ท้องเสียเยอรมัน(E. coli)ทำยุโรปเสียหายหนัก


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'EU to agree aid to farmers hurt by E. coli outbreak'  = "EU (สหภาพยุโรป) ตกลงช่วยชาวไร่ที่เดือดร้อนจาก อี. โคไล ระบาด", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
โรคท้องเสียถึงช็อค-ไตวายจากเชื้อ อี. โคไล (อ่านว่า "อี. โค่ - ลาย") ทางเหนือของเยอรมนี ซึ่งน่าจะระบาดผ่านถั่วงอก แต่ยังหาแหล่งที่มาไม่ได้
.
คำแนะนำตอนนี้ คือ ไม่จำเป็นอย่าไปกินถั่วงอก แตงกวา มะเขือเทศ และสลัดที่เยอรมนี
.
ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า เชื้ออาจปนเปื้อนผ่านเมล็ดพืช น้ำที่ใช้เพาะ หรือมาจากคนงาน (เยอรมนีเป็น 1 ในประเทศที่นำเข้าแรงงานต่างชาติมาก โดยเฉพาะตุรกี และประเทศรอบๆ)
.
ก่อนหน้านี้มีรายงานการระบาดผ่านถั่วงอกมาแล้วในอังกฤษ (UK) และสหรัฐฯ
.
EU ตกลงจะช่วยเหลือค่าเสียหายให้เกษตรกร 30% ของราคาสินค้า
.
กลุ่มผลิตผักผลไม้ Fepex ในสเปนกล่าวว่า เกษตรกรในสเปนส่งออกพืชผลไม่ได้ 8,750 ล้านบาท และขายในประเทศไม่ได้ 2,500 ล้านบาท ในสัปดาห์แรกที่เยอรมนีกล่าวหาว่า สเปนเป็นแหล่งแพร่เชื้อ
.
สมาคมผู้ผลิตพืชผักสด EU 'Freshfel' รายงานว่า ความเสียหายจากการส่งพืชผักไม่ได้ คิดเป็นรายสัปดาห์ใน EU คิดเป็นเงิน 15,350 ล้านบาท/สัปดาห์
.
ความเสียหายคิดเป็นรายประเทศได้แก่ (หน่วยล้านบาท/สัปดาห์) > สเปน 10,000; เนเธอร์แลนด์ 4,000; เยอรมนี 1,000; เบลเยียม 200; โปรตุเกส 150

ยอดการค้าขายผักผลไม้ของ EU คิดเป็นเงินประมาณ 125,000 ล้านบาท/สัปดาห์

กลุ่มผู้ค้าปลีก Casino จากฝรั่งเศสรายงานว่า ยอดขายแตงกวาตกลง 20%, และขายผักสดชนิดอื่นได้มากขึ้น 2.6%
.
โรคระบาดหลายๆ อย่างกวาดล้างประชากรไปได้คราวละมากๆ เช่น อหิวาตกโรค ฯลฯ และทำให้ชาติหลายๆ ชาติอ่อนแอลงจนแพ้สงคราม
.
จีนเป็นชาติที่กินอาหารสุกก่อนชาติอื่นๆ... ตรงนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประเทศจีนมีอาณาเขตกว้างใหญ่ และประสบความสำเร็จมากกว่าชาติใดๆ ในเอเชีย (ถ้าไม่นับรัสเซีย)
 
.
ถ้าคนไทยช่วยกันทำให้อาหารไทย พืชผักไทยสะอาดได้... เราจะได้รับประโยชน์จากการมีโรคระบาดในยุโรปอย่างมากมายในระยะยาว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 7 มิถุนายน 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 442966เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2011 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท