การแปลภาษาเขียนและภาษาพูด การแก้ไขปัญหาในการแปล การใช้ conjuction ในการแปล และการใช้Adverbs กริยาวิเศษณ์ในการแปล


การแปลภาษาเขียนและภาษาพูด

       การแปลภาษาเขียนและภาษาพูด

1.ถ้าต้นฉบับเป็นการพูดและมีผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดออกเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยวิธีพูดเราเรียก การถ่ายทอดนี้ว่า การแปลแบบล่าม ซึ่งอาจเป็นการถ่ายทอดไปพร้อมๆกับผู้พูด หรืออาจจะรอให้ผู้พูดพูดจบก่อนแล้วจึงถ่ายทอดให้กับผู้ฟัง

2.การแปลจากต้นฉบับเป็นงานเขียน และผู้แปลแปลเป็นภาษาเขียน การแปลแบบนี้แพร่หลายเป็น อย่างมากและให้ประโยชน์ต่อมนุษยชาติทั้งในด้านส่งเสริมการศึกษา เผยแพร่วัฒนธรรม และเพิ่ม ความเข้าใจอันดีระหว่างชนชาติ

 

การแก้ไขปัญหาในการแปล

       การแก้ไขปัญหาในการแปล

1. ศึกษาวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาให้ลึกซึ้ง ผู้แปลต้องให้แน่ใจว่า ตนมีความรู้และภูมิหลังในเรื่องนั้นๆ หรือวัฒนธรรมนั้นๆ เพียงพอก่อนที่จะแปล

2.ศึกษาโครงสร้างของภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลอย่างละเอียดเมื่อมีความเข้าใจ โครงสร้าง ของภาษาต้นฉบับดีพอแล้ว การแปลก็จะไม่มีปัญหาหรือผิดพลาดมากนัก

3.ศึกษาเรื่องคำที่มีความหมายแฝงหรือเลือก ใช้คำเพื่อแสดงน้ำเสียง เงาของความหมายท่วงทำนอง หรือระดับของภาษาต่างๆกัน 4.เมื่อมีปัญหา สิ่งที่ผู้แปลต้องปฏิบัติคือค้นคว้า หาความหมายของคำหรือสำนวน ที่เป็นปัญหาจาก พจนานุกรมและสารานุกรม ซึ่งยิ่งค้นได้กว้างมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นการดี และทำให้ผู้แปลแจ่มแจ้งขึ้นเท่านั้น นอกจาการพึ่งพจนานุกรมและสารานุกรมต่างๆแล้ว ผู้แปลยังอาจจะถามเจ้าของภาษาได้โดยตรงถึงสิ่งที่ผู้แปลไม่กระจ่างด้วย

 

การใช้ conjuction ในการแปล

        การใช้คำเชื่อมหรือ conjuction ในภาษาอังกฤษ ถือว่ามีความสำคัญในการแปลเหมือนกันนะคะ แตงอ่อนคิดว่า เพราะเมื่อเรารู้หลักแล้ว เราอาจจะสามารถแปลได้ถูกต้อง และชัดเจน Conjunction คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา เช่น ประโยคต่อประโยค I study English, but he studies French. ฉันเรียนภาษาอังกฤษ แต่เขาเรียนภาษาฝรั่งเศส คำนามต่อนาม A boy and a girl are dancing. เด็กชายและเด็กหญิงกำลังเต้นรำ กริยาต่อกริยา He comes and stays with me at home. เขามาพักอยู่กับฉันที่บ้าน Conjunction แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. Conjunction คำเดียว (Single Conjuncton)

2. Conjunction วลีหรือผสม (Conjunction Phrase)

       1.Conjunction คำเดียวที่พบเห็นบ่อย ๆ และใช้กันแพร่หลายมีดังต่อไปนี้ and,or,but,so,as,because,for,whether,until,after,before,if,though,that,when, besides He is sick so he goes to see a doctor. เขาไม่สบาย ดังนั้นเขาจึงไปหาหมอ

       2. Conjunction วลีหรือ conjunction ผสมที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ either.....or ไม่อันใดก็อันหนึ่ง neither.....nor ไม่ทั้งสอง as well as เช่นเดียวกันกับ not only.....but also ไม่เพียงแต่.....เท่านั้น แต่อีกด้วย ทั้งหมดจะได้อธิบายเป็นรายตัว ดังต่อไปนี้ Either...or แปลว่า ไม่อันใดก็อันหนึ่ง ใช้สำหรับให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปควบประธาน 2 ตัว จะใช้ กริยาเป็นรูป เอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นต้องถือตามประธานตัวหลัง เช่น Either you or he is punished tonight. ไม่คุณก็เขาถูกลงโทษคืนนี้ Either he or I am mistaken. ไม่เขาก็ผมเป็นผู้ผิด เป็นต้น Neither...nor แปลว่า "ไม่ทั้งสอง" ใช้สำหรับปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ถ้าไปควบประธาน 2 ตัว จะใช้กริยาเอกพจน์หรือ พหูพจน์นั้น ต้องถือตามประธานตัวหลังเช่นเดียวกัน เช่น Neither her friends nor she speaks Chinese. ทั้งเพื่อนของเธอและเธอไม่พูดภาษาจีน Neither you nor he studies mathematics. ทั้งคุณและเขาไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์ เป็นต้น as well as แปลว่า "เช่นเดียวกันกับ" เมื่อไปควบประธาน 2 ตัว จะใช้กริยาเป็นพจน์อะไรนั้นสำหรับตัวนี้ต้องถือเอาตาม ประธานที่อยู่ข้างหน้า เช่น Manop as well as his friends is playing football. มานพก็เช่นเดียวกันกับเพื่อนของเขากำลังเล่นฟุตบอล He as well as I is sick. เขาก็เช่นเดียวกันกับผมไม่สบาย เป็นต้น Not only...but also แปลว่า "ไม่เพียงแต่...เท่านั้น แต่ยัง อีกด้วย" เราใช้สันธานวลีคำนี้ เพื่อเน้นน้ำหนักของข้อความ ทั้งสองอย่างให้เด่นชัดขึ้นแต่สิ่งที่นำมาให้ ใช้หรือกล่าวถึงนั้น ต้องมีความสามารถไปทางเดียวกัน เช่น ดีก็ดีด้วยกัน เช่น Malisa is not beautiful but also clever. มาลิสาไม่เพียงแต่สวยเท่านั้น แต่ยังฉลาดอีกด้วย Wichai is not only stupid but also lazy. วิชัยไม่ใช่เพียงแต่โง่เท่านั้น แต่ยังขี้เกียจอีกด้วย not only.......but also "อนึ่งถ้า" ไปใช้เชื่อมประธาน 2 ตัว จะใช้กริยาเป็นพจน์อะไรนั้นต้องถือตามประธานตัวหลัง Not only your friends but also your sister wants to see the cinema tonight. ไม่เพียงแต่เพื่อนของท่านเท่านั้น แต่น้องสาวของท่านด้วยที่ต้องการไปดูหนังคืนนี้ Not only I but also my friends are studying English every day. ไม่เพียงแต่ผมเท่านั้น แต่เพื่อนของผมอีกด้วยที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษทุก ๆ วัน

 

การใช้Adverbs กริยาวิเศษณ์ในการแปล

       คำกริยาวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์ ขยายคำกริยาหรือ ขยายคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันซึ่งแบ่งออกเป็นชนิดต่างดังต่อไปนี้ Adverbs of Frequency คือ adverb ที่บอกความถี่ว่าทำสิ่งนี้สิ่งนั้นบ่อยหรือถี่มากน้อยแค่ไหนได้แก่คำว่า always สมํ่าเสมอ เป็นประจำ often บ่อยๆ frequency บ่อย ถี่ usually ตามปกติ sometimes บางครั้งบางครา generally โดยทั่วๆไป seldom ไม่ค่อยจะ hardly ever แทบจะไม่ never ไม่เคยเลย การวางตำแหน่ง Adverbs of Frequency 1.ถ้าประโยคนั้นมี verb to be หรือ verb to have ให้วางไว้หลัง verb to be หรือ verb to have She is always late. He has never traveled by train. 2. วางไว้หน้าคำกริยาแท้เช่น Don often goes to the park. Adverbs of Manner คือ adverb ที่บอกอาการ หรือท่าทาง สถานะ คุณภาพเช่น happily อย่างมีความสุข quickly อย่างอย่างรวดเร็ว beautifully อย่างสวยงาม late ล่าช้า well ดี carefully อย่างระมัดระวัง fast เร็ว She walks slowly. The children sing beautifully. It is important to write carefully. Adverbs of Time คือ adverb ที่บอกเวลา today วันนี้ tonight คืนนี้ yesterday เมื่อวาน finally ในที่สุด last ครั้งสุดท้าย already เรียบร้อยแล้ว soon ในเร็วๆนี้ before ก่อน still ยังคง every week ทุกๆสัปดาห์ We'll soon be home. When did you last see your family? Adverbs of Place คือ adverb ที่บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า here ที่นี่ around รอบๆ there ที่นั่น somewhere ที่ไหนสักแห่ง near ใกล้ๆ We are playing here. The boy is sitting there. Adverbs of Degree คือ adverb ที่บอกปริมาณจะวางไว้หน้าคำ adj., adv. หรือกริยาที่มันขยาย ได้แก่คำว่า very มาก too มาก(เกินไป) quite มาก(ทีเดียว) almost เกือบจะ He is too big to run. The bag is very heavy. I am almost finished. 1.ในกรณีที่ประโยคหนึ่งมีคำกริยาวิเศษณ์อยู่หลายชนิดให้เรียงลำดับดังนี้ manner, place, time The kids go to bed early. He works hard every week. He sang beautifully at the concert last night. 2. คำที่มีรูปเหมือนกันเป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ ได้แก่คำว่า fast เร็ว hard ยาก แข็ง far ไกล pretty มาก ทีเดียว early เช้า เร็ว แต่เช้า He runs fast. He is a fast runner. She works hard. She is a hard worker. คำกริยาวิเศษณ์ ส่วนใหญ่มาจากคำคุณศัพท์โดยการเติม ly ท้ายคำโดยมีหลักการทำดังนี้

1. เอาคำคุณศัพท์มาเติม ly ได้เลย เช่น beautiful beautifully อย่างสวยงาม quiet quietly อย่างเงียบๆ wonderful wonderfully อย่างยอดเยี่ยม

2. คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย e ให้ตัด e ออก แล้วเติม ly true truly อย่างแท้จริง

3. คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ly เช่น happy happily อย่างมีความสุข angry angrily อย่างฉุนเฉียว

. คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย le ให้ตัด e ออก แล้วเติม y simple simply ง่ายๆ ชัดเจน possible possibly เป็นไปได้ Note: คำที่ลงท้ายด้วย lyอยู่แล้วแต่เป็นคำคุณศัพท์ได้แก่คำว่า friendly เป็นมิตร lovely น่ารัก lonely โด่ดเดี่ยว ugly น่าเกียด silly งี่เง่า

ที่มา http://www.yindii.com

      http://www.geocities.com

เสาวภาคย์ วรลัคนากุล. (ม.ป.ป.). การแปล1. คณะมนุษยศาสตร์

       มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หมายเลขบันทึก: 443721เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขยันเขียนบันทึกจังค่ะ ขอแสดงความชื่นชม
  • ได้แอบนำ Blog ของคุณเข้าใน Plannet "English Learning" ทำให้ได้ศึกษาเนื้อหาความรู้ที่มีประโชน์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันความรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท