หนึ่งเดียวในโลก


หนึ่งเดียวในโลก น้ำแร่คุณภาพดีของไทย

หนึ่งเดียวในโลก

                ในโลกนี้สำหรับทุกคนมีหนึ่งเดียวเท่านั้นคือบิดาและมารดา นอกจากนั้นก็สามารถมีมากมายได้  และยังสามารถเลือกได้อีกด้วย  ส่วนบิดาและมารดานั้นไม่สามารถเลือกได้เลย  หนึ่งเดียวในโลก..

                พระครูโสภณขันติพลากร  (อ.แจ๋ว)  นั้นเป็นบุตรคนที่สี่ของ  นายหนู  นางหวาด  โคตรศรี  เกิดที่  ๗๘  บ้านบึงสา  ตำบลจันทร์เพ็ญ  อำเภอเต่างอย  จังหวัดสกลนคร  เมื่อวันจันทร์ที่  ๒๒  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๐๘  เดือน  ๓  ปีมะเส็ง  อาชีพทำนา  มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  ๖ คน ดังนี้

                ๑.  นายอุดจิต  โคตรศรี                       (ป๋อม)

                ๒.  นางจำนง  หลากเศษฐา               (ปิ๊ก)

                ๓.  นายณรงค์  โคตรศรี                      (จิ๋ว)

                ๔  นายทรงศักดิ์  โคตรศรี  หรือ  พระครูโสภณขันติพลากร  (อ.แจ๋ว)

                ๕.  นางปิยาณี  โคตรศรี                      (แป๋ว)

                ๖.  นายทวีชัย  โคตรศรี                       (ป๋อง)

 

นิสัยติดมา

                เมื่อเด็กเป็นคนขี้โรคเลี้ยงยาก  บิดา  มารดา  ลำบากมากในการดูแล  ใจอ่อนขี้กลัวผีมากไม่ชอบคนมีนิสัยเกเรรังแกคนอื่นและคนเล่นการพนัน  ไปเล่นกับเพื่อนๆ  พาปั้นรูปต่างๆ  แต่เด็กชายแจ๋วชอบปั้นพระพุทธรูปเป็นประจำเมื่อปั้นแล้วก็จะเกิดปีติอิ่มเอิบกราบไหว้ตลอดแต่ละครั้ง  และเป็นคนชอบอธิษฐานจิตเมื่อมีปัญหาต่างๆมาตั้งแต่เด็ก  การเรียนการศึกษาปานกลาง ชอบทำบุญชอบฟังธรรมะ  ชอบพูดคุยกับคนแก่  กราบพระไหว้พระนั่งสมาธิมาแต่อายุ  ๙  ปี  เป็นแระจำมาตลอดไม่ขาด  ในหน้าฝนชอบตกปลาเป็นประจำในส่วนที่ทำบาปนี้คือฝ่ายอกุศลกรรมที่ทำมาแต่เป็นเด็ก

 

อัศจรรย์ในคำพูดคนเฒ่า

                วันหนึ่งในช่วงนั้นอายุประมาณแปดปีไปนั่งเล่นในร้านค้าขายของข้างบ้าน  เป็นร้านของ

นางเทิม  นายฮง  ทิพจร  วันนั้นมีทั้งเด็กๆ  และคนแก่  คนแก่เขาจะเล่าเรื่องต่างๆไปเรื่อยให้เด็กๆฟัง  ในเรื่องเหล่านั้นมีทั้งดีและไม่ค่อยดี  มีคนแก่คนหนึ่งแกชื่อนายอุ่น  บึงสุวรรณ  แกเป็นคนพิการขาข้างหนึ่ง แต่ชอบพูดเรื่องที่น่าฟังและน่ากลัวมาก  วันนั้นแกจะพูดเรื่องธรรมะด้วยเขาจะพูดว่า  คนเรานี้มีลมหายใจเป็นจุดสำคัญ  คือ  ลมหายใจเข้าไม่ออกก็ตายลมหายใจออกไม่เข้าก็ตาย  พอเด็กชายแจ๋วเมื่อได้ยินคำพูดเช่นนั้นก็เกิดอัศจรรย์ในคำพูดของคนแก่นั้นมากที่สุด  ทำไมเขาจึงรู้เรื่องเหล่านี้ได้  คงเป็นเพราะแกไปได้ฟังพระท่านเทศน์มาแกจึงนำมาเล่าให้ฟัง  นี้คงเป็นนิสัยเก่าที่เคยสร้างมาจึงอัศจรรย์ในคำพูดเพียงเท่านี้  แต่ก็เป็นคำพูดที่ลึกซึ้งมากสำหรับเด็กชายแจ๋ว

                หกคืนก็กลับลงมา และมาที่ถ้ำพระผาป่อง บ้านขัวสูง จากถ้ำไฮมาถึงถ้ำฝาป่องนี้ประมาณ ๓๕ กิโลเมตร พอขึ้นมาที่ถ้ำพระผาป่องนี้ไม่มีใครอยู่ดูแลเลยเพราะว่าท่านพระอาจารย์ติ๊ก กลับเข้าไปจำพรรษากับหลวงป่าเทศก์ เทสรังสีแห่งวัดหินหมากเป้ง ในพรรษาทีผ่านมานั้นจึงมีหลวงตาศรี กับพระชม ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงตาศรี อยู่จำพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงตาศักดิ์กับพระชมจึงกลับไปบ้านตั้งหลาวันแล้วยังไม่กลับมา เมื่อพระแจ๋วมาเห็นที่พักรกสิ่งของกระจัดกระจายไม่มีระเบียบจึงพักจึงเก็บสิ่งของที่ศาลาไม้ในถ้ำสองวันแล้วยังเก็บไม่เรียบร้อย วันที่สามประมาณเกือบสามทุ่ม ก็ได้ยินเสียงเอะอะ ๆ ขึ้นมา ที่ไหนได้พอมาถึงก็เป็นท่านพระอาจารย์ติ๊กพร้อมคุณหญิงสุรีพันธุ์  มณีวัต (สมัยนั้นยังไม่ได้เป็นคุณหญิง) ในตอนนั้นท่านพระอาจารย์ติ๊กได้พาคุณหญิงสุรีพันธุ์  มณีวัติ พักภาวนาอยู่หลายวันจึงกลับลงไป และก่อนกลับลงไปท่านได้มอบให้พระแจ๋วทำที่พักให้คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัติ เพราะคุณหญิงขอมาจึงได้พิจารณาอยู่หลายครั้งเพราะว่าเราเพียงแค่จะมาพักเฉย ๆ ไม่มาอยู่ทำโน้นทำนี่เป็นภาระ  เนื่องจากท่านพระอาจารย์ติ๊กพูดอยู่สองสามครั้งจึงได้รับปากท่านที่จะทำบ้านพักให้คุณหญิงสุรีพันธุ์ ก็ตั้งใจว่าเมื่อทำเสร็จแล้วจะหนี เท่านั้นยังไม่พอคุณหญิงสุรีพันธุ์ ยังขอและปวารณาว่าจะสร้างศาลาให้ในปีนั้น แต่ยังไม่ตกลงสร้างเพราะว่าพระแจ๋วยังไม่คิดว่าจะอยู่ที่แห่งนี้เลย

 

สภาพของวัดถ้ำพระผาป่อง

                วัดถ้ำพระผาป่องในสมัยนั้น  ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรเลย  มีเสาไม้และยกระดับขึ้นแล้วปูด้วยไมกระดานยกพื้นขึ้นกับผนังถ้ำนั้นเอง  พอได้เป็นที่นั่งรวมกันฉันภัตตาหารเช้าและพอได้นั่งรวมกันทำวัตรเช้าเย็นเท่านั้น  นอกจากนี้ก็มีที่เก็บสิ่งของเล็กน้อย  กุฏิที่พักก็เป็นกระต๊อบมุงด้วยหญ้าคาฝาใบตองสามสี่หลัง  จุดที่สำคัญของถ้ำพระผาป่องนี้  นอกจากถ้ำพระผาป่องแล้ว  ยังมีถ้ำสหายไขแสง  สุกใส  ที่เคยมาอยู่เมื่อครั่งเข้าป่าไปเป็นคอมมิวนิสต์ตามภูเขา  ความกว้างยาวของถ้ำนั้น  สามารถจุคนได้เป็นหลายสิบคนอย่างสบาย  และยังมีน้ำตกลงมาจากธรรมชาติตลอดปี  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของถ้ำพระผาป่องประมาณไม่น้อยกว่า  ๘๐๐  เมตร  คนละฝั่งเขา  แล้วยังมีถ้ำแม่ลูกอ่อนอีกแห่ง  ซึ่งเป็นถ้ำที่คอมมิวนิสต์ผู้หญิงมาออกลูกในที่แห่งนี้  เป็นถ้ำที่รับอากาศอย่างดีเยี่ยม  ระยะทางจากถ้ำพระผาป่องไปก็พอๆกัน  กับถ้ำสหายไขแสง  แต่ไม่ได้อยู่ต่ำบนไหล่เขาเหมือนถ้ำสหายไขแสง  ถ้ำนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของถ้ำพระผาป่อง  และระหว่างครึ่งทางก็มีตาน้ำแร่ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมาก  ที่ทางวัดได้ต่อด้วยท่อน้ำพีวีซีมาใช้สอยกัน  บางคนหายจากโรคภัยต่างๆเมื่อน้ำแห่งนี้  บางรายเป็นโรคนิ่วก็หลุดออกมา  เมื่อใครได้ดื่มแล้วจะติดใจดื่มน้ำที่ไหนก็ไม่เหมือนน้ำแห่งนี้เลย  ส่วนถ้ำพระผาป่องนั้นเป็นถ้ำที่คนโบราณนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานจำนวนหลายองค์  ต่อมาทั้งพระและนายทหารนำไปในที่ต่างๆ  จนหมดไม่เหลือเลย  ยังเห็นเศียรที่หักตกอยู่กับพื้นดินที่ท่านพระอาจารย์ติ๊กพบเจอกับโยมชาวบ้าน  เมื่อคราวมาอยู่ถ้ำพระผาป่องใหม่ๆ  ส่วนทางเดินขึ้นนั้นสูงและชันมากประมาณ  ๔๐  องศา  เห็นจะได้  เมื่ออยู่ที่แห่งนี้ใหม่ๆ  พระแจ๋วหรือพระเณรต้องลื่นหกล้มในตอนไปรับบิณฑบาตเป็นประจำ  ตลอดสิบกว่าปีที่มาอยู่ที่ถ้ำพระผาป่องแห่งนี้ส่วนระยะทางเดินนั้น  จากถนนเปรมพัฒนาขึ้นไปถึงถ้ำประมาณ  ๘๐๐  เมตร  ภายหลังได้พัฒนาแล้วผู้คนก็ชอบมาเที่ยวชมกัน

 

น้ำคู่กรรม

                ไม่นานทางคุณเกรียงไกร  จารุทวี  ได้ส่งท่อน้ำพร้อมอุปกรณ์ต่อน้ำมาให้  จึงได้ดำเนินการต่อน้ำจากยอดเขาลงมาถึงที่ถ้ำผาป่อง ระยะทาง  ๒.๐๐๐  เมตร  ในเวลาที่กำลังทำงานต่อน้ำอยู่นั้นมีเหตุการณ์หลายอย่างที่จะต่อสู้กัน  เช่นการวางระบบน้ำกว่าจะได้ถูกในระบบของเขานั้นยากมาก  เพราะระยะทางน้ำนั้นไกลมาก  และไม่ได้ใช้เครื่องอะไรเข้าช่วย  มีแต่วางระบบให้เข้าที่แล้ว  น้ำจะไหลมาเองของเขา  โดยธรรมชาติ  ดังนั้นจึงมีปัญหาในการทำงานมากกว่าจะวางให้เข้าระบบได้  ต้องรื้อปรับเปลี่ยนเป็นหลายๆครั้ง  เพราะระดับน้ำจากถ้ำพระผาป่องและบ่อตาน้ำนั้น  ความสูงไม่ต่างกันเท่าไหร่มากนัก  จนชาวบ้านและพระที่อยู่ด้วยกันนั้นพากันมาถามว่า  “น้ำมันจะไหลมาหรือ?”  เพราะท่านพระอาจารย์ติ๊กพาชาวบ้านต่อน้ำอันนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า  จนเหนื่อยสู้ไม่ไหว  จึงได้เลิกทำ  เพราะต่อน้ำนั้นมาไม่นานน้ำนั้นก็ไม่ไหลมาเลย  แล้วพระแจ๋วจะดีมาจากไหน  จึงจะมาต่อน้ำอันนี้มาได้  เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นบทเรียนที่มีราคาแพงมาก  เพราะต่อน้ำรอบๆ  ภูเขาแต่ในที่สุดก็ชนะได้  ประมาณหนึ่งเดือนกว่าจะได้น้ำมาและมาทราบภายหลังด้วยว่าเป็นน้ำสะอาดและมีคุณภาพอันดับหนึ่ง  เป็นน้ำที่ร่างกายนั้นต้องการมากที่สุด  นี้คือผลการส่งตรวจตั้งหลายแห่งหลายครั้งคำตอบออกมาเป็นอย่างเดียว  เมื่อต่อน้ำนั้นมาเสร็จแล้ว  จึงเป็นผลงานอีกอย่างของพระแจ๋วที่วัดถ้ำพระผาป่องจึงมีน้ำไหลอย่างสะดวกสบาย  เปิดน้ำก๊อกน้ำไหลออกอย่างแรงเหมือนในนิมิตไม่ผิดเลย

 

แสงอัศจรรย์

                แต่ก่อนเคยได้ยินแต่คนผู้เฒ่าเก่าแก่  หรือแม้กระทั่งพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ก็เคยเล่าให้ฟังว่า  เคยเห็นแสงอย่างโน้นอย่างนี้  แต่ไม่ค่อยจะเชื่อและยังไม่ปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้จนเมื่อพระแจ๋วมาพักที่วัดถ้ำพระผาป่องใหม่ๆ  ในวันหนึ่งพระแจ๋วเดินอยู่ในศาลาไม้เก่าในถ้ำ  วันนั้นเป็นประมาณหกโมงเย็นเศษใกล้ค่ำมืด  พระแจ๋วก็เดินอยู่ในศาลาไม้เก่าๆ ในศาลานั้นกลับไปกลับมา  ไม่นานก็เห็นแสงอันหนึ่งสวยงามมาก  ขนาดเท่าตะเกียงเจ้าพายุเรานี้แหละ  แต่แสงนั้นจะมีประกายถึงเจ็ดสีอันสวยงามแต่ในสีนั้นจะหนักไปทางสีเขียว  ส่วนประกายที่ออกเป็นรัศมีอันสวยงามมากนั้นจะมีความเยือกเย็นไปในตัว  ในวันนั้นแสงนั้นจะฟุ้งลอยออกจากที่ไม่ห่างเท่าใดนัก  กับที่ของพระแจ๋วเดินอยู่นั้นจะมองเห็นแสงนั้นลอยอยู่เหนือยอดต้นไม้ประมาณเจ็ดแปดเมตร  นึกว่าเห็นแต่เพียงองค์เดียว  ในตอนเช้าพระแจ๋วลงไปบิณฑบาต  มีชาวบ้านชื่อนายชื่น  แก้วสุวรรณ  มาถามว่า  “ครูบาเมื่อคืนนี้เห็นแสงแก้วหรือเปล่า”  พระแจ๋วเลยตอบว่า  “เออ  เราว่าจะถามเจ้าอยู่  แต่ว่าเจ้าเห็นอย่างไรบ้าง”  เขาเลยเล่าว่า  “ผมเห็นแสงนั้นกระโดดขึ้น  นึกว่าครูบาเปิดไฟแต่สีสวยงามมาก  พอแสงนั้นกระโดดขึ้นได้ที่แล้วก็ลอยไปทางภูเขาอีกลูกที่อยู่ตรงกันข้าม  เห็นตั้งนานแสงนั้นจึงดับลง”  พระแจ๋วเลยตอบว่า  “เออเจ้าก็เห็นยังกับเรา  แต่เจ้าจะเห็นได้ดีกว่าเราเสียอีก”  จากนั้นมาพระแจ๋วจึงเชื่อแน่นอนว่าแสงแก้วอัศจรรย์นี้มีแท้แน่นอน  แต่ไม่ทราบว่าเป็นแสงอะไรกันแน่

 

 

ตั้งชื่อ  วัดถ้ำพระผาป่อง

                ที่วัดถ้ำพระผาป่องแห่งนี้  เดิมทียังไม่มีใครตั้งชื่อให้ ชาวบ้านบางคนก็เรียกว่าถ้ำพระบ้างเพราะมีพระพุทธรูปเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยใดไม่มีใครทราบได้เลย  ชาวบ้านขัวสูงแห่งนี้บรรพบุรุษจริงๆ  แล้วได้อพยพมาจากฝั่งประเทศลาว  สมัยรัชกาลที่  ๕  กวาดต้อนข้ามฝั่งโขงมา  เมื่อชาวบ้านขัวสูงสมัยนั้นมาก็เห็นพระในถ้ำแห่งนี้แล้ว  พระพุทธรูปในถ้ำแห่งนี้นั้นมีหลายองค์และหลายขนาด  ต่อมาภายหลังมีพระที่อ่านอักษรขอมได้ขึ้นมาอ่านว่า  “หมื่นชัยสุทธิสาร”  ที่สุวรรณ  ต่อมาภายหลังทานพระกัมมัฎฐานองค์หนึ่ง  (ขอสงวนนาม)  มานำพระไปที่วัดของท่าน  ๑๑  องค์  และต่อมาภายหลังท่านนายทหารมียศถึงพลโท องพลเอกเปรม  ติลสุลานนท์  เป็นแม่ทัพภาคที่  ๒  ในสมัยนั้น  ในขณะขึ้นมาปราบปรามคอมมิวนิสต์  ได้นำไปอีก  ๕  องค์  แล้วเอาไปฝากไว้ที่วัดสะพานคำ  จังหวัดสกลนคร  พระพุทธรูปแห่งนี้จึงหมดไป  เหลือแค่เศียรพระองค์หนึ่งที่ท่านพระอาจารย์ติ๊กเก็บได้เมื่อภายหลัง  ตอนมาตั้งสำนักใหม่ๆ  ชาวบ้านจึงให้นามว่าถ้ำพระ  และในลักษณะของถ้ำนั้นเป็นปล่อง  (แต่ภาษาอีสานว่า  ป่อง)  มันทะลุขึ้นไป  กว้างประมาณหนึ่งเมตรเศษ  ยาวประมาณสองเมตรเศษ  เมื่อมีลักษณะอย่างนี้  พระแจ๋วจึงได้ตั้งชื่อว่า  “วัดถ้ำพระผาป่อง”

 

สร้างศาลาการเปรียญ

                การมาอยู่ที่วัดถ้ำพระผาป่องนั้น  ถ้าไม่ใจเด็ดเดี่ยวแล้วก็ยากที่จะอยู่ได้นานเพราะทั้งสูงชันลำบากในอาหารการขบฉันก็ลำบากเพราะอาศัยอาหารจากชาวบ้าน  ซึ่งเขาก็อดอยากอยู่แล้วฉะนั้นการใช้ชีวิตที่วัดถ้ำพระผาป่องนั้นจึงเป็นไปด้วยความลำบากจริงๆ  แต่สำหรับพระแจ๋วแล้วก็เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด  ส่วนในการขึ้นๆ  ลงๆ  ทุกวันนั้น  ต้องแน่นอนคนที่ไม่มีความอดความทนแล้วก็จะกลัวทันทีแต่นี้เราเป็นเลือดนักสู้  คือศิษย์ของพระตถาคตผู้ยิ่งใหญ่ของโลก  ถ้าเรากลัวต่อสิ่งนี้แล้วความทุกข์ของทุกคนที่มีขวางหน้าอยู่นั้นมันยากลำบากเห็นปานนี้แหละ  จึงไม่คิดเรื่องก่อๆ  สร้างๆ  เพราะสิ่งของแต่ละสิ่งละอันนั้นก็  กว่าจะขึ้นได้ต้องทุลักทุเลมาก  เพียงแค่คนเดินขึ้นก็จะไม่ไหวแล้วนักประสาอะไรกับการนำสิ่งของขึ้นมาสร้างสิ่งต่างๆ  ของวัด  ต้องหมดอาลัยแน่นอน  แต่จะด้วยบุญหรือกรรมก็ไม่ทราบ  จึงเป็นเหตุให้ได้พบรถไถเดินตามที่บ้านห้วยลาด อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย  ซึ่งชาวบ้านเขาได้ดัดแปลงเป็นรถขนของตามภูเขาอันสูงชัน  เมื่อไปเห็นแล้วท่านพระอาจารย์ติ๊กจึงสั่งให้ขึ้นไปเอาตัวอย่างมาเป็นแบบ  เพื่อจะทำเป็นรถขนของขึ้นสร้างศาลาตลอดสิ่งต่างๆ  ของวัดต่อไป  จากนั้นมาจึงเป็นเหตุของการก่อๆ สร้างๆ  ของวัดถ้ำพระผาป่อง  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๖  ตกลงให้มีการสร้างศาลา  ในเดือนมีนาคมก็มีคณะคุณหญิงสุรีพันธุ์  มณีวัต  จากกรุงเทพฯ  ได้มาทอดผ้าป่าเพื่อสร้างศาลาได้เงินทั้งหมดสามล้านบาทเศษ  เป็นการเริ่มต้นในการก่อสร้าง  การที่ก่อสร้างศาลานั้นวัดถ้ำพระผาป่องนั้นเป็นสถานที่ลาดชันแทบจะหาที่ยืนไม่ได้  ดังนั้นเรื่องหาที่นั่งและที่นอนนั้นไม่ต้องถามหาจะหาที่นั่งนั้นยากมากทีเดียว  ถ้าวันไหนญาติโยมมาทำบุญเป็นจำนวนยี่สิบแล้วต้องคอยวิ่งลงศาลาก็แล้วกันเพราะศาลาไม้เก่าๆ  จะหักพังลง  มีหลายครั้งที่ญาติโยมวิ่งลงศาลาเพราะจะหักพัง  เมื่อเห็นความลำบากหลายอย่างเช่นนั้น  พระแจ๋วจึงตัดสินใจให้โยมหาปัจจัยมาสร้างศาลาดังกล่าว  เมื่อคณะคุณหญิงสุรีพันธุ์  มณีวัต  มาทอดผ่าป่าเป็นการเริ่มต้นแล้ว  จึงลงมือการก่อสร้างศาลา  จากการเริ่มต้นตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๕๔๖  เป็นต้นมา  การขนของขึ้นภูเขานั้นลำบากมากทีเดียว  นึกว่าหมดความคาดหวังแล้วในการสร้างศาลาที่วัดถ้ำพระผาป่องนั้น  อย่าว่าแต่การก่อสร้างเลย  แม้แต่คนเดินขึ้นก็เป็นลมจับเสียแล้ว  แต่ด้วยบุญกุศลที่ยังได้รถไถนาเดินตามนั้น  มาประยุกต์ขึ้นแล้วก็ค่อยขนลำเรียงขึ้นทีละเล็กละน้อยปีนป่ายขึ้นไปอย่างทุลักทุเลอย่างมาก  เสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างนั้นราคาจะสูงกว่าทำที่พื้นเรียบเป็นสองสามเท่าตัว  ต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมากทีเดียว  ใช้เวลาในการก่อสร้างศาลาหลังนี้  ๔  ปีเศษ  สิ้นเงินไปเฉพาะศาลาหลังนี้หลังเดียว  ๑๘,๐๐๐,๐๐๐  บาทเศษ  (สิบแปดล้านบาทเศษ)  ส่วนการสร้างศาลานั้นต้องสร้างไปตามหน้าผา  ความยาวของศาลานั้น  ๒๗.๕๐  เมตร  ความสูงของศาลาประมาณ  ๒๑  เมตร  รวมเป็น  ๓  ชั้น

 

สร้างพระอุทยรัตนเจดีย์

                ในการที่กำลังก่อสร้างศาลาอยู่นั้นก็ได้ระลึกถึงปล่องที่เป็นปล่อยทะลุขึ้นไปแล้วมีปัญหามากเมื่อเวลาฝนตกแดดออก  จึงคิดจะสร้างพระเจดีย์ขนาดเล็กคล้อมปล่องไว้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องฝนตกแดดออก  ต่อมาจึงกลายเป็นพระเจดีย์ขนาดกลาง  ความสูงขององค์พระเจดีย์ประมาณ  ๑๙  เมตร  ฐานขององค์เจดีย์ประมาณ  ๗ x  ๗  เมตร  แล้วเตรียมนำวัตถุมงคลต่างๆ  มาบรรจุ  ในตอนกำลังลงมือสร้างพระเจดีย์อยู่นั้นได้เกิดนิมิตประหลาดเกิดขึ้น  พระแจ๋วจึงได้พิจารณานิมิตนั้นจึงได้ทราบว่าการที่เราสร้างพระเจดีย์นี้ไม่ต้องเพราะการที่สร้างพระเจดีย์นั้นต้องหลายคนมาร่วมสร้างจึงจะเป็นพระเจดีย์ที่สมบูรณ์  จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านต่างๆ  มาร่วมขนก้อนอิฐขึ้นภูเขา  เพราะสถานที่ก่อสร้างพระเจดีย์นั้นเป็นสถานที่สูงมากบนยอดเขาถ้ำพระผาป่องจากตีนเขาถึงยอดเขานั้นระยะทางเดิน  ๕๕๐  เมตร  สูงประมาณ  ๓๐๐  เมตรเศษฉะนั้นการลำเรียงสิ่งของขึ้นไปก่อสร้างนั้นจึงเป็นการยากลำบากมากเมื่อประกาศให้คนมาช่วยขนก้อนอิฐขึ้นเขานั้น  ได้มีญาติโยมมาช่วยงานนั้นเป็นจำนวนมาก  ได้อิฐในวันนั้นเป็นจำนวนหลายหมื่นก้อน  หลังจากนั้นก็ได้มีการทำพิธีบรรลุพระเจดีย์ถึงสามครั้ง  จึงแล้วเสร็จ  การก่อสร้างพระเจดีย์นั้นใช้เวลาก่อสร้างเป็นเวลาหนึ่งปีก็แล้วเสร็จใช้งบการก่อสร้างประมาณสามล้านบาทเศษ  และได้ก่อสร้างกุฏิพระเถระขึ้นหนึ่งหลังบนยอดเขาเดินข้ามภูเขาไปอีก  จากถ้ำพระผาป่องไปประมาณ  ๕๐๐  เมตร  จึงลำบากมากในการก่อสร้างใช้เวลาการก่อสร้างอยู่นั้นสองปีเศษจึงแล้วเสร็จในการก่อสร้างอยู่นั้นมีญาติโยมมาร่วมยืนกันเป็นแถวๆ  ช่วยขนของกันอยู่หลายครั้ง  ใช้งบในการก่อสร้างประมาณสี่ล้านบาทเศษ  การก่อสร้างศาลานั้นเริ่มเมื่อปลายปี  พ.ศ.  ๒๕๓๗  แล้วเสร็จ  ปี  พ.ศ.  ๒๕๓๘  ใช้เวลาในการก่อสร้าง  ๑  ปีเต็ม  สิ้นงบในการก่อสร้าง  ๓,๐๐๐,๐๐๐  บาทเศษ  (สามล้านบาทเศษ)  และได้ฉลองเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๓๘  นั้นเอง  การสร้างองค์พระเจดีย์นั้นสำหรับพระแจ๋วแล้วนั้นจะมีอุปสรรคปัญหามากมายนัก  และอานิสงค์ก็สูงมากที่สุดยากที่คนจะได้ทำและทำได้

 

การสร้างพระเจ็ดกษัตริย์

                เมื่อสร้างศาลาและสิ่งต่าง ๆ เสร็จแล้ว นึกว่าจะพักผ่อนเพราะเหนื่อยต่อการว่ารนมากแล้ว  แต่จะด้วยบุญหรืทอกรรมเก่าก็ไม่ทราบได้ ก็ได้มีโอกาสไปกราบหลวงพ่อสอ พันธุโล แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง เป็นครั้งที่สองเท่านั้นแหละ ท่านก็ได้สั่งให้หล่อพระเจ็ดกษัตริย์ ขนาดหน้าตัด ๑๐๙ นิ้ว แต่พระแจ๋วยังไม่ทันรับปากหลวงพ่อสอ เพราะกลัวมีปัญหาเลยกลับไปกราบเรียนหลวงปู่อีกหลายครั้ง หลวงปู่สอก็ยังยันว่าต้องทำอย่าวงเดียวแต่ที่นี้ให้เหลือขนาด ๙๙นิ้ว เลยรับปากกับท่านและต้องทำโครงการจัดหาปัจจัยเป็นทุนทรัพย์ในการสร้างพระองค์นี้ อย่างน้อยห้าล้านบาทขึ้นไปเพราะเป็นพระที่ใหญ่มากทีเดียว พร้อมกับทังหาปัจจัยสร้างองค์เล็กให้คนบูชา แล้วนำปัจจัยที่ได้จาการบูชาพระองค์เล็กนั้นมาเป็นทุนในการสร้างองค์ใหญ่ต่อไป จึงได้จัดตั้งเป็นคณะกรรมการขึ้นมา และหลวงปู่สอก็ได้สร้างวัดไว้หลายแห่งด้วยกัน องค์ที่รองลงมาจากวัดถ้ำพระผาป่องนั้นก็เป้นของวัดเวฬุวัน อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จากนั้นก็มีมากองค์ที่คณะหลวงปู่สอกับคณะกรรมการได้สร้างพระเจ็ดกษัตริย์อยู่นั้นเป็นเสลาสองปีเศษจึงเสร็จเรียบร้อย สำหรับอานุภาพของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์นั้นมีมากมาย ส่วนมากแล้วท่านจะเก่งเรื่องทางน้ำ ก่อนที่จะได้เป็นพระคู่บารมีของหลวงปู่สอนั้นได้มีนิมิตอยู่ตั้ง ๖ ปีจึงได้มา เมื่อได้มาแล้วจึงเกิดปาฏิหาริย์หลายอย่างกับหลวงปู่สอ จนได้มาสร้างขึ้นองค์ใหญ่ ๆ ในโครงการช่วยชาติ ในช่วงเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติทางด้านเศรษฐกิจ และเกิดปาฏิหาริย์มากกับทางการไฟฟ่าแห่งประเทศไทยจนทางการไฟฟ้ายอมรับอานุภาพโดยปริยาย สำหรับองค์ที่วัดถ้ำพระผาป่องนั้นงบสร้าง สี่ล้านบาท และวิหารอีกหนึ่งล้านห้าแสนบาท รวมเป็นห้าล้านห้าแสนบาท ส่วนในด้านอานุภาพสำหรับองค์ที่วัดถ้ำพระผาป่องนั้นท่านจะแสดงให้ประจักแก่สายตาผู้มาอัญเชิญท่านขึ้น วัดถ้ำพระผาป่องทุกคนที่มาในวันนั้นย่อมซึ้งในอานุภาพของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ท่านที่สนใจเรื่องนี้ต้องกาอ่านในหนังสือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เอาเอง

 

วัดถ้ำพระผาป่อง  ยุคปัจจุบัน

                มาถึง พ.ศ. ๒๕๔๘ นี้ วัดถ้ำพระผาป่องนั้นได้พัฒนาในสิ่งต่างขึ้นหลายอย่างมาก จัดว่าสะดวกสบายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมายนัก เช่น ทางเดินขึ้นบนถ้ำก็ได้ทำบันไดสุดเส้นทางแล้ว โดยมีหินศิลาแรง ครึ่งทางเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กครึ่งทาง รวมระยะทาง ๕๐๐ เมตรที่ขึ้นเขาล้วน ๆ และทางขึ้นก็เทเป็นคอนกรีตเสริทมเหล็กตลอดเส้นทาง จนถึงที่จอดรถตีนเขาก็เททั้งหมดแล้ว ข้างบันได ๕ ฟุต สูง ๗ เมตร สวยงามมาก นอกจากนั้นก็เป็นศาลาใหญ่ในถ้ำพระผาป่องที่สร้างขึ้นมาด้วยความเหนื่อยยากที่สุด เป็นศาลาคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๗.๕๐ เมร สูง 3 ชั้น จากฐานถึงยอดสาลาสูง ๒๒ เมตร การสร้างก็สวยงามมากน่าดู สร้างขึ้นรับกับถ้ำพระผาป่อง พระพุทธศรีสกยติลกคีรี เป็นองค์ประธานในศาลาใหญ่ และยังมีองค์พระอุทัยรัตนเจดีย์  ซึ่งเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระพิมสมเด็จเป็นแสนองค์และของมงคลต่าง ๆ ทั้งพระธาตุด้วยหลายองค์ และลูกแก้วศักดิ์สิทธิ์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสิบลูก องค์เจดีย์นั้นขนาดฐาน ๗x๗ เมตร สูง ๑๙ เมตร และยังมีพระเจ็ดกษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน และวิหารหลวงพ่อที่สวยงาม และ กุฏิหน้าผาที่สวยงามชมธรรมชาติ ยังมีกลุ่มบ้านไม้ ๕ หลวงสร้างบนถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาด ๗ x ๑๑ เมตร สูง ๖ เมตร ยังมีน้ำตกจำลองสองแห่งที่สวยงาม และยังมีน้ำตกถ้ำไขแสงเป็นน้ำตกธรรมชาติตลอดปี ยังมีน้ำแร่ธรรมชาติที่มีคุณภาพต่อร่างกาย ยังมีอื่น ๆ อีกมากมาย

ลำดับการอยู่จำพรรษา

                พรรษาที่  ๑           วัดป่าคุณธรรมวาส บ้านนาคำ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

                พรรษาที่ ๒           วัดป่าแก้ว บ้านชุมพล ตำบลชุมพล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

                พรรษาที่  ๓           วัดป่านาคนิมิต  บ้านามน ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ

                                                 จังหวัดสกลนคร

                พรรษาที่  ๔-๑๖    วัดถ้ำพระผาป่อง บ้านขัวสูง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

                พรรษาที่ ๑๗         สำนักสงฆ์ หมู่ ๑๒ ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

                พรรษาที่ ๑๘-๒๐ วัดถ้าพระผาป่อง  บ้านขัวสูง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

ลำดับสมณศักดิ์

                เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสมุห์ ในพระฐานาท่านเจ้าคุณวินัยสารสุธี

                เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปลัด ในพระวิสุทธิธรรมาจารย์ จ.มุกดาหาร(ธ)

                เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑  ได้รับพระราชทานพระครูชั้นสัญญาบัตร เป็นพระครูโสภณขันติพลากร

ตำแหน่ง

                เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๓๓  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดถ้ำพระผาป่อง

                เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔   ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลกกตูม (ธ)

รับพระราชทานรางวัลเสมาธรรมจักร

                เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๖ พฤษภาคม  ๒๕๔๔  ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สาขาพัฒนาชุมชน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา

ผลงานด้านการก่อสร้างในวัด ถ้ำพระผาป่อง

                (๑) ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างบ้านพักโยม ร่วมกับคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัติ บ้านไม้ ๔ ห้อง ชั้นเดียว ขนาด ๕ X ๑๒  เมตร สิ้นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนบาท)

                (๒) ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างน้ำประปาระบบภูเขา ร่วมกับคุณเกรียงไกร จารุทวี ระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร แป๊บเหล็กและท่อพีวีซี สิ้นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท(สามแสนบาท)

                (๓) ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สร้างกุฏิไม้ร่วมกับท่านพระอาจารย์ติ๊กขนาด ๔.๕๐ x ๓ เมตร จำนวน ๔ หลัง ๑๖๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนหกหมื่นบาท)

                (๔) ปี พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๐ สร้างศาลาการเปรียญ ร่วมกับท่านพระอาจารย์ติ๊ก ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๗.๕๐ เมตร สูง ๒ ชั้น จากบานถึงยอดหลังคา ๒๒ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างอยู่ ๔ ปี จึงแล้วเสร็จ สิ้นเงิน ๑๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบแปดล้านบาทเศษ)

                (๕) ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างระบบเสียงในศาลา ร่วมกับคณะศิษย์ขนาด ๒๐ ลำโพง ยาว ๕๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท  (สองแสนบาท)

                (๖) ปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๓๕๓๘ สร้างพระอุทัยรัตนเจดีย์ ร่วงกับท่านพระอาจารย์ติ๊ก ขนาดของคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐาน ๗ x๗ เมตร สูง ๑๙ เมตร ขนาด ๔ ชั้น สิ้นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาทเศษ)

                (๗) ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างโรงฉันน้ำร้อนไม้ผสมปูนร่วมกับคณะศิษย์ ขนาด ๘x๘  เมตร ๒ ชัน ปูกระเบื้อง และไม้ สิ้นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาท)

                (๘) ปี พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๘ สร้างกุฏิพระเถระร่วมกับท่านพระอาจารย์ติ ก ขนาด ๗x๑๒ เมตร สิ้นเงินไป ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาทเศษ)

                (๙) ปี พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๓ สร้างพระเจ็ดกษัตริย์ ร่วมกับหลวงปู่สอ พันธุโล ขนาดน้ำหนัก ๙๙ นิ้ง สูง ๗.๕๐ เมตร พร้อมสร้างวิหารประดิษฐาน ขนาด ๘x๑๕ เมตร สูง ๑๓ เมตร สิ้นเงินเสร้าง๕,๕๐๐,๐๐๐ บาท(ห้าล้านห้าแสนบาท)

                (๑๐) ปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๔๒ ร่วมกับคณะศิษย์ สร้างบันไดขึ้นวัดถ้ำพระผาป่อง ยาว ๕๐๐ เมตร กว้าง ๒ เมตร หินศิลาแลง ๒๕๐ เมตร คอนกรีต ๒๕๐ เมตร สิ้นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท(หกแสนบาท)

                (๑๑) ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างธนาคารข้าวให้ชาวบ้าน ร่วมกับท่านสาโรชน์ คัชมาตย์ ขนาด ๕๐ เกวียน สิ้นเงิน ๒๒๐,๐๐๐บาท สองแสนสองหมื่นบาท)

                (๑๒) ปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๔ สร้างถนนคอนกรีต เสริมเหล็กขึ้นวัดถ้ำพระผาป่องพร้อมลานจอดรถ ร่วมกับ ท่านอธิบดีสาโรช คัชมาตย์ระยะทาง ๘๐๐ เมตร สิ้นเงิน ๒,๒๐๐,๐๐๐ บาท(สองล้านสองแสนบาท)

                (๑๓) ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างห้องน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก  ร่วมกับคณะศิษย์ จำนวน ๑๒ ห้อง สิ้นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท(สามแสนบาท)

                (๑๔) ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ต่อไฟฟ้าแรงสูงเข้าวัดรวมกับท่านพระอาจารย์ติ๊ก สิ้นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท(สามแสนบาท)

                (๑๕) ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างโรงครัวคอนกรีตผสมไม้ร่วมกับคณะศิษย์ ๒ ชั้น ขนาด ๗x๙.๕๐ เมตร สิ้นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท(สามแสนบาท)

                (๑๖) ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สร้างศาลาริมทางขึ้นวัดถ้ำพระผาป่องร่วมกับคุณสมบูรณ์ คุณสมชัย อึงอารี ร้านอึ้งกุ้ยนเฮงสกลนคร ขนาด ๓x๔ เมตร จำนวน ๓ หลัง สิ้นเงิน ๙๐,๐๐๐  บาท(เก้าหมื่นบาท)

                (๑๗) ปี พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ร่วมกับคณะศิษย์ขนาด ๗x๑๑ เมตร สูง ๖ เมตร จุน้ำได้ ๖๐๐,๐๐๐ ลิตร สิ้นเงิน ๙๐๐,๐๐๐  บาท(เก้าแสนบาท)

                (๑๘) ปี พ.ศ.๒๕๔๒ สร้างพระสมเด็จใหญ่ที่สุดในโลกร่วมกับคุณสมชัย อึงอารีสกลนคร ขนาดดกว้าง ๕ เมตร สูง ๗ เมตร พร้อมแต่งบริเวณสิ้นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนสองหมื่นบาท)

                (๑๙)ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างห้องน้ำโยม ร่วมกับคณะศิษย์ขนาด ๔ ห้อง สิ้นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาท)

                (๒๐) ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างบันไดเหล็กขึ้นวิหารพระเจ็ดกษัตริย์ร่วมคุณยายสมศักดิ์ หนองคาย และคณะกรุงเทพ ฯ สิ้นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท(สี่แสนบาท)

                (๒๑) ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างศาลาอนงค์เทพ ร่วมกับลูกหลานคุณยายสมศักดิ์ หนองคาย ๔x๖เมตร สิ้นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท)

                (๒๒) ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ปรับเตรี

หมายเลขบันทึก: 445282เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2011 01:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท