แลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM รพ.สต. ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน


จากการที่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนแนวนโยบาย สร้างการรับรู้ระดับจังหวัดและการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมมสุขภาพตำบล โดยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันทางวิชาการที่รับผิดชอบการดำเนินโครงการเสริมศักยภาพบุคลากรเพื่อการสนับสนุนงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ ๙-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ และได้สนับสนุนให้แต่ละจังหวัด ได้จัดกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระดับอำเภอเพื่อสร้างทีมวิทยากรระดับอำเภอ อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนางาน รพ.สต.อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบใหม่ในรพ.สต.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลังจากการอบรม แต่ทีมจังหวัดแต่ละจังหวัด ก็ไปจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยในส่วนของภาคเหนือตอนบน มีทีมเชียงใหม่ มี ผศ.ดร.รัตนาภรณ์  อาวิพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ประสานและสนับสนุนการเรียนรู้

หลังจากแต่ละจังหวัดได้ดำเนินการเสร็จตาม TOR ของโครงการภายใต้ระยะเวลา ๓ เดือน ก็ได้มีการติดตามการดำเนินงาน และจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างจังหวัด ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มี อ.นเรศ สงเคราะห์สุข นักพัฒนา และ ผศ.ดร.รัตนาภรณ์  อาวิพันธ์ เป็นคนชักชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีเรื่องราวดีดีที่แบ่งปันกัน

เป้าหมายสำคัญของโครงการนี้ คือ “การพัฒนาศักยภาพของคน ซึ่งเป็นทีมนำระดับอำเภอที่จะเข้าไปสนับสนุนการเรียนรู้ในรพ.สต. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนางานรพ.สต. อ.นเรศ ใช้คำว่า เปลี่ยนทั้งเนื้อทั้งตัว ถือว่าเป็นการติดตั้ง Infrastructure ทางสังคม เพื่อนำไปสู่ การจัดการตนเอง ในที่สุด

เนื่องด้วยโครงการนี้เป็นโครงการที่ใช้เวลาดำเนินการสั้นๆ จึงคาดหวังจะไปตอบโจทย์ว่า รพ.สต.จะดีขึ้น มีนวัตกรรมเกิดขึ้น อาจจะเกินตัวไปหน่อย แต่หากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นว่าการพัฒนาสุขภาพและรพ.สต.แต่ละพื้นที่มีพื้นฐานและทุนเดิมของตนเองสั่งสมมานาน โครงการนี้จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะไปเสริมทุนที่มีอยู่ และพัฒนาให้มันดียิ่งขึ้น และกระบวนการพัฒนาสุขภาพและรพ.สต.มันไม่มีจุดที่สิ้นสุด แม้โครงการนี้จะสิ้นสุดตาม TOR แล้วก็ตาม

การใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการดำเนินงานโครงการ จึงมีความสำคัญในการที่จะช่วยต่อยอดการพัฒนาฐานทุนเดิม ในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายทางสังคมที่มีอยู่ เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

แม้ว่าจะตอบยากว่า หลังเสร็จสิ้นโครงการ รพ.สต.ได้พัฒนาไปมากน้อยเพียงใด สุขภาพของประชาชนดีขึ้นหรือไม่ แต่การติดตั้งอาวุธทางปัญญาให้แก่ทีมนำในระดับอำเภอในการนำเอา KM เป็นเครื่องมือในการทำงาน ก็เชื่อแน่ว่าระยะยาวก็จะดีขึ้น แม้ว่า ณ ปัจจุบันขณะจะยังสับสนอลหม่านอยู่ก็ตามที

.......................................................................

ขอบคุณกัลยาณมิตรภาคเหนือตอนบน ที่แบ่งปันสุข-ทุกข์ ร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 442700เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมตามมาชื่นชมครับ ตนเองเคย "เปลี่ยนทั้งเนื้อทั้งตัว" ลาออกจากงานมีหน้ามีตา เงินเดือนดีไปจับจอบเสียมทำสวนจริงจังสองเดือน มีความสุข สมองแล่นมากเลยครับ เมื่อเทียบกับตอนนี้ที่กลับมานั่งโต๊ะอีกรอบ ความคิดอืดกว่าตอนใช้ชีวิตกลางดิน สังเกตได้ครับ

  • ตามคุณหมอชาตรีมา
  • ดีจังเปลี่ยนทั้งเนื้อทั้งตัว
  • หนังสือหยดน้ำแห่งจินตนาการ ของคุณหมอ วิธาน ฐานะวุฑฒ์
  • ถ้าหาไม่ได้บอกนะครับ
  • จะส่งไปให้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท