ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาฯ


ผลการวิจัย พบว่า (1) บัณฑิตมีพฤติกรรมทางการเมืองดังนี้คือ เข้าร่วมพฤติกรรมทางการเมือง ได้แก่ การเป็นวิทยากร การอบรมสัมมนา การเทศนาทางการเมือง การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง กิจกรรมทางการเมืองที่เข้าร่วมบ่อยที่สุด ได้แก่ การเข้าร่วมประชุม การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเป็นวิทยากร การอบรมสัมมนา การให้คำปรึกษา บัณฑิตนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง

ชื่อโครงการวิจัย  : ศึกษาพฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จ

          การศึกษา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

          วิทยาเขตพะเยา

ที่ปรึกษา          : พระสุธรรมมุนี,  พระครูปริยัติกิตติคุณ,  ร.ท.ดร.ปรีชา หอมประภัทร

  พระครูศรีวรพินิจ,  พระมหาสายัน  อรินฺทโม,  พระมหาศรีบรรดร ถิรธมฺโม   

ผู้วิจัย                :  นายคนอง  วังฝายแก้ว  และคณะ

หน่วยงาน        :  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

ปีงบประมาณ  :  2547

 

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง    คุณธรรมและจริยธรรม

ทางการเมืองของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา   วิชาเอกการเมืองการปกครอง   สาขาวิชารัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา วิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 264  รูป/คน ได้แบบสอบถามคืน จำนวน 198 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75 ในการวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า (1) บัณฑิตมีพฤติกรรมทางการเมืองดังนี้คือ เข้าร่วมพฤติกรรมทางการเมือง ได้แก่ การเป็นวิทยากร การอบรมสัมมนา การเทศนาทางการเมือง การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง  กิจกรรมทางการเมืองที่เข้าร่วมบ่อยที่สุด ได้แก่ การเข้าร่วมประชุม การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเป็นวิทยากร การอบรมสัมมนา การให้คำปรึกษา บัณฑิตนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมทางการเมือง เมื่อมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ได้แก่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มการเมือง การเข้าร่วมรณรงค์หาเสียง การให้คำปรึกษาหรือให้ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองที่ถูกต้องแก่บุคคลทั่วไป การปรึกษาหารือกับครอบครัว กลุ่มเพื่อน และผู้ที่ให้ความเคารพนับถือ การเข้าร่วมลงนามยื่นเสนอข้อเรียกร้อง และการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนพฤติกรรมของบัณฑิตที่เป็นฆราวาสไม่เข้าร่วม ได้แก่ การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มการเมือง และการไม่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเมือง  (2) บัณฑิตมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ความจงรักภักดีในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  และใช้หลักธรรมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ได้แก่ ทศพิธราชธรรม พรหมวิหาร 4, ศีล, สังคหวัตถุ 4, อิทธิบาท 4 และ อธิปไตย 3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Project Project : STUDY OF POLITICAL BEHAVIOR MORALITY AND ETHICS OF THE

                                BACHELOR OF ARTS IN  POLITICAL SCIENCE OF

       MAHACHULALONGKORNRAJAVIDLAYA PHAYAO CAMPUS.

 

Supervisors of Research Project :  Pra Suthammunee  Prakru,  Pariyatkittikul

                                                             Dr. Preecha  Hompaphat,  Prakru Sriworaphinit

                                                               Pramaha Sayan  Arinthamo, Pramaha Sribandorn 

              Thirathammo

Researchers                   :  Mr. Kanong  Wangfaikaew and Team Work

Department                    :  Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phayao Campus   

Fiscal Year                       :  B.E. 2546

 

ABSTRACT

 

The purpose of this research was to study the political behavior, morality and ethics of  the bachelor of arts in political science of Mahachulalongkornrajavidlaya Phayao campus.

 

The samples used in this study consisted of the 264 graduates and their administrators of Mahachulalongkornrajavidlaya Phayao campus and 198 questionaires recived for 75 percent. Statistical procedures used in this research were Arithmetic, Means, Standard Deviation and content analysis.

            The findings show that: (1) Political behavior of graduates to participation in political activities for being scholar, conferrence, political preaching, membership, political consultation to families, friends and respectable people, complaining and being candidate were often found to be moderate appropriate, but there is no participation in political activities of lay-graduates for being political membership and connection with political officer.  (2) Political morality and ethics of graduates for allegiance of nation, religion and the king and the using of Buddhist doctrine such as Dasavidharajadharma (Royal vidtues), Brahmavihara VI (divine abiding), Sila (precept), Sangahavatthu VI (helpful integration), Iddhipada VI (pathways to success) and Adhipatya III (dominant influence) for proceeding the political activities were found to be most appropriate.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 442679เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท