สว่างกว่าดาวฤกษ์ สว่างกว่าอื่น ๆ เรียงเป็นกลุ่มเป็นหมู่ ดาวเคราะห์สว่างไม่คงที่ดาวศุกร์สว่างที่สุดรู้จักง่ายเพราะจะเห็นในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกดาวรุ่ง ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลาหัวค่ำก็เป็นดาวประจำเมือง หลายเดือนถึงจะเห็นดาวประจำเมือง เพราะฉะนั้นดาวศุกร์จำง่าย ดวงที่สว่างรองลงไปอีกก็คือดาวพระพฤหัสบดี ดาวพระพฤหัสบดีสว่างรองลงไป แล้วก็สว่างกว่าดาวฤกษ์เยอะทีเดียว ระยะนี้เป็นระยะที่เห็นดาวพฤหัสบดีง่ายเพราะเห็นตั้งแต่หัวค่ำ ดาวที่สว่างมาก ๆ อยู่สูงนั้นคือดาวพฤหัสบดี แต่ว่าดาวพฤหัสบดีจะมีคู่แข่งที่สว่างมากขึ้นก็คือดาวอังคาร แต่ดาวอังคารมีสีแดงแล้วโดยส่วนมากดาวอังคารสว่างน้อยกว่าดาวพฤหัสบดี จะมาสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีทุก ๆ 15 ปี ถึง 14 ปี ไม่ใช่ทุกปี เพราะฉะนั้นดาวอังคารก็ตัดไปได้ ในเรื่องที่มาสว่างแข่งกว่าดาวพระพฤหัสบดีที่ว่าก็คือ สีมันแดง เป็นการมองด้วยตาเปล่าทั้งนั้น ดาวเสาร์จะสว่างขึ้นตอนที่อยู่ใกล้โลก ที่สว่างยากก็อาจจะเป็นดาวพุธ เพราะว่าดาวพุธนั้นปรากฏ อยู่ใกล้ขอบฟ้า อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่สว่างมาก ๆ ที่เป็นดาวฤกษ์มีประมาณ 21 ดวงเท่านั้น บนฟ้า ทุกหน ทุกแห่ง เพราะฉะนั้น 21 ดวงนี้จะให้รู้จัก ทุกดวงจะมีชื่อเฉพาะอย่าง เช่น ดาวฤกษ์ ที่สว่างที่สุดบนฟ้าเวลากลางคืนชื่อว่าดาวซิริอาสซ์ คนไทยเรียกว่าดาวโจร หรือดาวสุนัขเป็นต้น หรือดาวอยู่ใกล้ ๆ กันที่สว่างอยู่ในอีกกลุ่มหนึ่งถัดไปก็คือดาวโปรซิคอน ชื่ออาจจะแปลก แต่มีชื่อเป็นภาษาไทยอย่างเช่น ดาวดวงแก้ว อย่างนี้สว่างสุกแสงเหมือนแก้วก็ควรจะรู้จัก ไปที่ไหนก็เห็นเป็นดาวสว่าง อยู่ในกรุงเทพฯ ก็เห็นไปบ้านนอกยิ่งเห็นสว่างสุกใสเป็นดวงเด่นที่สุดในกลุ่มเพราะฉะนั้นในการรู้จักกลุ่มดาวควรจะรู้จักดาวที่เด่นมากกว่าส่วนที่เห็นเรียงกันอยู่เป็นรูปร่างดูในแผ่นที่ดาวเป็นกลุ่มเดียวกัน โยงเส้นต่อด้วยกันคือดาวดวงใดบ้าง พยายามหาก่อน เช่น กลุ่มดาวที่เรียกว่ากลุ่มดาวจระเข้มีอยู่ 7 ดวง เรียงกัน 7 ดวงที่ว่าดวงไหนบ้าง พยายามไล่เรียงตามให้ได้ถ้าไปดูแผนที่ดาวที่เขาทำขึ้นหรือดูในหนังสือบางเล่มก็จะละเอียด จะบอกให้ชัดเจนถ้าจะดูกลุ่มหมี ดาวสิงห์โตมีดาวอยู่ 15 ดวง ดวงใดบ้างก็ไปไล่ตามนั้น กลุ่มทั้งหมดมี 88 กลุ่ม ไม่จำเป็นจะต้องรู้หมด 88 กลุ่ม มีกลุ่มเด่น ๆ เพียงไม่กี่กลุ่ม กลุ่มเด่น ๆ ที่ว่าก็คือกลุ่มที่มีดาวฤกษ์ที่สว่างมาก ๆ อยู่ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ค่อย ๆ รู้จักไปทีละกลุ่มสองกลุ่ม จากกลุ่มที่รู้จักดีแล้วก็นำไปสู่กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #จุฑาภรณ์
หมายเลขบันทึก: 447239เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2011 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท