เปลไกวช่วยผู้ใหญ่หลับง่าย [EN]


สำนักข่าว USA Today ตีพิมพ์เรื่อง 'Study: Rocking hammock promotes faster, deeper sleep' = "(การศึกษาพบ): เปลไกว(โปรโมต ส่งเสริม สนับสนุน)ช่วยหลับเร็ว-ลึกขึ้น", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ hammock ] > [ แฮ้ม' - หมัค - k ] > http://www.thefreedictionary.com/hammock; http://mw1.merriam-webster.com/dictionary/hammock; คำนี้ออกเสียงแปลกไป เนื่องจากคำเดิมมาจากภาษาสเปน
  • สเปนเป็นประเทศที่ฝรั่งรบกับชาวอาหรับจากโมรอกโกจากตอนเหนือของอาฟริกา (เขตซาฮารา) นาน, ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ต้นกำเนิดเปลอาจมาจากอาฟริกาได้
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Current Biology) พบว่า เปลทำให้ผู้ใหญ่หลับง่ายขึ้นด้วย ตรงนี้เป็นโอกาสสำหรับคนไทยที่จะทำเปลไกวไว้ขายผู้ใหญ่เช่นกัน
.
การศึกษาทำในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย 12 คนที่ไม่เป็นโรคนอนไม่หลับ ทดลองให้นอนเปลช่วงสั้นๆ (naps) 45 นาที โดยใช้เปลที่ไกวช้าๆ ด้วยมอเตอร์อัตโนมัติ เปรียบเทียบกับการไม่ไกวเปล
.
ผลการตรวจคลื่นสมอง (EEG) พบว่า การไกวเปลทำให้หลับเร็วขึ้น และลึกขึ้น
.
คณะวิจัยกล่าวว่า การศึกษารอบต่อไปจะทำในผู้หญิง ซึ่งมีความยุ่งยากในการศึกษามากกว่า เนื่องจากรอบเดือนมีผลต่อวงจรการนอน และคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)
.
การศึกษารอบต่อไปในผู้หญิงคงจะต้องเลือกช่วงเวลาของรอบเดือนในอาสาสมัครให้ตรงกันพอดี เช่น ก่อนรอบเดือน กลางรอบเดือน ปลายรอบเดือน ฯลฯ ให้เหมือนๆ กัน
.
การนอนเปลมีจุดดีหลายอย่าง เช่น อากาศถ่ายเทได้สะดวกกว่าที่นอนทั่วไป ป้องกันสัตว์ไต่ตอมหรือรบกวนได้ดีกว่านอนพื้น ฯลฯ
.
ข้อควรระวังให้มาก คือ การนอนเปลเพิ่มเสี่ยงต่อการตกเตียง หรือในที่นี้ คือ การตกเปล
.
เว็บไซต์ต่างประเทศมีตัวอย่างการทำ "เตียงเปล" โดยทำเชือกห้อยจากเพดาน นำมาผูกไว้ให้ครบ 4 มุม และอาจโยงไว้กับอะไรในแนวนอน
.
ท่านที่มีไอเดียอาจจะออกแบบเตียงที่ไกวได้ช้าๆ ซึ่งถ้าทำได้ดี อาจทำเงินได้ไม่น้อยทีเดียว
.
วันนี้เป็นวันดีของคนไทย คือ คนไทย (รวมทั้งผู้เขียน) ได้ไปเลือกตั้ง สส. จึงขอถือโอกาสแสดงความยินดีกับ ท่าน สส.ใหม่ และรัฐบาลใหม่มา ณ ที่นี้
.
ขอให้คนไทยให้โอกาสรัฐบาลใหม่ทำงาน เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไกลต่อไป
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 3 กรกฎาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 447146เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2011 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท