ลดน้ำหนัก-ลดเสี่ยงเบาหวาน


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Type 2 diabetes in newly diagnosed 'can be reversed' = "เบาหวานชนิดที่ 2  (พบในผู้ใหญ่ และเด็กอ้วน) รายใหม่ (ได้รับการวินิจฉัยใหม่) หายได้ (reverse = พลิกกลับ กลับทาง กลับด้าน)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า เบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ทว่า... การรักษาให้ต่อเนื่องตั้งแต่ระยะแรก มีส่วนป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมากมาย
.
ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ มักเป็นกับอวัยวะ 5 อย่างได้แก่ "หัว-หัวใจ-ไต-ตา-ตีน (หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต, หลอดเลือดหัวใจขาดเลือด, ไตเสื่อม-ไตวาย, ตาเสื่อม-ตาบอด, เท้าเป็นแผล-ติดเชื้อ และอาจถูกตัดนิ้วหรือเท้า"
.
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล อังกฤษ (UK) พบว่า การกินอาหารที่ให้กำลังงาน หรือแคลอรีต่ำ มีส่วนทำให้ระดับไขมันในตับอ่อนและตับลดลง
.
กลไกสำคัญในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และตับอ่อนต้องสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมามากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดตับอ่อนก็หมดสภาพ ผลิตต่อไม่ไหว
.
การศึกษาทำในกลุ่มตัวอย่าง 11 คน ให้กินอาหารแคลอรีต่ำ นาน 3 เดือน พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินดีขึ้น
.
การทดลองทำโดยให้กินแต่อาหารเหลว (liquid diet) เช่น น้ำข้าวโอ๊ต ฯลฯ และกินผักที่มีแป้งต่ำ คือ ไม่ใช่ผักหัวหรือผักใต้ดิน เช่น ไม่ใช่แครอท หัวไชเท้า มันฝรั่ง ฯลฯ และไม่ใ่ช่ผักแป้งสูง เช่น ฟักทอง ฯลฯ
.
การตรวจด้วยเครื่องสแกน MRI (ใช้สนามแม่เหล็ก-วิทยุ) พบว่า อวัยวะภายในของกลุ่มตัวอย่างที่กินอาหารแคลอรีต่ำ มีปริมาณไขมันต่ำลงจาก 8% เป็น 6% ใกล้เคียงกับคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนที่อ้วนมาก และได้รับการผ่าตัดลดความอ้วนหลายๆ คน มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงหลังรักษาโรคอ้วนจนน้ำหนักลดลง
.
เรื่องนี้บอกเราว่า อาหารแคลอรีต่ำหน่อย การลดไขมันในช่องท้อง หรือลดภาวะอ้วนลงพุง น่าจะทำให้เบาหวานบรรเทาเบาบางลงได้
.
วิธีที่น่าจะดี คือ ป้องกันเบาหวานตั้งแต่ยังไม่เป็น ด้วยการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ไม่กินอาหารแคลอรีสูง โดยเฉพาะอาหารประเภท "ผัดๆ ทอดๆ" หรือ "หวาน-มัน-เค็ม" มากเกินไป และระวังอย่าให้น้ำหนักเกินเกณฑ์
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 
.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 28 มิถุนายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 446634เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2011 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท