สมบัติวรรณคดีของไทย


สมบัติวรรณคดีของไทย

สมบัติวรรณคดีของไทย

๑.   มนุษย์กับศิลปะ 

  ๑.๑   มนุษย์สร้างศิลปะขึ้นเพื่อต้องการสิ่งใด                                

         บำรุงจิตใจให้สดชื่นรื่นเริง พอตาพอใจในสิ่งสวยงาม  ไพเราะ 

  ๑.๒  ศิลปะมีสื่อแสดงต่างๆ กัน เช่น   

 ภาพวาด         แสดงโดย       ใช้เส้น แสง และ สี  ดนตรี             แสดงโดย        ใช้เสียง และ จังหวะวรรณกรรม     แสดงโดย        ใช้ภาษาเป็นสื่อ

๒.    วรรณกรรมและวรรณคดี                    

๒.๑  สิ่งที่ใช้จำแนก “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม”  มี ๒ ประการคือ

      ๑)   กาลเวลา  (สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นจุดแบ่งระหว่างงานเขียนรูปแบบ  เดิมกับงานเขียนสมัยใหม่)

              ๒)   กลุ่มบุคคลที่กล่าวยกย่องไว้  (คณะกรรมการวรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ ๖)

        ๒.๒ วรรณคดีจำแนกออกเป็น ๒ ประเภท ตามแหล่งกำเนิด คือ                   ๑)  วรรณคดีท้องถิ่น   มักถ่ายทอดเป็น มุขปาฐะ (ถ่ายทอดกันปากต่อปาก)

 

                 ๒)  วรรณคดีในราชสำนัก   มักถ่ายทอดเป็น        ลายลักษณ์อักษร

 

 

 

๓.     จินตนาการในวรรณคดี

      ๓.๑   การสร้างภาพขึ้นในใจโดยกำหนดจากสิ่งที่เคยพบเห็นในชีวิตจริงแล้วใช้

               ความคิดคำนึงสร้างให้กว้างขวางลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น  เรียกว่า  จินตนาการ

      ๓.๒   กวีสร้างจินตนาการเพื่ออะไร

         ดึงดูดความสนใจให้เนื้อเรื่องสนุกสนาน  ตื่นเต้น  เร้าใจยิ่งขึ้น

๓.๓   กวีสร้างจินตนาการโดยวิธีใด

          เพิ่มเติมอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้กับตัวละครหรือเหตุการณ์ในเรื่อง  

 ๓.๔   เราควรอ่านวรรณคดีอย่างไร   

         ไม่คาดหวังเอาแต่ข้อเท็จจริงแต่พยายามเข้าให้ถึงคุณค่าของงานเขียน

 

 

 

๔.     คุณค่าของวรรณคดี

       ๔.๑   คุณค่าสำคัญของวรรณคดี คือ อะไร

        สิ่งกล่อมเกลามนุษย์ให้รู้จักความงาม ความดี และ ความเป็นจริงของชีวิต ๔.๒   บทบาทสำคัญของวรรณคดี คือ อะไร

          สร้างความบันเทิงใจและความจรรโลงใจ

 ๔.๓   ความผ่องแผ้วชื่นบานมีจิตใจและอารมณ์ที่กล่อมเกลาแล้วหมายถึง

          ความจรรโลงใจ

๔.๔   ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมีความหมายหรือมีความสำคัญต่อตนหรือกลุ่มของตน เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในการเลือกกระทำ เป็นความหมายของ                 ค่านิยม

 ๔.๕   คุณค่าของวรรณคดีแบ่งเป็น ๒ ด้าน คือ

          ด้านอารมณ์     วิเคราะห์ได้จาก    เสียงของคำและความอิ่มอารมณ์ที่ได้รับจากการอ่าน

        ด้านคุณธรรม   กวีอาจสอดแทรกไว้โดย    

                                  ๑)   บอกไว้ในเรื่องโดยตรง

                                  ๒)   สรุปได้จากผลที่ตัวละครได้รับจากการกระทำนั้นๆ

                                   ๓)   สอดแทรกไว้ในบทวิเคราะห์ วิจารณ์

  

 

๕.     ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย

๕.๑   "วรรณศิลป์"  หมายถึง  ศิลปะ หรือ กวีโวหารที่กวีเลือกสรรคำมาใช้ในบทประพันธ์

 ๕.๒    กลวิธีการประพันธ์ที่กล่าวไว้ในสมบัติวรรณคดีมี ๓ ลักษณะ  คือ   การเล่นเสียง  การเล่นคำ และ การสร้างภาพพจน์ 

 ๕.๓ การเล่นเสียง คือ การสรรคำให้มีสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติให้เกิดเสียงไพเราะน่าฟังเพื่อแสดงฝีมือกวี มี ๓ ลักษณะ 

         ๑)  จับเจาเจ่าเจ้า/จั่นจรรจา         เป็นการเล่นเสียง       พยัญชนะ

         ๒)  ดูหนูสู่รูงู  งูสุดสู้หนูสู้งู           เป็นการเล่นเสียง       สระ

          ๓)  จาจ่าจ้า / คอยค่อยค้อย        เป็นการเล่นเสียง      วรรณยุกต์

 ๕.๔  การเล่นคำ  คือ การสรรคำโดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษแปลกออกไปจากปกติ มี ๓ ลักษณะ คือ

        ๑)  ลิงไต่กะไดลิงลิงโลดคว้าประสาลิง  เป็นการเล่นคำลักษณะใด       

                       คำพ้องรูป/พ้องเสียง

        ๒)  ล้วนไทยแท้ไทยแน่ไทยเรามี           เป็นการเล่นคำลักษณะใด

                       ซ้ำคำเพื่อตอกย้ำความสำนึก

        ๓)  ในโลกนี้มีอะไรเป็นไทยแท้              เป็นการเล่นคำลักษณะใด

                       ใช้คำถามเพื่อให้ย้อนคิด

 ๕.๕  การใช้ภาพพจน์  คือ  การใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างจินตภาพแก่ผู้อ่านโดยวิธี

         ๑)  การเปรียบเทียบโดยใช้คำประดุจ  เสมือน ราวกับ 

               เป็นการเปรียบเทียบแบบ     อุปมา

         ๒)  การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  ใช้คำ "คือ" หรือ "เป็น"

               เป็นการเปรียบเทียบแบบ     อุปลักษณ์

         ๓)  การสมมุติสิ่งไม่มีชีวิต หรือ นามธรรมให้แสดงความรู้สึกนึกคิดได้

               เป็นการสร้างภาพพจน์ที่เรียกว่า        บุคคลวัติ

 

 

๖.  เนื้อหาสาระของวรรณคดี

      เนื้อหาวรรณคดีจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการแต่งได้เป็น ๖ ประเภท คือ 

     ๖.๑         วรรณคดีพุทธศาสนา

     ๖.๒        วรรณคดีประวัติศาสตร์

     ๖.๓        วรรณคดีสุภาษิตคำสอน

     ๖.๔        วรรณคดีขนบประเพณีและพิธีกรรม

     ๖.๕        วรรณคดีเพื่อความบันเทิง

     ๖.๖         วรรณคดีบันทึกเหตุการณ์/การเดินทาง

หมายเลขบันทึก: 446163เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตั้งใจค้นคว้านำมาเล่าให้เป็นประโยชน์ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท