เขมวีโร
พระ พระสมบัติ เขมวีโร อาทิตย์

ประวัติบ้านบึง


รักบ้านเกิด

      บึงปลาเน่า เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ประมาณ ๑๐๐๐กว่า ไร่  ตั้งอยู่ที่หมู่ ๘ ตำบลศรีภิรมย์     อำเภอพรหมพิราม  จังหวัดพิษณุโลก  ชื่อบึงปลาเน่าเป็นที่รู้จักกันของชาวบ้านตั้งแต่เมื่อ  ๕๐  ปีมาแล้ว  ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้เล่าถึงความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้านว่า “ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว”  สมจริง  เนื่องด้วยในบึงเต็มไปด้วยน้ำที่ใสสะอาด มีปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก  ในช่วงหน้าน้ำ น้ำใสสะอาดมากจนสามารถใช้อาบหรือดื่มได้เลย  และตอนเย็นชาวบ้านมักจะพาลูกหลานไปว่ายน้ำเล่นหรืออาบน้ำ เป็นที่สนุกสนาน บึงปลาเน่าจึงเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านและชุมชนใกล้เคียง  หลังจากอาบน้ำแล้ว ชาวบ้านมักจะไม่ลืมเก็บดอกบัว  สายบัว  หรือจับปลาติดมือกลับบ้าน  เมื่อถึงหน้าแล้ง  น้ำในบึงจะไม่แห้งหมด ฝูงนกและปลาจึงยังคงอาศัยอยู่ได้เป็นจำนวนมีมาก แต่ก็ยังมีปลาจำนวนหนึ่งว่ายไปติดสวะหรือเศษหญ้าตายเอง  ชาวบ้านนำมาทำเป็นอาหารไม่ทัน  ทำให้เน่าเหม็นไปทั้งบึง  จึงตั้งชื่อบึงนี้ว่า  “บึงปลาเน่า

            บ้านบึง  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘  ตำบลศรีภิรมย์  อำเภอพรหมพิราม  จังหวัดพิษณุโลก   รหัสไปรษณีย์   ๖๕๑๘๐       ละติจูด  ๑๗ ๑๐’ ๑๙.๒๗” เหนือ   ลองติจูด  ๑๐๐   ๐๘’ ๑๘.๕๔” ตะวันออก

 สภาพทางภูมิศาสตร์ 

ทิศเหนือ     ติดต่อกับ           บ้านคลองเรียงงามและบ้านบึงบัว  ตำบลบ้านโคน

อำเภอพิชัย  จังหวัดอุตรดิตถ์

ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านคลองมะแพลบ  บ้านคลองห้วยชัน  ตำบลศรีภิรมย์

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  บ้านท้องโพลง  ตำบลดงประคำ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ  บ้านห้วย  ตำบลศรีภิรมย์

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบริมบึงเหมาะในการทำนา และเป็นที่ราบริมคลองเหมาะในการทำไร่

            ที่ราบริมบึงมีพื้นที่ประมาณ  ๑๐,๐๐ ไร่ เศษ บริเวณบึงมีพื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่เศษ ชาวบ้านเรียนว่า “บึงปลาเน่า” (เหตุที่ได้ชื่อว่าบึงปลาเน่าเพราะ ในฤดูฝนมีน้ำท่วมทุกปี และมีปลาชุกชุมมาก พอถึงฤดูแล้ง น้ำในบึงแห้ง ปลาตาย เน่าเหม็นไปทั่วบึง แต่ปัจจุบันได้มีการสร้างเขื่อน สิริกิติ์ป้องกันน้ำท่วม น้ำไม่ท่วมบึงอีกต่อไป ปลาก็ลดจำนวนลงและไม่มีปลาเน่าตายในบึงอีกแล้ว)

            คลองหางบึง  อยู่ท้ายบึงมีการขุดลอกคลองและสร้างฝายกั้นน้ำ เพื่อนำน้ำในบึงไปใช้ในการทำนา

            คลองขาม  อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ได้รับการขุดลอกคลองให้ลึกกว่าเดิม  เพื่อนำน้ำจากทุ่งพระเจ้ามาใช้ในการเกษตร

  การเดินทางเข้าหมู่บ้านบึงมาได้    ๓    เส้นทางคือ

๑.   จากที่ว่าการอำเภอพรหมพิรามขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นถนนลาดยางตลอดทาง ผ่านตลาดหนองตม ถึงบ้านคลองมะเกลือแล้วแยกไปทาง บ้านคลองมะแพลบ  จนถึงบ้านบึง รวมระยะทาง ประมาณ   ๒๑  กิโลเมตร

๒.      จากสถานีรถไฟบ้านบุ่ง  ไปทางทิศตะวันออก  ถึงบ้านบึง เป็นระยะทาง   ๓.๕๐  กิโลเมตร  เป็นถนนลาดยาง

๓.      แยกจากถนนสาย บ้านโคน - บ้านนาอิน  ตรงบ้านคลองกระพั้ว  ไปทางทิศใต้ ถึงบ้านบึง  เป็นระยะทาง  ๔.๐๐  กิโลเมตร  เป็นถนนลาดยาง พาหนะที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล คือ  รถยนต์  รถจักรยานยนต์  รถไทยแลนด์

อาชีพหลักของประชากรในหมู่บ้านคือ เกษตรกรรม

- ทำนาปีละ ๒ ครั้ง

- ทำไร่ เช่น ไร่ถั่วเหลือง พริก อ้อย มะเขือ มะละจีน

- เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ไก่ ปลา เป็ด

            อาชีพเสริม  คือ  ค้าขาย  รับจ้างทั่วไป และขายแรงงาน

 ประชากร บ้านบึงมี   ๑๗๒ หลังคาเรือน มีประชากร   ๗๐๒   คน เป็นชาย ๓๔๑คน   เป็นหญิง ๓๖๑   คน

ในหมู่บ้านไม่มีสถานีอนามัย  เมื่อประชาชนเจ็บป่วยจะไปตรวจรักษาที่ สถานีอนามัยตำบลศรีภิรมย์  โรงพยาบาลพรหมพิราม  คลินิกหมอในตลาดหนองตม และคลินิกหมอในตลาดอำเภอพิชัย

ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี 

            ประชากรบ้านบึงทุกคนนับถือศาสนาพุทธ  วัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากชาวไทยภาคกลาง  ประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติสืบต่อกันมา คือ  การทำบุญตักบาตร  การบวชนาค  การแต่งงาน  การขึ้นบ้านใหม่  วันขึ้นปีใหม่   วันสงกรานต์  และการลอยกระทง

            ประชากรในหมู่บ้านส่วนมากมีฐานะยากจน  เป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตร  ขยันในการทำมาหากิน  มีความสามัคคีกันในหมู่บ้าน  ใจดีมีความเมตตาต่อกัน  ชอบความสนุกสนานและชอบดื่มสุราทั้งชายและหญิง

สถานที่สำคัญ 

   วัดบ้านบึง อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน

   โรงเรียนบ้านบึงวิทยา อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน

  วัดเก่าริมคลองขาม เช่น วัดโนน วัดยาง วัดน้อย และวัดสัก อยู่ทางทิศตะวันออก

    ของหมู่บ้าน (ปัจจุบันเหลือแต่ซากเศษวัสดุในการก่อสร้าง เช่น อิฐและศิลาแลง)

ภูมิปัญญาท้องถิ่น   การทอเสื่อกก  การจักสานเครื่อง

ผมได้นำทีมเยาวชนลงพื้นที่ เก็บข้อมูลพร้อมพัฒนาบึงบางส่วนแล้วครับ วันหลังผมจะนำรูปภาพมาให้ชมกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 442575เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2011 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ข้อมูลเพียบเลยนะครับ
เยี่ยมยอดไปเลย
ที่น่าชื่นชมคือสามารถรวมกลุ่มเยาวชนออกทำงานในชุมชนอีกด้วย
เป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จครับผม

นำเตาชีวมวลมาฝากตามสัญญาครับ
เตานี้อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนม่วง อ.วังทอง ให้ยืมใช้เพื่อการทดลอง เพราะผมเองก็ยังใช้ไม่เป็นเหมือนกัน 
ผมเลยลองใช้หุงข้าวในตอนสายก่อนเพลวันนี้
เชิญชมภาพผลงานได้เลยนะครับ

                 
                 
                
                
                

ขอบคุณครับ ผมยังไม่ชำนาญครับ ยังหาวิธีเอารูปลงไม่ได้ครับ คงต้องศึกษากันสักพักละครับ

เยี่ยมมากครับ ว่างผมจะไปดูของจริงครับ ขอบคุณมากๆๆครับ

เตาแบบนี้เทดีครับ

น่าใช้มาก ติดได้ที่ไหนครับ

ขอตอบอาจารย์โสภณ

เตาที่เห็นนี้ อาตมาไปยืมอดีตผู้ใหญ่บ้าน
รูปทรงสวยงาม น่าใช้
ท่านบอกว่าสำนักงานพลังงานจังหวัดมอบให้เพื่อใช้ทดลอง
เพราะที่บ้านท่านเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้วย

เตาชีวมวลนี้ใช้วัสดุเชื้อเพลิงเหลือใช้ เช่น เศษไม้ กิ่งไม้ ซังข้าวโพด แกนข้าวโพด หรือถ่าน

ท่านบอกว่าถ้าชาวบ้านใช้เตานี้ละก็ สามารถประหยัดค่าใช้ในครัวเรือนได้ไม่น้อยทีเดียว

แต่คนรุ่นใหม่ก็ไม่นิยมใช้ เหตุผลที่ไม่ใช้คือลำบาก ยุ่งยาก และมีราคาแพง(นิยมใช้สิ่งของที่สะดวกมีราคาแพง ตามยุคสมัย)

อาตมาก็ไม่เคยใช้มาก่อน วานซืนพระท่านชวนไปดู
วันนั้น ขอร้องให้เจ้าของสาธิต ด้วยการต้มน้ำร้อน เสร็จแล้วบอกว่าพระน่าจะลองทำดู ก็เลยนำมาที่วัด

ไม่ทราบที่สำนักงานพลังงานจ.ประจวบฯอำเภอหัวหินมีหรือไม่นะอาจารย์ ทราบมาอีกว่าทางภาคอีสานนิยมใช้มากเพราะประหยัดดี(สงสัยชาวบ้านคงผลิตเตาขึ้นมาใช้เอง)

 

เรียนท่านพระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร

ประวัติชุมชน บ้านบึง/บึงปลาเน่าน่าสนใจมากครับ มองเห็นบริบทของชุมชนบ้านบึงและวิถีชีวิตของชุมชนคนบ้านบึงได้เป็นอย่างดี มีทั้งศาสนา ประเพณี/วัฒนธรรม อีกทั้งมีภูมิปัญญาจากท้องถิ่นอักด้วย..เยี่ยมมากครับท่านพระอาจารย์สามารถบันทึกประวัติชุมชน/สำนึกรักบ้านเกิด.. และนำเสนอออกมาในเวทีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเพื่อจัดการความรู้ ต่อยอดองค์ความรู้ต่อไปเพื่อรักบ้านเกิดครับ..  

เรียนท่านพระอาจารย์มหาแล อาสโย

เตาชีวมวลนี่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ดีมากเลยครับ..ลดการเผาป่า เผากิ่งไม้ ฯลฯ

แถมยังประหยัด ประโยชน์ และมีประสิทธิภาพอีกด้วย..อย่างนี้ต้องขยายผลแล้วครับ.  

ท่านพระมหาครับเขียนเรื่อง"วิวัฒนาการของเตา"..เลยครับ.

วันที่ไปวัดสวนร่มบารมีวันนั้น ผมได้ถ่ายรูปถังหมักชีวภาพของวัดที่มีอยู่มากมายไว้ด้วย
วันนี้เลยนำภาพมาลง และด้วยความสงสัยอีกเช่นกันครับ ที่ตัวเองไม่มีความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ

เลยมาขอความรู้จากผู้รู้ ผู้ทำจริงผู้มีประสบการณ์ ช่วยเผยแพร่ความรู้นี้เป็นวิทยาทานแก่สาธารณะหน่อยได้ไหมครับผม คิดว่ามีคนสนใจและจะเกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อไปแน่นอน

จะรออ่านความรู้ครับ
ขออาราธนานิมนต์นะครับ

              

 

ต้องขอบพระคุณครับที่ให้ความสนใจเรื่องปุ๋ยหมัก เท่าที่ผมทำมีหลายสูตรมากครับ ตอนนี้คณะของผมก็มีพระอีก สองสามรูปกำลังจะปลูกข้าว พันธุ์ข้าวลืมหัว กับข้าวหอมนิลในวงปูนครับ โดยใช้เมล็ดข้าวสารเพาะน๊ะครับ ไม่ใช้ข้าวเปลือกเป็นพันธ์ ตอนนี้หมักดินอยู่ในวงปูนครับ ถ้าอย่างไร ผมคิดว่า เรามาติดตามหรือปลูกข้าวร่วมกันไปพร้อมกับทำปุ๋ยด้วยกันครับ

    คิดได้ยังไงเนี่ย..น่าสนใจมากเลยครับการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดข้าวสารแทนข้าวเปลือก มีสูตร หรือขั้นตอนการปลูกอย่างไร อย่าลืมบันทึกและนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันบ้างนะครับ และจะขอติดตามดูผลงานครับท่าน.

    

อธิบายภาพ: พระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร พระธรรมวิทยากร บรรยายให้ความรู้การลงมือปฎิบัติจริง แก่นักเรียนกลุ่มโรงเรียนดงกลางช้างดำ จำนวน 350 คน เมื่อวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2554 ณ. วัดดงกลาง ตำบลดงกลาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร             ถ่ายภาพโดย: พระวินัย.

วันนี้มีคำถามให้เจ้าของถิ่นตอบหนึ่งคำถามนะครับ
๑มิถุนายน ๒๕๕๔ ไปวัดสวนร่มบารมี ผมได้ถ่ายรูปต้นไม้ข้างโบสถ์ ที่อยู่ในภาพนี่แหละ
คำถามคือต้นไม้นี้คือไม้อะไรครับ (เหมือนไม้มะเลียบที่บ้านผมที่อำเภอหนองบัวนครสวรรค์มากเลยครับ)

ช่วยตอบด้วยเด้อครับ จะนำคำตอบนี้ไปเผยแพร่ที่เวทีคนหนองบัวต่อไป(ตอนนี้โพสต์ภาพไว้ที่เวทีคนหนองบัวแล้ว แต่ยังระบุชื่อไม่ได้)

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

              

เรียนท่านพระอาจารย์สมบัติ เขมวีโร

  • ต้นไม้ข้างโบสถ์วัดสวนร่มบารมี ภาพบน ที่พระมหาแล นำมาลงเพื่อถามชื่อว่าต้นอะไร?
  • พระอาจารย์ วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2554 เดือนหน้า รบกวนท่านลงตารางชั่วโมงบินให้ด้วย มีงานค่ายที่ รร.โพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ครับ..ขออนุญาตนิมนต์ไว้ก่อนล้วงหน้า เดียวรายละเอียดจะขอแจ้งในคราวหลัง
  • กราบขอบพระคุณครับ. 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท