พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak)
นางสาว พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak) Cherry ปฐมสิริรักษ์

การพูดคุยหารือ เรื่อง ระบบการจัดการประชากร และคนต่างด้าวของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


เป็นบันทึกย่อ ถึงการพูดคุยเรื่องระบบการจัดการประชากร และคนต่างด้าวของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดถึงความร่วมมือในอนาคต

บันทึกการพูดคุยกับ กอรมน. (เป็นการพูดคุย ในเชิงปรับความเข้าใจ ถึงระบบการจัดการประชากร และคนต่างด้าว ของประเทศไทย ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน โดยพูดคุยในเชิงเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด การร่วมมือแก้ปัญหา หรือพัฒนา) –เป็นการสรุปประเด็นคร่าวๆ จากการพูดคุย

การจัดการดูแลประชากรไทย ทั้งคนไทย หรือคนที่เข้ามานั้นมีมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ในช่วงเวลาต่อๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง หรือเพื่อให้รัดกุมขึ้น เช่น มติครม.18 มกราคม 2548 และยุทธศาสตร์ ปี 2548 เพียงแต่บางหน่วยงานที่อาจจะไม่ได้เข้ามาดูเรื่องพวกนี้ ในช่วง2535-2549 จึงไม่ทราบถึงการจัดการตรงนี้ ทำให้เกิดความคิดได้ว่ายังไม่ได้มีการจัดการแบบบูรณาการ

 

                ระบบการจัดการคนต่างด้าวมีมาตั้งแต่ปี 2452 จำนวน 90% ของการจัดการได้ทำไปแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 10% ที่ยังขาดระบบการจัดการ ทั้งนี้การจัดการ ก็จะต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ ผู้จัดการ และกลไกในการจัดการ อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้ว่าในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหา

 

                ประเทศไทยเองก็เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาอันเกี่ยวกับการจัดการพลเมืองของรัฐ และสิทธิของความเป็นมนุษย์ อย่างเช่น ICCPR และ UDHR และ ICESCR ยกตัวอย่างเช่น  การพูดถึง “แรงงานต่างด้าว” เราสามารถพูดถึงได้หลายบริบท

  • พูดถึงในแง่เศรษฐกิจ ก็เกี่ยวข้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศ คือ ICESCR
  • พูดถึงในแง่ความเป็นพลเมืองแห่งรัฐ  หรือ ผู้ในแง่ของความเป็นคน ก็จะเกี่ยวข้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศ คือ UDHR และ ICCPR

 

ตัวอย่างของการจัดการ “คน” ในประเทศไทย เช่น การที่ประเทศไทยจัดการกับ ม้งเขตน้อย และ ผู้ลี้ภัย 9 ค่าย

  • ม้งเขตน้อย เป็นการขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติให้กับคนประมาณ 30000 คน โดยกองกำลังทหารของไทย เข้ามีส่วนร่วม
  • ผู้ลี้ภัย 9 ค่าย – รัฐบาลไทย และ UNHCR ได้มีความตกลงร่วมกันที่จะบันทึกคนเหล่านี้(recognition of personality) เพื่อให้เกิดเป็น State database โดยมีการกำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วย 000 และแม้ว่าจะไม่ใช่ทะเบียนที่ถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรของไทย คือไม่มีสถานะตามกฎหมายทะเบียนราษฎรไทย แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นการบันทึกคนตามหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ เท่ากับประเทศไทยก็ไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบกับ การบันทึกข้อมูลลักษณะนี้มีส่วนดีกับประเทศไทย ที่ทำให้เราสามารถรู้จำนวนคนเหล่านี้และควบคุมเขาได้ หากวันใดต้องการrecognizeคนเหล่านี้ในทะเบียนราษฎรไทย หรือของพม่าก็สามารถทำได้ทันที

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ลี้ภัยในค่ายนี้ เพื่อที่ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ชื่อว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงเปิดให้คนในค่ายต้องได้รับการจดทะเบีบนการเกิด ดังนั้นปัจจุบันจึงได้มีการเร่งการจดทะเบียนการเกิดย้อนหลัง

  • ประเด็นที่ยังคงมีปัญหา คือ ผู้ลี้ภัยนอกค่าย เพราะคนเหล่านี้เรายังหาจำนวนที่แน่ชัดไม่ได้ ทัศนะคติ ความเชื่อที่ว่าต้องการควบคุมคนเหล่านี้โดยการคุมขังไว้ใน ตม. ไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อันใด ทั้งในแง่ของผู้ลี้ภัยที่ถูกจับ และในแง่ของประเทศไทยเอง เราน่าจะทำให้เขาเหล่านั้นอยู่ได้โดยถูกกฎหมาย ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้เพื่อไม่ให้เป็นภาระของประเทศไทย แต่ค่อยดูแลควบคุมกำหนดขอบแขตให้กับพวกเขา เช่น เรื่องการเดินทาง

 

ดังนั้นคงต้องตระหนักว่า สัมพันธภายระหว่างคนกับรัฐ โดยมี “สัญชาติ” เป็นตัวเชื่อมนั้นต้องมีความเป็นไปได้ในสังคมปัจจุบัน หรือกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะรัฐคงไม่สามารถบังคับใครให้ถือสัญชาติได้ ตาม UDHR ข้อ 15 เพราะฉนั้น การเข้าถือสัญชาติของบุคคลคนหนึ่ง จึงเป็นเรื่องของ “สิทธิ คือ มีสิทธิ ในสัญชาตินั้นหรือไม่” และ เรื่องของ “เสรีภาพ ว่าจะยอมเข้าถือสัญชาตินั้นหรือไม่”  เพราะฉะนั้นคงต้องแยกให้ได้ระหว่าง “การมีสิทธิ” และ “การเข้าใช้สิทธิ”   สำหรับสัมพันธภาพที่เป็นไปได้ในสังคมปัจจุบัน ก็ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน ปกครองโดยระบอบสังคมนิยม คนรวยหรือจนก็ต้องเท่าเทียม แต่ตรรกะทางความรู้สึกของมนุษย์มันไม่เป็นเช่นนั้น คนรวยทำงานมากก็ย่อมอยากเก็บเงินไว้ ก็พยายามโอนย้ายเงินไปไว้ประเทศอื่น หรือไปถือสัญชาติของประเทศอื่น แต่ส่วนประเทศจีนห้ามถือสองสัญชาติ ดังนั้นเศรษฐีนั้นก็อาจถูกถอนสัญชาติจีนไป

การจัดการคนต่างด้าวในประเทศไทยควรเริ่มต้นที่จะแยกแยะให้ได้ว่าคนต่างด้าวก็มี 5 ประเภท คือ คนต่างด้าวแท้ ซึ่งแบ่งสามประเภท คือ เป็นคนไร้รัฐคนมีรัฐ  คนที่เข้าเมืองถูกหรือเข้าเมืองผิด คนที่มีองค์ประกอบไทยหรือไม่มีองค์ประกอบไทย  คนที่มีองค์ประกอบไทยทั้งหมด(คนต่างด้าวเทียม เพราะถูกบันทึกเป็นคนต่างด้าว)

(อ่านเพิ่มเติมhttp://www.facebook.com/notes/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-/10150280378393834)

และการจัดการคนก็ไม่คำนึงเฉพาะแต่สถานะบุคคลตามกฎหมาย หรือสัญชาติเท่านั้น แต่ต้องมองให้ลึกไปถึงสิทธิประการอื่น ๆของเขาเหล่านั้น นั่นคือ การจัดการสิทธิมนุษยชน ต้องมองให้รอบด้าน และจัดการให้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนชาติหรือไม่ เช่น

  • สิทธิในการศึกษา เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • สิทธิในการทำงาน เพราะทุกคนควรมีงานทำเพื่อไม่ให้เกิดเป็นภาระของประเทศ
  • สิทธิสุขภาพ
  • สิทธิในการเดินทาง สิทธิในการเคลื่อนไหว
  • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

 

สำหรับประเด็นเรื่อง การก้าวเข้าสู่อาเซียนนั้น เป็นการยอมรับเรื่องแนวความคิดการรวมตัวของรัฐ เพื่อเดินไปข้างหน้าสู่ผลประโยชน์ของรัฐร่วมกัน โดยไม่ได้ละทิ้งแนวความคิดเดิมของความเป็นรัฐ  ไม่ได้มีความหมายถึง ความเหมือนกันทั้งหมดเพียงแต่ต้องมีช่องทางของแต่ละเรื่อง และความแตกต่างต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการพัฒนาสู่อาเซียน อย่างไรก็ตามการรวมตัวเข้าสู่อาเซียนนั้น คงต้องเริ่มต้นจากการตั้งคำถามให้ได้ว่า

-           ควรรวมเป็นอาเซียนหรือไม่

-           ควรรวมทั้งหมดทุกเรื่องหรือไม่

-           ควรรวมเรื่องอะไรบ้าง

และไม่ควรรวมในเรื่องใดบ้าง

หมายเลขบันทึก: 445506เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2011 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หัวข้อของการพูดคุยที่ พ.อ.วรชัยตั้งประเด็นมา เป็นเรื่องของความมั่นคงของชาติในเชิงประชากร และโดยนโยบาย กอ.รมน. มองแต่คนต่างด้าว และเป็นคนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย

ดังนั้น สำหรับ อ.แหววเอง จึงพยายามแลกเปลี่ยนว่า

ในประการแรก การมองคนแค่เรื่อง "ความเป็นคนสัญชาติ" หรือ "ความเป็นคนต่างด้าว" มันเป็นเรื่องที่เป็นมายาคติ มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้าเราคิดว่า มันหยุดนิ่ง เราก็หลอกตัวเอง และเราก็จะวางยุทธศาสตร์ผิด 

ในประการที่สอง อ.แหววตอบตามที่ตัวเองทราบก็คือ ระบบบริหารคนต่างด้าว หรือแม้ "คน" อย่างเป็นระบบเริ่มต้นตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ โดยกฎหมาย ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) กม.เอกชน โดยการเลิกทาส และการรับรองความเป็นบุคคลตามกฎหมายแบบตะวันตกโดยมาตรา ๑๕ แห่ง ปพพ และ (๒) กม.มหาชน ซึ่งประกอบด้วย กม.มหาชนพิเศษ ๓ ประเภทย่อย กล่าวคือ (๒.๑) กม.การทะเบียนบุคคลของรัฐ ซึ่งต่อมาเรียกว่า "กฎหมายการทะเบียนราษฎร" (๒.๒) กม.สัญชาติ และ (๒.๓) กม.คนเข้าเมือง อันนี้ พวกนักศึกษากฎหมายในระดับปริญญาตรีก็ได้เรียน แต่ถ้าไม่ฝึกฝนก็จะไม่คล่อง

ในประการที่สาม การตอบว่า คนต่างด้าวเป็นประโยชน์หรือโทษนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับความเป็นคนต่างด้าว แต่ขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพทางข้อเท็จจริงกับประเทศไทย ซึ่งถ้าเป็นคนสัญชาติไทย แต่ไม่ตั้งบ้านเรือนในไทย ก็จะไม่เคยจ่ายภาษ๊บำรุงประเทศไทย ในขณะที่หากเป็นคนต่างด้าว แต่ตั้งบ้านเรือนในประเทศไทย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย อีกทั้งความสับซ้อนของคำว่า "คนสัญชาติไทย" ยังอาจทำให้หน่วยงานความมั่นคงหลงทางในการจัดการคนให้มีประโยชน์ต่อความมั่นคงแห่งชาติ

ในประการที่สี่ กลไกในการจัดการประชากรที่เป็น "พลวัตร" มีอยู่ในกฎหมายที่กล่าวมา แต่ปัญหา ก็คือ ความไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการ ความไม่ลุ่มลึกของงานวิชาการในประเทศไทย และความไม่ศรัทธาในนิติรัฐของนักการเมืองทั้งในภาคผู้แทนทางการเมืองและภาคประชาชน

มีที่เชอรี่ต้องเข้าใจอย่างมาก ต้องอ่านจนทะลุ ก็คือ "ยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ ซึ่งมีคนสับสนกันเยอะะ เพราะไม่มีใครอ่านกันแบบจริงจัง

ม้งลาวที่เพชรบูรณ์นั้นตัวเลขน่าจะเป็นประมาณ ๓๐๐๐ คนนะคะ ต้องลองค้นใน google

 

เราเอารูปบรรยากาศการประชุมมาให้นักศึกษาปริญญาโท ๒๕๕๔ ดูได้ด้วยค่ะ

ยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล  : องค์ความรู้ในการจัดการปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในสังคมไทยอย่างครบวงจร,

รวมงานเขียนเพื่อกฎหมายและนโยบายศึกษา โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร,

ภายใต้โครงการศึกษาการปรากฏตัวของคนไร้สัญชาติและคนไร้รัฐในประเทศไทย : แนวคิดและมาตรการในการจัดการปัญหาที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ,  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=2&s_id=38&d_id=36

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท