เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยี

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เรืองที่เกี่ยวข้อง

1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี

3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย

4. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 –

2549)

5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศทางการศึกษา

ความหมายของระบบ

ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ

1. ข้อมูลนำเข้า (Input)

2. กระบวนการประมวลผล (Process)

3. ผลลัพธ์ (Input)

4. การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback Control)

ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ชุดของคน ข้อมูล และวิธีการซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือ สารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล บวก ลบ คูณ หาร

เปรียบเทียบหรือตรวจสอบแล้วมีความชัดเจนขึ้น สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจหรือดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ สารสนเทศจะถูกนำเสนอในรูปอัตราส่วน ร้อยละ การเปรียบเทียบ  เช่น

- อัตราครูต่อนักเรียน

- การเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับปัจจุบันกับอดีต

- การเปรียบเทียบผลการดำเนินการนับแต่เริ่มโครงการ

- การเปรียบเทียบผลกำไรต่อการลงทุน

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์การคือคน คนคือผู้สร้างงานผลิต เป็นผู้ใช้บริการเป็นผู้แก้ปัญหา และเป็นผู้ตัดสินใจ คนที่มีคุณภาพจะเป็นกระดูกสันหลังขององค์การ

ประเภทของระบบสารสนเทศ

1. ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS)

เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operating Manager) เช่น ระบบสารสนเทศการบัญชี

2. ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System : MIS)

เป็นเครื่องของผู้บริหารระดับสั่งการ หรือระดับกลาง (Tactical Manager) มี 3 ประเภท คือ

- รายงานตามตารางการผลิต

- รายงานตามต้องการ

- รายงานพิเศษ

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS)เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับนโยบาย หรือระดับสูง (Strategic Manager)และผู้บริหารระดับสั่งการหรือระดับกลาง (Tactical Manager)

4. ระบบการสนับสนุนระดับนโยบาย (Executive Support System : ESS)จำเป็นมากสำหรับการบริหารระดับสูง การพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้วัฏจักรของการพัฒนาระบบ SDLC เป็นการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องชัด

บุคลากรในระบบสารสนเทศ

1. ผู้ใช้ (User) ได้แก่บุคคลซึ่งใช้ระบบสารสนเทศเมื่อมีการนำออกมาใช้ ได้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และผู้จัดการ

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จะทำงานร่วมกับผู้ใช้เพื่อตรวจสอบความจำเป็นที่ต้องใช้สารสนเทศในกระบวนการของผู้ใช้

3. นักออกแบบระบบ (System Designer)เป็นผู้ออกแบบระบบให้ตรงกับความจำเป็นความต้องการของผู้ใช้

4. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ใช้โปรแกรมเพื่อรหัสคำสั่งสำหรับให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาได้

ระบบสารสนเทศทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(EIS)

โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษาได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย โดยสามารถที่ใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เป็น Client/Server ,LAN (Netware,WindowsNT) ตัวโปรแกรมเป็นระบบเปิด (Open System)สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft SQL, Informixโปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับผู้ดูแลระบบ

(Administrator) และส่วนสำหรับผู้ใช้ (User)ส่วนผู้ดูแลระบบจะมีหน้าที่กำหนดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล กำหนดผู้ใช้และคอยดูแลให้การใช้งานโปรแกรมเป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนของผู้ใช้นั้นจะมีส่วนกรอกข้อมูลสถิติทางการศึกษา โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษาได้ถูกแบ่งโปรแกรมออกเป็น 7 ระบบ คือ

1.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับสถานศึกษา (EIS1)เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของสถานศึกษาทุกสังกัดตามแบบ รศ.รค.เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป

2.ระบบบริหารสถานศึกษา (EIS2) เป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา

3.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับอำเภอ (EIS3)เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของอำเภอตามแบบ รศภ.เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป

4.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับจังหวัด(EIS4)เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของอำเภอที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆและประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานเขตและกระทรวงศึกษาธิการ

5.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับเขตการศึกษา(EIS5)เป็นระบบสำ

หรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัดที่อยู่ในเขตการศึกษานั้นๆและประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับกระทรวงศึกษาธิการ

6.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ(EIS6)เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัดและประมวลผลข้อมูลในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ

7.ระบบประมวลผลข้อมูล (EIS7)เป็นระบบสำหรับประมวลผลข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเผยแพร่ออกสู่Homepage MOENet

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ ศธ. ตามกรอบนโยบายด้าน ICT

กระทรวงศึกษาธิการสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเ

ครือข่ายสารสนเทศเพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันและเข้าถึงการเรียนรู้ โดยยึดหลักการสร้างชาติสร้างคนและสร้างงานมีปัญญาเป็นทุนในการสร้างงานและสร้างรายได้ ตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การบริหาร ของนายกรัฐมนตรี(พ ต ท.ทักษิณ ชินวัตร) เข้ามาบริหารประเทศ

พร้อมทั้งได้กำหนดนโยบายเร่งรัดในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อการศึกษาปัจจุบันการดำเนินงานตามพันธกิจสำคัญได้มีความก้าวหน้าตามลำดับอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

1.การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนและส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกแห่งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกัน

2. การพัฒนาบุคลากรโดยกระทรวงศึกษาธิการมีแผนพัฒนาครูและอาจารย์ทุกคนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะในการใช้ ICT และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน ได้อย่างเหมาะสมโดยกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาไว้ 6 เรื่องหลัก คือ

1) คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

2) IT Network Administration

3) การใช้โปรแกรมระดับ Advance Course

4) การพัฒนาสื่อเนื้อหาการเรียนรู้

5) การใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน

6) การฝึกอบรมแกนนำและการฝึกอบรมทางไกลของ สสวท.

3. การพัฒนาสื่อและซอฟต์แวร์

4. การจัดหาและพัฒนาระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์

5. การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการ (MIS)

โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง (MOC)และเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการสำนักนายกรัฐมนตรี (PMOC)พร้อมทั้งจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการระดับกรม (DOC) (ของ สพฐ. คือ ObecDOC)และศูนย์ปฏิบัติการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา( AOC) ศูนย์ปฏิบัติการระดับโรงเรียน (SOC)

เพื่อการติดตามการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆและเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการสำนักนายกรัฐมนตรี(PMOC) ตามนโยบายรัฐบาล โดยผ่านwebsiteของกระทรวง

6. การศึกษาวิจัยเพื่อการจัดหาระบบสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ (ระบบGIS)ได้มีโครงการการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดหาระบบสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์(ระบบGIS)ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้กระทรวงจะมีระบบ Software GIS ในลักษณะ Freeware และลักษณะCommercialซึ่งเป็นระบบเปิดอย่างละ 1 ระบบ

หมายเลขบันทึก: 445822เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท