Changes to Bioom's


Bloom ปรับใหม่
Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งในตอนที่เราเรียนในระดับ ป.โท ที่เรียนในด้านการวัดและประเมินผล หรือที่เราได้ศึกษาตามหนังสือ ตำราทางด้านการวัดผลและประเมินผล ที่นักการศึกษาได้เขียนไว้ และนิยามความหมายไว้หลายท่าน ซึ่งประเด็นใหญ่ๆ ได้แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย ในส่วนของด้านพุทธิพิสัย เราจะทราบกันดี หรือท่องจนขึ้นใจ (สมัยเรียน ท่องสอบ) ว่าจะมีด้าน ความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด ทฤษฎีเรียนรู้ของบลูมเดิมนั้น มีการแยกระดับการเรียนรู้ที่แยกออกจากกัน การเรียนรู้ระดับสูงต้องเกิดจากการเรียนรุ้ระดับต่ำก่อนเสมอ และขั้นสูงสุดของการเรียนรู้คือการประเมินค่า ซึ่งแตกต่างกับ version ใหม่ที่การเรียนรู้ระดับสูงสุดเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถต่อยอดได้ อย่างไม่รู้จบ ผู้เรียนสามารถสร้างสิ่งใหม่ที่ไม่ซ้ำ ดังภาพประกอบ

ความแตกต่างของ Bloom (แบบเดิม) และ Bloom (แบบปรับใหม่) คือ
    1. แตกต่างกันตรงที่ภาพปิรามิด คือ Bloom (แบบเดิม) การเรียนรู้จบลงที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อได้รับผลการประเมินแล้วผู้เรียนก็มีการตื่นตัวนำความรู้ที่ได้ไปสร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์งานใหม่
    2. Bloom (แบบปรับใหม่) การเรียนรู้ที่ระดับความรู้ความจำมากที่สุด รองลงมาคือความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินผลงานและการสร้างสรรค์งานใหม่จากองค์ความรู้ที่ได้นั่นก็คือ เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้ทั้งหมด
    3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมจากศัพท์เดิมกับศัพท์ใหม่นั้นมีลักษณะคล้ายกันแต่ต่างกันตรงลักษณะของคำแบบเก่าเป็นคำนาม แบบใหม่เป็นคำกริยา ที่สามารถบอกได้ถึงทักษะ กระบวนการปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่ได้มาจากความจำหรือความรู้เดิมที่มีอยู่นำมาประยุกต์ใช้ มาวิเคราะห์ พัฒนาและสร้างเป็นผลงานขึ้น ซึ่งทำให้มองเห็นเป็นรูปธรรม เป็นกระบวนการได้มากกว่า
    4. ในส่วนของ Bloom (แบบปรับใหม่) ฐานล่างสุดของภาพคือความจำ ความรู้ที่มีอยู่เดิมในตัวคน ซึ่งอาจมาจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาก เมื่อระดับสูงขึ้นไปคือความเข้าใจ ประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ พัฒนาและสร้างสรรค์นั้นค่อยๆ ลดปริมาณลงตามลำดับ คือเป็นการที่ผู้เรียนแต่ละคนมึความแตกต่างกัน หากมีการกำหนดเป้าหมายสักหนึ่งเรื่อง ให้กับกลุ่มผู้เรียน 1 กลุ่ม ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมต่างกัน ผู้เรียนส่วนหนึ่งสามารถทำความเข้าใจ สามารถประยุกต์เอาความรู้ที่มีอยู่นั้นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานได้สำเร็จ แต่บางคนนั้นอาจทำได้เพียงทำความเข้าใจ นำความรู้ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ วิเคราะห์ได้ แต่ยังไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เกิดผลสำเร็จได้ ซึ่งทำให้เกิดระดับขั้นในการเรียนรู้

จากภาพทั้งสอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 445204เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท