บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการอบรมกัวซาครับ


การทำโครงการบริการวิชาการ การส่งเสริมสุขภาพด้วยวิถีธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างเสริมสุขภาพตามแนวภูมิปัญญาดั้งเดิมหรือแผนตะวันออกที่เป็นวิถีชีวิตในการดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณและสติปัญญา เพื่อนำพาชีวิตไปสู่การมีภาวะสุขภาพที่ดี โดยหลักการส่งเสริมสุขภาพด้วยองค์ความรู้ด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย หลักการป้องกันโรคด้วยการเรียนรู้ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคและสร้างภูมิคุ้มกัน หลักการรักษาโรคด้วยวิธีรับมือกับโรคง่ายๆ เช่น ไข้หวัด ไอ การเรียนรู้อาการและสาเหตุของการเกิดโรค การใช้สมุนไพรพื้นบ้านและธาตุเจ้าเรือน รวมถึงการส่งต่อการรักษาที่เหมาะสม หลักการฟื้นฟูในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเช่นการดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันและอัมพฤษ์อัมพาต เป็นต้น

ระยะที่ ๒ ของการจัดกิจกรรมนี้ วิทยากรของศูนย์อนามัยที่ ๕ มีความชำนาญในการเป็นวิทยากรด้านการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถดำเนินกิจกรรมได้เองอย่างดี มีความพร้อมทั้งด้านเนื้อหาสาระวิชาการและการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาจากเดิมด้านการขอสนับสนุนสื่อสิ่งพิมพ์จากองค์กรต่างๆ มาใช้เป็นเอกสารนำเข้ากิจกรรม ทำให้ใกล้เป้าหมายการตอบสนองกลยุทธ์ ในประเด็น สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพเป็นระยะๆ และ พัฒนาระบบการจัดการคลังความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือจากการดำเนินงานที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการในระยะนี้แล้วยังได้ขยายผลสู่หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อตอบผลผลิตที่ว่าประชาชนและภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้วยการเปิดมุมมองด้านการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้ร่วมโครงการที่มาจากองค์กรภาครัฐอื่นๆ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล ตลอดจนสำนักงานสาธารณสุข ทั้งสี่จังหวัดในเขต ๑๔ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และกลุ่มสังคมออนไลน์ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลไว้ทำเนียบเมื่อสิ้นสุดโครงการด้วย

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานคือหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุขขาดงบประมาณในการสนับสนุนบุคลากรทำให้ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรด้วยสาเหตุของกลุ่มเป้าหมายที่เป็น โรงพยาบาลในพื้นที่ล้วนถูกลดงบประมาณและเตรียมรับการประเมินมาตรฐานต่างๆ ทำให้ไม่สามารถส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมได แต่ได้รับการสอบสนองอย่างดีจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ และกลุ่มอาชีพอิสระซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่ากึ่งหนึ่ง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการมีและใช้องค์ความรู้ที่รวบรวมไว้จากกิจกรรมครั้งที่ ๑ การใช้ทักษะในการจัดการขยะ ช่วยลดต้นทุนเรื่องเอกสารสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งเหลือใช้ การมีทีมงานที่เข้มแข็งทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเช่นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และเจ้าหน้าที่ขององค์กรเอง ตลอดจนการมีผู้อุปการคุณ (Sponser) ในการสนับสนุนสถานที่ ค่าอาหาร แหล่งดูงาน รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการฝึกปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 443142เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2011 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอรบกวนสอบถามข้อมูล ที่อยู่และเบอร์โทรติดต่อของหมอธวัชชัยที่ลำปางด้วยค่ะ ต้องการทราบว่า

ที่นี่จะมีการจัดคอร์สอบรมแบบเดียวกับที่โคราชหรือไม่ หรือว่ามีการสอนหรือการแนะนำวิธีใช้กัวซา

อย่างถูกต้องไหมคะ กรุณาแนะนำด้วย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท