ศึกษาปัญหาการเรียนการสอนโดยใช้หลักอริยสัจจ ๔ มจร.


การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก โดยแบ่งสาเหตุของปัญหาไว้ ๓ ระดับคือ ปัญหาด้านหลักสูตร ปัญหาด้านผู้เรียน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาการเรียนการสอนดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและแก้ไขให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนากระบวนการการสอนดังกล่าว โดยใช้หลักของอริสัจ ๔ มาแก้ปัญหา

 

บทที่  ๑ 

                                                       บทนำ

 

๑.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

             ด้วยวิทยาลัยสงฆ์พะเยา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา ได้ตระหนักถึงพันธะกิจของมหาวิทยาลัยในส่วนของการผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการแก่สังคม  และได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนา  เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖ วรรค ๒  ความว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์    รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

                  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา  ดังนั้น วิทยาเขตพะเยา จึงได้ตระหนักและตอบสนองพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการจัดทำประชุมสัมมนา เรื่อง การทำวิจัยชั้นเรียน  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดพะเยา มาเป็นพิธีกรบรรยาย เพื่อให้ความรู้แก่คณาจารย์ของวิทยาเขตพะเยา  เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

                 วิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎกเป็นวิชาที่พระนิสิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา  วิชาเอกพระพุทธศาสนา ชั้นปีที่ ๔ เป็นวิชาเลือกเสรี   จำนวน  ๒ หน่วยกิต เพื่อให้พระนิสิตได้ทราบถึงกระบวนการเรียนการสอนของวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎกในแง่มุมต่าง ๆ   เช่น ได้ทราบถึงแนวคิดและทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยาในพระไตรปิฎกการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาสำคัญของสังคม วิเคราะห์ คุณค่าของพุทธธรรมและคุณค่าของวิชาสังคมวิทยาในเชิงเปรียบเทียบ

        การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก โดยแบ่งสาเหตุของปัญหาไว้  ๓ ระดับคือ ปัญหาด้านหลักสูตร  ปัญหาด้านผู้เรียน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาการเรียนการสอนดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและแก้ไขให้กระจ่างชัด เพื่อนำผลการศึกษาเหล่านั้นมาพัฒนากระบวนการการสอนดังกล่าว โดยใช้หลักของอริสัจ ๔ มาแก้ปัญหา[๑] ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ                            

                   ๑. ระดับทฤษฎี แบ่งออกเป็น  ๓ ขั้นตอน คือ

                   ๑.๑ ขั้นกำหนดปัญหา ได้แก่ การทำเข้าใจว่าปัญหาการเรียนการสอนคืออะไร อยู่ที่ไหน และมีขอบเขตอย่างไร

                   ๑.๒ ขั้นสืบสาวหาสาเหตุ คือหยั่งหาสาเหตุของปัญหาหรือ ปัญหาเกิดจากอะไร

                   ๑.๓ ขั้นตั้งสมมติฐาน คือให้เห็นกระบวนการที่แสดงว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้และอย่างไร

                    ๒. ขั้นการเฟ้นหามรรค  ซึ่งแยกออกเป็น  ๓  ขั้นตอน

                   ๒.๑ เอสนา  คือ ขั้นตอนการแสวงหาข้อพิสูจน์ หรือขั้นทดลอง ขั้นวิจัยและการเก็บข้อมูล

                   ๒.๒ วิมังสา  คือ ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำการตรวจสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่เพียงใด

                   ๒.๓ อนุโพธ  คือ ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการตัดสินสิ่งที่ผิดออกไป เลือกมรรคที่แท้ที่จะนำไปสู่ผล คือ การแก้ปัญหาการเรียนการสอน

                   จากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอันเกิดมาจากสาเหตุของปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านตัวผู้เรียน  และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว  หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าเป็นการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขได้โดยใช้หลักอริสัจ ๔ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในอนาคตต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก โดยใช้หลักอริยสัจ ๔มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

ขอบเขตของการวิจัย

          ๑. ขอบเขตด้านประชากร  : 

     ประชากร ได้แก่ พระนิสิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิชาเอกพระพุทธศาสนา ชั้นปีที่ ๔ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ของมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา  จำนวน ๓๐  รูป

          ๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา  :

      ผู้วิจัยได้ศึกษาขอบเขตด้านเนื้อหาในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้หลักอริยสัจประกอบด้วย

                     ๑. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)

                      ๒. ขั้นกำหนดสาเหตุของปัญหา (สมุทัย)

                     ๓. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (นิโรธ)

                     ๔. ขั้นสรุปผล (มรรค)

                     .

.วิธีดำเนินการวิจัย

                        ๓.๑ ประชากร :

ประชากร ได้แก่ พระนิสิตที่เรียนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก ชั้นปีที่ ๔ ภาคเรียนที่  ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๒  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา จำนวน ๓๐ รูป

                   ๓.๒เครื่องมือในการวิจัย : 

เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยแบบการสนทนากลุ่ม

(Group Discusion)

 

                   ๓.๓ การสร้างเครื่องมือในการวิจัย  : 

๑. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนว      คิดในการสร้างเครื่องมือ

                             ๒. กำหนดกรอบแนวคิดการสร้างเครื่องมือ ในการสนทนากลุ่ม

                             ๓. ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ท่าน ตรวจสอบกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม

                             ๔. ปรับปรุงกรอบแนวคิดการสนทนากลุ่ม ตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์

                   ๓.๔ การเก็บข้อรวบรวมข้อมูล :

๑. ชี้แจงกระบวนการสนทนากลุ่ม

๒. จัดกลุ่มสนทนา

๓. บันทึก และรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม

๔. สรุปผลการสนทนากลุ่ม

 

. การวิเคราะห์ข้อมูล  : 

ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบพรรณนาความ

 

. นิยามศัพท์เฉพาะ

          การวิเคราะห์ปัญหา หมายถึง การใช้หลักอริยสัจ ๔ มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก

          อริสัจ ๔  หมายถึง  ทุกข์  สมุทัย   นิโรธ   และมรรค

          วิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก หมายถึง เป็นวิชาเลือกเสรี  จำนวน ๒ หน่วยการเรียน โดยศึกษาแนวคิดและทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยาในคัมภีร์ในพระไตรปิฎก

พระนิสิต  หมายถึง พระนิสิตที่เรียนวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎก ชั้นปีที่  ๔ ภาคเรียนที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๒  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตพะเยา

          มหาวิทยาลัย  หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

 

. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                   ๑. เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎกโดยใช้กระบวนการหลักอริสัจ ๔ ในการแก้ปัญหา

                   ๒. เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาข้อบกพร่องของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมวิทยาในพระไตรปิฎกในอนาคต

                   ๓. เพื่อพัฒนาพระนิสิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาโดยใช้หลักอริยสัจ ๔ และมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมในพระไตรปิฎก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการพัฒนาสังคมต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ ๒ 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

                ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  โดยศึกษาข้อมูลตามลำดับดังนี้

๑. ความหมายของปัญหา

๒. ความหมายของการเรียนการสอน

๓. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอน

๔. การแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔

๕. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๑. ความหมายของปัญหา

          การศึกษาความหมายของปัญหา  ผู้วิจัยได้กำหนดขอบข่ายในการศึกษาดังนี้คือ

               ความหมายของปัญหาการจัดการเรียนการสอน หมายถึง[๒]
  ๑. ปัญหาด้านผู้สอน
                ๑.๑ ผู้สอนมักสอนแบบบรรยาย วิธีการสอนใช้แบบเดิม คือ ถ่ายเทความรู้ ไม่ถ่ายเทความคิด เป็น-ทำเป็น

               ๑.๒ มุ่งเน้นการท่องจำเพื่อสอบมากกว่าการเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองรวมทั้งความรักที่จะเรียนรู้
               ๑.๓เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ
               ๑.๔เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ การสอนเป็นกลุ่มใหญ่ทำให้ครูและศิษย์ไม่ค่อยมีความใกล้ชิดกัน
               ๑.๕ไม่มีบรรยากาศทางการฝึกฝนค้นคว้าวิจัย
               ๑.๖อาจารย์ที่มีคุณภาพทั้งทางด้านการสอนและวิจัยมีน้อย
               ๑.๗กิจกรรมการเรียนการสอนไม่หลากหลายส่วนใหญ่จัดอยู่ภายในสถาบัน
               ๑.๘ ความรู้ความสามารถทางวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ เจตคติและความเป็นครูที่ลดต่ำลง

               ๒.ปัญหาด้านผู้เรียน บุคลิกภาพของบัณฑิตยังบกพร่องในเรื่องการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ความอุตสาหะ ความอดทน และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขาดทักษะแลประสบการณ์ในการค้นคว้าวิจัย ขาดทักษะในการเขียนเรียงความภาษาไทยไม่สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษได้
              ๓.ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์
                    ๓.๑ ห้องสมุดไม่ทันสมัย ไม่สามารถเป็นคลังแห่งความรู้ที่เพียงพอสำหรับการหาความรู้เพิ่มเติมได้
                    ๓.๒ ตำราซึ่งเป็นสื่อหลัก ยังมีคุณภาพต่ำ ล้าสมัยและไม่นำความรู้/ประสบการณ์ของไทยเข้าไป
             ๔.ปัญหาด้านการจัดการ
                   ๔.๑ การควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนเป็นไปได้ยาก เพราะไม่สามารถประเมินได้ว่าผู้สอนสอนครบถ้วนและบังเกิดผลตามหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
                   ๔.๒ การลงทุนด้านการวิจัยมีน้อย ทำให้ขาดองค์ความรู้ใหม่ กระทบต่อคุณภาพอาจารย์ เพราะไม่สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้

๒.การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียน
                   ๑. การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยอาจารย์คำนึงถึงคุณค่าที่ผู้เรียนจะได้รับเป็นหลักและเอื้อประโยชน์ ต่อผู้เรียนมากที่สุด
                  ๒. มีการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนในการเรียนแบบผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมผู้เรียนมาตั้งแต่ระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา ก่อนที่จะเข้าสู่ระดับปริญญาตรี
                  ๓. กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการผลิตที่ชัดเจน และมีคุณภาพ
                 ๔. การปลูกฝังและพัฒนาทักษะทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาและด้านการสื่อสารให้กับผู้เรียน
                 ๕. การปลูกฝังและพัฒนาทักษะทางด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา
                ๖. ปลูกฝังให้มีนิสัยในการใฝ่รู้
                ๗. พัฒนาทักษะในการคัดเลือกข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์
                ๘. การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยวิธีการสอดแทรกในการเรียนการสอนทุกๆ รายวิชา นอกจากการจัดเป็นรายวิชาเฉพาะ
๓.การแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้สอน
           ๑. ควรลดการบรรยาย ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนชี้แนะ
           ๒. เน้นเข้าใจ และเห็นความจำเป็นของหลักการผู้เรียนเป็นสำคัญ
           ๓. มีการกำหนดภาระงานที่เหมาะสมและชัดเจน ได้แก่ การสอนการวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
           ๔. มีการประเมินการสอนของอาจารย์ โดยการเน้นการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการสอนของอาจารย์ให้มีประสิทธิภาพ
           ๕. ส่งเสริมให้อาจารย์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน โดยการกำหนดเป็นภาระงานที่จะต้องปฏิบัติและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตลอดจนอำนวยความสะดวก รวมทั้งจัดหามาตรการที่จะช่วยกระตุ้นจูงใจในการดำเนินการวิจัย
๔.การแก้ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอน
                   ๑.ลดการบรรยายเน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
                   ๒. มีวิธีการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติเนื้อหาวิชา และระดับของผู้เรียน โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรีที่เน้นการเรียนแบบมุ่งให้เกิดความคิดวิเคราะห์ วิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหา ตลอดจนทักษะในการกลั่นกรองหรือย่อยข้อความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้
          ๓. จัดกระบวนการพัฒนาทักษะในการสอนของอาจารย์ให้สามารถดำเนินการสอนตามหลักการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดโปรแกรมการพัฒนาเป็นระยะในระหว่างการทำงาน รวมทั้งกำหนดเป็นนโยบายภาระงานที่อาจารย์จะต้องมีการพัฒนาเป็นช่วงๆ
                   ๔. ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น
          ๕. จัดให้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายแก่ผู้เรียนตามความสนใจและความถนัดทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยซึ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

๕.การแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร

         ๑.เน้นการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพและทันสมัย
         ๒. พัฒนาหลักสูตรให้ส่งเสริมการเรียนแบบบูรณาการ การประสานชีวิตจริง และการเตรียมการทำงานจากประสบการณ์
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้บริหาร
                ๑.กำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ชัดเจน
               ๒. มีนโยบายในการสนับสนุนทางด้านต่างๆ ในการจัดการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาการเรียนการสอน
               ๓. มีการวางแผนการจัดการศึกษา โดยการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิชาการอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการวางแผนประสานงานอย่างต่อเนื่องในการจัดการศึกษา
              ๔. มีโครงการพัฒนาทักษะทางด้านการบริหารของผู้บริหารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ รวมทั้งการพัฒนาทักษะความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
              ๕.การบริหารจัดการควรเน้นที่คุณภาพของการศึกษามากกว่าเชิงปริมาณ
              ๖.จัดงบประมาณเพื่อใช้พัฒนาการเรียนการสอนอย่างจริงจัง
๖.การแก้ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆและการจัดการ
             ๑. เน้นการผลิตบัณฑิตและการจัดการเรียนการสอนในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ โดยมีระบบการประกันและการตรวจสอบคุณภาพ
             ๒.จัดหาและบริการสื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
             ๓. ประสานงานทุกระดับในสถาบันตั้งแต่ระดับนโยบายของมหาวิทยาลัย ระดับคณะ ศูนย์ และภาควิชา
             ๔. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดและการเรียนการสอน

 

 ๗. ความหมายของการเรียนการสอน

                    ๒.๒ ความหมายของการเรียนการสอน  หมายถึง เป็นการสอนที่ผู้เรียนเป็นจุดสนใจหรือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หรือเด็กศูนย์กลางของการเรียนรู้[๓]

 กระบวนการเรียนการสอน [เน้น CHILD CENTER]ในการพูดถึงกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น CHILD CENTER นี้ เรา-ท่านพึงรู้ว่า ครูผู้สอนต้องทำการเน้น CHILD CENTER ไว้เสียตั้งแต่ขั้น การจัดทำแผนการสอน (ที่ผู้เขียนจงใจเรียกว่า แผนการสอนที่เน้น CHILD CENTER )

 แผนการสอนที่เน้น CHILD CENTER ในที่นี้ให้หมายถึง ในการจัดทำแผนการสอนนั้นครูผู้สอนพึงตระหนักถึง เด็กผู้เรียน อยู่ทุกเมื่อ ทุกขณะจิต ไม่ว่า จะเป็น

                   ๑.การวิเคราะห์หลักสูตร ในที่นี่จงใจเน้นไปที่การทำการวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา หากครูผู้สอนให้เด็กมีส่วนร่วม[PARTICIPATION]ในการทำ แผนที่เนื้อหาวิชา [MIND MAPPING :การวิเคราะห์หา หัวเรื่อง[THEME] หัวข้อ[TOPIC] หัวข้อย่อย [SUB-TOPIC]]ด้วย แล้วครูให้เด็กทั้งชั้นช่วยกันลงมติในการเลือก หัวเรื่อง[THEME] หัวข้อ[TOPIC] หัวข้อย่อย [SUB-TOPIC] ที่พวกตนเองสนใจที่จะเรียน แล้วครูก็นำ หัวเรื่อง[THEME] หัวข้อ[TOPIC] หัวข้อย่อย [SUB-TOPIC] ที่เด็กเลือกไว้นั้นไปกำหนดเป็น เนื้อหาสาระลงในแผนการสอน นี่จึงจะเรียกได้ว่า เด็กมีส่วนในการเลือกเนื้อเรื่องที่จะเรียน ได้อย่างแท้จริง. นั่นคือ ครูจักต้องศึกษา หาความรู้ในเรื่อง การทำ แผนที่เนื้อหาวิชา [MIND MAPPING] ให้กระจ่างชัดกันเพิ่มมากขึ้นต่อไป.

                      นั่นคือ ครูจักต้องศึกษา หาความรู้ในเรื่องการทำ [MIND MAPPING] ให้กระจ่างชัดกันเพิ่มมากขึ้นต่อไป.

      ๒.การกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอน ก็ต้องเน้น การระบุให้เด็กได้แสดงกิจกรรมด้วยตัวเด็กเอง เช่น ให้เด็กได้อธิบาย ให้เด็กทดลอง ให้เด็กเล่านิทาน ให้เด็กศึกษา ค้นคว้า    ทั้งนี้ทั้งนั้นพึงใช้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง

   ๑. จุดประสงค์ปลายทาง

        ๒. จุดประสงค์นำทาง

         ๓. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย ก็จักเกิดผลเลิศมากขึ้นด้วย

              ๓.การกำหนดขั้นการเรียนการสอน ในที่นี่จงใจเน้นย้ำให้เลือกใช้ ทักษะกระบวนการ ที่เหมาะกับสถานการณ์ของผู้เรียนและผู้สอน ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการกลุ่ม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสืบสวนสอบสวน ทักษะกระบวนการทั้ง ๙ ขั้น หรืออื่นๆ ซึ่งในขั้นตอนการ เรียนการสอน [ เน้น CHILD CENTER] นั้นผู้สอนพึงกำหนดไว้กว้างๆเป็นหลักการเอาไว้ เช่น หากเป็นผู้เขียนเองก็จะกำหนดเป็น BOPIPI ที่ตนเองใช้อยู่เนืองนิจในการฝึกอบรม ที่ตนเองเน้น TRAINEE CENTER ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ดีเช่นกัน นั่นคือ

ขั้นตอนการ เรียนการสอน [ เน้น CHILD CENTER] ตาม BOPIPI

            B : Bridge in (ขั้นเร้าความสนใจ)

                                       O : Objective (ขั้นแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้)

                                       P : Pretest       (ขั้นทดสอบก่อนสอน)

                                       I  : Instruction (ขั้นสอน [ให้เน้นการใช้ เทคนิคการสอนที่เน้น

ทักษะ กระบวนการ เน้นให้เด็กแสดงกิจกรรม ฯลฯ]

                                        P: Posttest (ขั้นทดสอบหลังสอน)

                                      I : Improve (ขั้นประเมินผลการสอนของตนเอง ปรับปรุง พัฒนา)

 ในส่วน I:INSTRUCTION (ขั้นการเรียนการสอน) ในกระบวนการ BOPIPI นั้นผู้เขียนมองว่าเป็นจุดที่สำคัญยิ่งที่จะดูว่า ครูจัดการเรียนการสอนเป็นแบบ CHILD CENTER หรือไม่ ? เพียงใด ?

นั่นคือ ถึงแม้ครูจะระบุเทคนิคการสอนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างลงในแผนการสอนแล้วก็ตาม  ซึ่งเทคนิคการสอนมีมากมาย เช่น  การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบบรรยายประกอบการสาธิต การสอนแบบสาธิต  การสอนแบบทดลอง  การสอนแบบให้ทำโครงการ  การสอนแบบอภิปราย  การสอนแบบใช้คำถาม  การสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ  การสอนแบบเล่นเกมส์ การสอนแบบสถานการณ์จำลอง การสอนแบบสืบสวนสอบสวน  การสอนแบบระดมพลังสมอง  การสอนแบบการแก้ปัญหา  การสอนแบบการจัดเป็นกลุ่ม  การสอนแบบฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง    และ การสอนแบบโปรแกรมสำเร็จรูป  หากครูไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบทบาทของครูเองที่เกื้อกูลต่อการให้เด็กได้ แสดงกิจกรรม เปิดโอกาสให้เด็กได้ แสดงพฤติกรรม เน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริง [LEARNING BY DOING ]ตามที่ได้ระบุไว้อย่างดีและชัดเจนแล้วใน จุดประสงค์การเรียนรู้ การเรียนการสอนครั้งนั้นก็ยังคงความเป็น TEACHER CENTER อยู่ดังเช่นเดิมนั่นแหละโดยหากจะจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบที่เน้น CHILD CENTER : การเรียนการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง นั้น ในเบื้องต้นพึงทำความเข้าใจในคำๆนี้เพิ่มเติมกันอีก ดังนี้  ในที่นี่จงใจให้ใช้ความหมายโดย นัย นั่นคือ นั่นคือ    CHILD CENTER ให้หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่

           ๑.ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้

           ๒. ถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

๓.ยึดหลักว่า กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (ม.๒๒) และยังให้หมายรวมเอาว่า การยกกิจกรรมในการเรียนการสอน ให้กับเด็ก โดยเน้นให้เด็กได้ แสดงกิจกรรม แสดงพฤติกรรม ตามที่ระบุไว้แล้วในหลักสูตรนอกเหนือจากนี้ในบทความนี้ผู้เขียนใคร่เน้นย้ำว่าถึงเวลาแล้วที่ครูผู้สอนพึงปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดหรือกระบวนทัศน์(PARADIGM SHIFT) ในการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กเสียใหม่ นั่นคือ ให้กลับมาสนใจกับ คำกล่าว ดังต่อไปนี้ซึ่งที่จริงแล้วเราท่านก็ได้ผ่านสายตากับคำเหล่านี้มาบ้างแล้ว คือ

                              ๑. การพัฒนาประเทศให้ยึด”คน”เป็นหลัก : PEOPLE CENTER

                             ๒. การฝึกอบรมพึงยึด “ผู้เข้าอบรม”เป็นสำคัญ : TRAINEE CENTER

                             ๓. การจัดการเรียนการสอนให้ยึด “เด็กเป็นศูนย์กลาง : CHILD CENTER

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการเน้นให้เห็นความสำคัญของ “เป้าหมาย” ของการพัฒนาที่เน้นที่ คน ทั้งนั้นซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ [PARADIGM SHIFT] ในการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาตามหลักการของ CHILD CENTER ดังกล่าวนั้น ผู้เขียนตระหนักดีว่าคือสิ่งต่อไปนี้

๑. ครูพึงเปลี่ยนบทบาทกันเสียใหม่ ดังนี้

๑.  ผู้กำกับ [DIRECTOR]

                            ๒. ผู้ให้คำแนะนำ [COUNSELOR]

                            ๓. ผู้อำนวยความสะดวก [FACILITATOR]

                            ๔. เป็นที่ปรึกษา [ADVISOR]

            ๒. ครูพึงเปลี่ยนแนวความคิดเสียใหม่ดังนี้

                                        ๑. ครูใช้ TEACH WHAT TO LEARN เสียแต่น้อย

                                       ๒. แต่หันกลับมาใช้ TEACH HOW TO LEARN ให้มากเข้าไว้

          ๓ . ครูลดบทบาทของตัวเองในการแสดงออกซึ่งสิ่งต่อไปนี้ คือ

                  ครูพูด ครูอธิบาย  ครูบรรยาย  เด็กๆนั่งฟัง ครูเล่านิทาน ครูอ่านหนังสือ และครูเล่านิทาน

         ๔.ครูพึงเพิ่มบทบาทให้เด็กมีน้ำหนักในการแสดงออกให้มากเข้าไว้ ภาพลักษณ์ใหม่ให้    ปรับ พฤติกรรมเด็กเป็น ดังนี้

    นักเรียนพูด  ครูฟัง นั่งชมนักเรียนอธิบาย   ครูฟัง นั่งชม นักเรียนบรรยาย ครูฟัง นั่งชม นักเรียนเล่านิทาน   ครูฟัง นั่งชม  นักเรียนตรวจแบบฝึกหัด   ครูฟัง นักเรียน                       

      นั่นคือ จงใจให้แสดงพฤติกรรมให้ได้ ๘๐ ส่วน ใน ๑๐๐ ส่วน  ส่วนครูผู้สอนให้แสดงพฤติกรรม เพียงแค่ ๒๐ ส่วน

 ๔. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอน

            จุดประสงค์หลักของการเรียนการสอนคือ การช่วยผู้เรียนในการแสวงหาข้อมูล แนวคิด   ค่านิยม   วิธีการคิดหาเหตุผล วิธีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง   และวิธีการเรียนรู้ในขบวนการเรียนรู้ผู้เรียนจะค่อย ๆ  สะสมความรู้และทักษะที่สำคัญที่สุดของการเรียน  การสอนคือ  การเพิ่มพูนความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนจะมีความสามารถในการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้เรียนเป็นผู้ทำให้เกิดการเรียนรู้  ผู้สอนเป็นผู้ให้ข้อมูลและแนะนำวิธีการต่าง ๆ ที่  จำเป็น  หน้าที่หลักของการสอนคือ  การสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ (Joyce & Weil,  ๑๙๙๖) ดังนั้นผู้สอนจำเป็นที่ต้องหาวิธีการต่าง ๆ  ในการส่งถ่ายความรู้ไปยังผู้เรียน  จึงทำให้เกิดรูปแบบการเรียนการสอนหลายรูปแบบที่มีความเรียบง่ายไปจนถึงรูปแบบที่มียุทธวิธีที่ซับซ้อน   รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์ต่างกันออกไป  บางรูปแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแพร่หลาย  บางรูปแบบมีความเฉพาะเจาะจงสูง  สามารถนำไปใช้ได้กับการเรียนการสอนในบางสาขาวิชาเท่านั้น  นักการศึกษาหลายท่านได้รวบรวมและจำแนกรูปแบบการเรียนการสอนประเภทต่าง ๆ ไว้เช่น  รูปแบบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาของดันคินและบาร์เนส  (Dunkin & Barnes,  ๑๙๘๖)  ซึ่งแบ่งรูปแบบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาไว้ ๒ วิธีใหญ่ ๆ  คือ  วิธีการ  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (social  interaction  method) และวิธีการสอนรายบุคคล  (Individualized  method)  หรือรูปแบบการเรียนการสอนของจอยซ์และเวลล์ (Joyce  &  Weil,  1996)  ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการเรียนการสอนไว้  ๔ ประเภทคือ  รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นด้านสังคม  (the  social  family)  การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการส่งถ่ายข้อมูล (the  information-processing  family)  การเรียนการสอนที่เน้นปัจเจกบุคคล  (the  personal  family)   และการเรียนการสอนที่เน้นระบบพฤติกรรม(the  behavioral  system  family)  เป็นต้น

          สำหรับการศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมรูปแบบวิธีการสอนในระดับอุดมศึกษาของนักการศึกษาต่

หมายเลขบันทึก: 442678เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท