R2R : ความต่อเนื่อง...ขยายผลสู่ "การพัฒนาสุขภาพชุมชน" สู่ยโสธร


Role Model ที่ดีต่อเรื่องการพัฒนาสุขภาพชุมชนของคนอิสานได้...

       จากการที่ลงไปพื้นที่ศึกษากระบวนการทางปัญญา ในโครงการไตรภาคีเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน ที่ จ.พัทลุง และมาต่อภาพที่ขอนแก่น..จากนั้นผลการศึกษานำมาสู่การวิเคราะห์...และประมวลผลนำสู่การขยายผลการศึกษาจริงในกระบวนการทางปัญญา...ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน โดยพื้นที่ที่ตัดสินใจเลือกศึกษาครั้งนี้ คือ จังหวัดยโสธร เพราะได้โจทย์มาว่า...น่าจะเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีโครงการและกิจกรรมใดลงไปในพื้นที่มากนัก

       ดิฉันจึงเสนอพื้นที่จังหวัดยโสธร ในการศึกษาด้วยเหตุผลที่สอดคล้องตามเป้าหมายดังกล่าว อีกทั้งมีอุบัติการณ์ในการเกิดโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในท้องถิ่นมากมาย เช่น ภาวะการเจ็บป่วย และอัตราการตาย/เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานนั้นจัดเป็นอันดับต้นๆ ของผู้มารับบริการเลยทีเดียว...นอกจากประเด็นทางด้านการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายแล้ว...ในการพัฒนาสุขภาพที่ควรดำเนินไปควบคู่กันไปด้วย คือ การดูสุขภาพจิต(ใจ)...ไปด้วย...

       ดังนั้น หากการได้พัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองด้วยแล้ว...น่าจะดีอย่างยิ่งสำหรับผลงานการวิจัยชิ้นนี้ ดิฉันจึงไม่รีรอที่ลงมือศึกษาและเตรียมการต่อเนื่องการศึกษาใน phase I ในการศึกษาพื้นที่และบริบทที่เกี่ยวข้อง

       ดิฉัน...ไปขอพื้นที่ที่พี่เขียวแบ่งโซนในการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต และโซนของผู้ป่วยเบาหวาน (ตอนนี้เรากำลังพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานทั้งกายและจิต..ผนวกกันเข้าไป)...ว่าแต่ละพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร แต่มีสองพื้นที่ในตอนนี้ที่ดิฉันสนใจ คือ บ้านท่าเยี่ยม เพราะเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชนเริ่มเดินเรื่อง "หมู่บ้านเข้มแข็งต้านภัยยาเสพติด...และสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านร้องขอ คือ แนวทางการดูสุขภาพของคนในชุมชน..." ผู้นำหมู่บ้านมีใจรักและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง...แต่จะอย่างไรดิฉันคงต้องลงไปศึกษาพื้นที่...

       และอีกหนึ่งพื้นที่ คือ บ้านคำแดง จากข้อมูลที่ได้รับนั้น ทราบมาว่าภาคการเมืองท้องถิ่น และคนในชุมชนร่วมมือร่วมใจกันดี มีกิจกรรมที่ร่วมกันทำอยู่ประจำ ดังนั้น หากมีการลงไปกระตุ้นปฏิกิริยาการสร้างความรู้ของคนในชุมชน น่าจะเป็น Role Model ที่ดีต่อเรื่องการพัฒนาสุขภาพชุมชนของคนอิสานได้...

       นอกจากสองพื้นที่นี้แล้ว...ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ดิฉันต้องลงไป capture กระบวนการแห่งภูมิปัญญาของเขาต่อกระบวนการสร้างความรู้...โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง...เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าว...แล้วสิ่งที่ต้องดำเนินต่อไปนั่นคือ "การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้"...ที่เหมาะสมกับคนในท้องถิ่นนั้น...

 

หมายเลขบันทึก: 44473เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     วันหนึ่งทีมงานในชุมชนไตรภาคีฯ อาจจะยกทีมไปดูงานที่นั่น เพื่อ ลปรร.ต่อยอด ยังไงก็ฝากเป็นธุระจัดการให้ด้วยล๊ะกันนะครับ

กำลังจะเรียนปรึกษาอยู่พอดีคะ...ท่านชายขอบ...

จากความเชื่อมโยงจากไตรภาคีฯ ที่ได้รับความอนุเคราะห์อย่างดีจากคุณชายขอบนั้น...

ตอนนี้มาแตกหน่อออกผล...ที่"ยโสธร"...คงยังจะต้องได้ขอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก...ทางทีมไตรภาคีฯ...ของคุณชายขอบอยู่นะคะ...

...

สำหรับงานวิจัยทีม...H2O...ภายใต้โครงการไตรภาคีฯนั้นยังดำเนินต่อนะคะ...สำหรับ paper ที่ลงไปศึกษาใน phase แรกนั้นเราน่าจะสรุป paper ได้แล้วนะคะ...เพราะล่วงเลยเวลามานานแล้วคะ....

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท