เตาเผาศพ : ต้องสะอาด...


สำหรับการก่อสร้างเมรุฯ ในช่วงต้นปี 2554 นั้น ข้าพเจ้าได้รับโจทย์ที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง คือ จะต้องทำเมรุฯ แบบไม่มีต้นถุน คือ ไม่มีการใช้ลมสอดขึ้นมาจากด้านล่างเพื่อที่จะทำให้ไฟติด เหมือนกับเมรุฯ ส่วนใหญ่ในประเทศไทย

การปิดใต้ถุนเมรุฯ จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องขบคิดต่อไปว่า จะเอาลมมาจากที่ไหน เพราะถ้าไม่มีลม "ไฟไม่ติด"

สำหรับวิธีการแก้ไขแบบแรก ข้าพเจ้านึกย้อนกลับไปนึก "เตาเผาศพปลอดมลพิษ" ที่เคยทำมาทั้งสองแห่ง รวมถึงการที่ได้ไปตระเวนดูเตาเผาศพปลอดมลพิษตามที่ต่าง ๆ ก็พบว่า เป็นเตาแบบพื้นปิด คือ ไม่ต้องใช้ลมจากใต้ถุนเมรุฯ

เตาเผาศพปลอดมลพิษนั้น จะใช้นำที่ได้มาจาก Blower หรือตัวหอยโขงอัดลมผ่านท่อซึ่งเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ ไว้ทางด้านข้างของตัวเตา

สาเหตุที่ต้องมีการปิดใต้ถุนนั้น เกิดขึ้นจากปัญหาทางการปฏิบัติ

คือเมื่อมีใต้ถุนเมรุฯ มักจะประสบปัญหาในการทำความสะอาด

เพราะนอกจากช่องใต้เมรุฯ จะเป็นที่ขึ้นของลมแล้ว ยังเป็นที่ตกหล่นลงมาของกระดูกด้วย

ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่เผาศพ หรือที่พวกเราทั้งหลายเรียกกันว่า "สัปเหร่อ" นั้น มักจะนำแผ่นสังกะสีไปรองไว้ที่ด้านล่าง เพราะรองรับเศษกระดูกที่หล่นลงมา

แต่บางครั้งไม่หล่นลงมาเฉพาะเศษกระดูก มีเศษอวัยวะเช่นข้อเท้าหรือข้อมือหล่นล่วงมาได้

"ครูแหวว" ได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ครั้งหนึ่งที่วัดแถวบ้านมีข้อเท้าของผู้เสียชีวิตรายหนึ่งหลุดลงมาก่อนที่จะไฟหมด เมื่อหล่นลงมา สุนัขก็วิ่งเข้าไปคาบมาแทะมากินเป็นที่สังเวชแก่ญาติและผู้พบเห็น

นอกจากปัญหาอวัยวะหลุดร่วงแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องของ "น้ำเหลือง" ที่มักหยดลงมาติดพื้นด้านล่าง ซึ่งถ้าทำความสะอาดไม่ดีจะส่งปัญหาเรื่องกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งยังไม่รวมถึงเศษกระดูกที่บางครั้งเก็บไม่หมด เหลือกอง ๆ กันไว้ใต้ถุนเมรุฯ เป็นภูเขาเลากา

นอกจากกระเศษกระดูกแล้ว ใต้ถุนเมรุฯ ยังเป็นที่เก็บของสมมบัติกำพร้า คือ ข้าวของคนตาย เสื้อผ้า กระเป๋า รูป อะไรต่อมิอะไรที่สร้างความสะพรึงกลัวให้กับคนที่ผ่านไป ผ่านมา...

ดังนั้น เมื่อมีกลิ่น มีกระดูก มีของคนตาย เมรุฯ จึงเป็นที่น่ากลัวของใครต่อใครที่ได้ไปสัมผัสเมรุฯ หลังนั้น

 

 

เมรุฯ จึงกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัว ชวนให้เรามีความเชื่อไปว่าความตายในชวนสยอง

 

ความเชื่อในเรื่องความตายนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับชีวิต หากเรามีความเข้าใจถูกต้องในเรื่องของความตายเราจะไม่กลัวตายและเราสามารถ "ตายก่อนตาย" ได้

การทำเมรุฯ ให้สะอาด" เห็นแล้ว "อยากตาย" นั้นจึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับข้าพเจ้าตั้งแต่การดำเนินการสร้างเมรุฯ หลังแรก

และที่ผ่าน ๆ มา เมื่อมีใครมาใช้บริการเมรุฯ ที่ข้าพจ้ามีส่วนร่วมสร้างนั้นทุก ๆ คนมักจะพูดเสมอว่า "อยากตายแบบนี้"

จุดสำคัญอยู่ที่ คนพูดไม่กลัวตาย ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับเขาอีกแล้ว ความตายเป็นธรรมชาติที่ใครหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุก ๆ คนต้องตายร่างกายต้องแตกสลายไปตาม "ธรรมชาติ"

ดังนั้น การลบ การล้างความเชื่อเรื่องของการกลัวตายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กลัวผี" นั้นจะต้องลบ ต้องล้าง ต้องป้องกันให้รอบครอบด้าน

และสัญลักษณ์สำคัญของความตายที่คนไทยเชื่อถือกันมากนั้นคือ "เมรุฯ"

เมรุฯที่อึมครึม ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น จึงเป็นสถานที่ที่ชวนขนหัวลุก เมรุฯที่สะอาดปราศจากมลพิษทางด้านกลิ่นและอิงอาศัยความสดชื่นของธรรมชาติจึงเป็นเมรุฯที่คนเห็นแล้ว "อยากตาย"

ความทุกข์กับความตายสิ่งใดน่ากลัวกว่ากัน...?

บางคนกลัวความทุกข์ จึงต้องหนีความทุกข์ไปฆ่าตัวตาย

แต่คนส่วนใหญ่กลัวความตาย จึงต้องทนอยู่กับความทุกข์ไปจน "ตาย..."

ดังนั้นอุบายธรรมะที่สอดแทรกอยู่ในเมรุฯ ทุกนั้น เป็นมรณานุสสติกัมมัฏฐานที่สำคัญซึ่งสามารถสอดคนได้ทุกเพศ ทุกวัย

ความตายจึงเป็นมิตรแท้สำหรับชีวิต

ความตายเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดที่สุดของตัวเรา

ไม่ว่าวันนี้ วันไหน ไม่ว่าใครยากดีมีจนอย่างไร ใครต่อใครก็ไม่สามารถล่วงรู้ความตายได้แม้นพรุ่งนี้...

 

หมายเลขบันทึก: 446105เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ...

  • นี่แหล่ะค่ะ คือแหล่งสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนที่เมื่อเกิดมาแล้ว ต้องเจอะเจอกันทุกคนแบบหนีไม่พ้น
  • แล้วทุกวันล่ะคนเราจะดิ้นรนกันไปใย บางคนดิ้นรนเพื่ออยู่รอด บางคนดิ้นรนแล้วทำให้คนอื่นเดือดร้อน...นึกถึงกันบ้างไหม สุดท้ายก็ขึ้นเมรุฯกันทุกคน ทรัพย์สมบัติที่ไขว้คว้าหากันมาตลอดชีวิตมนุษย์ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้...แต่คนเราก็ยังดิ้นรนไม่มีที่สิ้นสุด...
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ทำให้เกิดข้อคิดสำหรับชีวิตค่ะ...

"บางคนกลัวความทุกข์ จึงต้องหนีความทุกข์ไปฆ่าตัวตาย

แต่คนส่วนใหญ่กลัวความตาย จึงต้องทนอยู่กับความทุกข์ไปจน "ตาย..."

โดนครับ..โดน

 

อ่านแล้วได้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ ทั้งที่เป็นสิ่งที่ควรจะรู้มาตั้งนานแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท