๔. ย้อนรอยพระนวกะ ตอนที่ ๔


"ถ้าเราใช้ปัญญามาจับ และพิจารณา ก็จะได้ธรรมะที่ให้ข้อคิดจากการทำความสะอาดลานวัดไม่น้อย ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้ข้องคิดจากการกวาดลานวัดมาพอสมควร"

หลังจากคราวที่แล้วที่ผู้เขียนได้เล่าให้ฟังถึง กิจวัตรประจำวันของการเป็นพระนวกะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การจำวัด การตื่นมาทำวัตรเช้า การออกบิณฑบาต และการฉันเช้า พร้อมกับได้แถมท้ายด้วยการสอดแทรกคำสอนของพระอาจารย์ เกี่ยวกับเรื่องการอุ้มบาตรที่เปรียบการอุ้มท้องของแม่ไปแล้วนั้น  คราวนี้ผู้เขียนจะนำท่านไปเรียนรู้เกี่ยวกับกิจวัตรของพระนวกะ หลังเสร็จสิ้นการฉันเช้าแล้ว


เมื่อเสร็จสิ้นจากการฉันภัตรตาหารเช้าและทำความสะอาดบาตรแล้ว  พระนวกะจะได้รับมอบพื้นที่เขตสุขาภิบาลภายในวัตรให้รับผิดชอบเป็นกลุ่มๆ (แบ่งตามกุฏิที่พัก) ในส่วนของผู้เขียนนั้นได้รับผิดชอบบริเวณพื้นทีี่โรงฉัน ซึ่งต้องดูแลความสะอาดเรียบร้อย ล้างทำความสะอาดบริเวณที่ล้างจาน กวาดใบไม้โดยรอบ และนำขยะในถุงดำไปทิ้ง โดยมีเพื่อนพระนวกะร่วมรับผิดชอบด้วยกันสามรูป (รวมผู้เขียนด้วย)

 

การทำความสะอาดลานวัด และเขตรับผิดชอบนั้น หากมองผิวเผิญก็จะได้เพียงความสะอาดของลานวัด หากแต่ถ้า่เราใช้ปัญญามาจับและพิจารณา ก็จะได้ธรรมะที่ข้อคิดจากการทำความสะอาดลานวัดไม่น้อย ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้ข้อคิดจากการกวาดลานวัดพอสมควร ซึ่งพอจะแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามัคคี การกวาดลานวัดของพระนวกะนอกจากจะนำมาซึ่งความสุข (ที่เห็นวัดสะอาด) และความสำเร็จ (ในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย)

  • ความสะอาด เมื่อเรากวาดลานวัดแล้ว ทำให้วานดูสะอาดร่มรื่นน่าอยู่อาศัย สมกับความเป็นสถานที่สงบ สงัด เหมาะแก่การเข้ามาเรียนรู้ และปฏิบัติธรรม

  • สมาธิ และกำจัดความฟุ้งซ๋าน การกวาดลานวัดเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง เพราะขณะกวาดลานวัด จิตเราจะจดจ่ออยู่กับพื้นดิน และใบไม้ กับด้ามไม้กวาด ทำให้พระนวกะซึ่งเป็นพระบวชใหม่ ไม่คิดฟุ้งซ่าน เนื่องจากยังสละเพศฆราวาสไม่สิ้น ฯลฯ

เมื่อเสร็จสิ้นจากการกวาดลานวัด เหล่าพระนวกะก็จะได้รับการอบรมวัตรข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นพระใหม่ และศึกษาหลักคำสอนของพุทธศาสนาเพื่อปูพื้นฐานสำหรับการนำไปสอบนักธรรมชั้นตรี (เป็นวิชาที่สอนเกี่ยวประวัติความเป็นมา และหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) และปลูกฝังการเป็นพุทธบริษัทที่ดีในอนาคต เพราะพระนวกะบางรูปที่บวชก็มีเป้าหมายที่จะจำวัดอยู่ต่อไปภายหลังออกพรรษา กับพระอีกจำนวนมากก็จะต้องลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์ใช้ชีวิตแบบบ้านๆ เป็นอุบาสก ต่อไป

 

การอบรมจะดำเนินไปจนถึงช่วงสิบโมงครึ่ง พระนวกะก็จะมีเวลาเตรียมตัวฉันเพลซึ่งจะฉันกันในเวลาสิบเอ็ดนาฬิกาตรง ซึ่งการปฏิบัติก็ไม่ต่างกับการฉันจังหาร (ฉันเช้า) มากนัก และเมื่อเสร็จสิ้นการฉันเพลแล้วพระนวกะจะมีเวลาพักผ่อนระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มเข้ารับการอบรมในรอบบ่ายอีกครั้ง จนถึงเวลาบ่ายสามโมง จากนั้นก็จะเสียงระฆังดังส่งสัญญาณการทำวัตรเย็นในเวลา บ่ายสามโมงครึ่งเพื่อให้พระนวกะทำวัตรเย็นในช่วงบ่ายสี่โมงเย็น การทำวัตรเย็นนี้บางทีก็มีชาวบ้านมีความศรัทธามาร่วมทำวัตรสวดมนต์ด้วย

 

เมื่อการทำวัตรเย็นเสร็จแล้วพระนวกะจะมีเวลาสำหรับทำกิจวัตรส่วนตัวระยะหนึ่ง จนเวลาหนึ่งทุ่มตรง ก็จะมีการสอนการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน ไปจนเวลาสามทุ่ม 
ซึ่งทางวัดมิได้บังคับ ประมาณว่าใครทำใครได้ (พระนวกะบางรูปก็แยกตัวมาทำกรรมฐานเอง) จากนั้นพระทุกรูปก็จะจำวัดตามกุฏิ  ทำให้บรรยากาศที่เงียบสงบอยู่แล้วของวัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) ยิ่งทวีความเงียบ สงบ และสงัดไปอีกเท่าตัว....

หมายเลขบันทึก: 444485เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2011 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท